สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: Radon
CAS Number: 10043-92-2
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: เรดิโอนิวคลิด (Radionuclides)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: เคยใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง [EPA Radionuclides]
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ผศ.ดร. ไตรภพ ผ่องสุวรรณ และคณะ ได้ทำการวิจัยการประเมินความเสี่ยงต่อก๊าซเรดอนภายในและภายนอกอาคารในพื้นที่ชุมชนเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซเรดอนในอากาศตามอาคารบ้านเรือนจำนวนกว่า 2,161 ครัวเรือน ซึ่งมีปริมาณก๊าซเรดอนเกินมาตรฐานกำหนดและส่งผลให้ครัวเรือนรอบทะเลสาบกลายเป็นชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้น การตรวจวัดใช้วิธีนับรอยรังสีบนแผ่นพลาสติก CR-39 ใช้เทคนิคการกัดรอยรังสีแอลฟา พบว่าความเข้มข้นของเรดอนมีค่าอยู่ระหว่าง 9 - 1,307 Bq/m3 พื้นที่ทะเลสาบสงขลาบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมีค่าเฉลี่ย 225 และ 268 Bq/m3 ตามลำดับ สูงกว่ามาตรฐานที่ USEPA ของสหรัฐอเมริกากำหนด คือ 148 Bq/m3 เมื่อตรวจวัดความเข้มข้นก๊าซเรดอนในน้ำบาดาลพบว่า อ.นาหม่อม จ.สงขลา มีความเข้มข้นเฉลี่ยของก๊าซเรดอนสูงสุด คือ 47,471 Bq/m3 รองลงมา คือ อ.กงหรา จ.พัทลุง 12,158 Bq/m3 ขณะที่ค่ามาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับ 11,111 Bq/m3

    สาเหตุที่พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีการปนเปื้อนของก๊าซเรดอนค่อนข้างสูงเนื่องมาจากบ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของยูเรเนียมที่ผิวดินสูง และสร้างด้วยวัสดุจำพวกหินและทรายที่มียูเรเนียมปะปนอยู่ จากการตรวจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พบว่า มีอัตราการเจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ แต่ก็ไม่ได้มีนัยสำคัญพอที่จะบอกว่าได้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดเกิดจาการสูดดมก๊าซเรดอน แต่ผู้ที่สูบบุหรี่ในพื้นที่ดังกล่าวจะมีความเสี่ยงสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
    แหล่งอ้างอิง:กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://www.environnet.in.th/news/news_detail.asp?id=1152  

ค่าเฝ้าระวังด้านการสัมผัส

โรคที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].