|
ข้อคิดเห็นที่
1:![]() ในเรื่องของวัตถุปนเปื้อนในอาหารนั้น สามารถหาเพิ่มเติมได้จากเว็บของ อย.ค่ะ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) http://www.fda.moph.go.th/ และเมื่อคุณได้รายชื่อสารเคมี ที่สนใจแล้ว สามารถ นำมาหา msds (Material Safety Data Sheet ) ได้จากเว็บนี้ ในส่วนของค้นหาสารเคมีค่ะ โดย: ขนิษฐา ![]() |
ข้อคิดเห็นที่
2:![]() วิธีการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารมีอะไรบ้าง โดย: ด.ช. เปรมประจักษ์ พุ่มเอี่ยม [3 ส.ค. 2548 08:51:00] |
ข้อคิดเห็นที่
3:![]() ข้อเขียนที่นำมาลงไว้ให้นี่เกี่ยวกับสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อยู่ ตามนโยบายอาหารปลอดภัย หรือ food safety มีสารเคมีเฝ้าระวัง 6 ชนิด คือ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลีน ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง ต้นฉบับดูได้ที่หน้านี้ หัวข้อที่ 10 http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fs4.htm 10. อาหารปนเปื้อนสารเคมี...อันตราย -------------------------------------------------------------------------------- มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ (Borax) มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ คำแนะนำ ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู่ สารกันรา หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น พิษของสารกันรา เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้ หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย. การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรดซาลิซิลิคในอาหาร สารฟอกขาว หรือ ผงซักมุ้ง หรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน อันตรายของสารฟอกขาว คือ เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้ หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำถั่วงอกมาหั่นเป็นข้อเล็กๆ เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์ สารฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาดองศพ เป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้ ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยาฆ่าแมลง หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลง ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร คือ เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล) ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์ คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก โดย: สีเคมาร [10 ก.ย. 2548 09:36:00] |
ข้อคิดเห็นที่
4:![]() อยากทราบวิธีการตรวจหาเชื้อในนมสด ว่าเขาทำกันอย่างไร โดย: โอ๋ [10 ก.ย. 2548 11:50:00] |
ข้อคิดเห็นที่
5:![]() อยากทราบข้อมูลข้อดีข้อเสียของน้ำยาฟอร์มาลีน โดย: พงศกร [8 พ.ย. 2548 20:18:00] |
ข้อคิดเห็นที่
6:![]() สำหรับคุณสมบัติของฟอร์มาลีน หรือฟอร์มัลดีไฮด์ ดูได้จากเอกสารความปลอดภัยของสารนี้ค่ะ ตัวอย่างที่ให้ url ไว้จะเป้นฟอร์มัลดีไฮด์ เข้มข้น 37 % ลองดูค่ะ http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst50-00-0.html โดย: วลัยพร [12 พ.ย. 2548 22:32:00] |
ข้อคิดเห็นที่
7:![]() ถ้าอยากรู้เรื่องสารปรุงแต่งอาหารแบบเยอะๆ ขอให้ลองเข้าไปอ่านที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Food_additives ถ้าต้องการรายชื่อสารปรุงแต่ง ก็ดูได้ที่ http://vm.cfsan.fda.gov/~dms/eafus.html ถ้าอยากรู้รายละเอียดของสารตัวไหนก็ต้องไปค้นหาต่อค่ะ โดย: วลัยพร [12 พ.ย. 2548 23:03:00] |
ข้อคิดเห็นที่
11:![]() สารฟอกขาวแบ่งตามสิ่งที่ถูกฟอกให้ขาวได้ประมาณนี้ค่ะ 1. สารฟอกขาวที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ซักผ้าขาว ขจัดคราบ ฆ่าเชื้อ จะเป็นสารฟอกขาวประเภทคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ซึ่งให้คลอรีน 2. สารฟอกผม จะเป็นสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นอกจากนี้ยัง สารในกลุ่มนี้ที่ใช้กันมากยังมี โซเดียมเพอบอเรต โซเดียมเพอคาร์บอเนต โซเดียมเพอซัลเฟต เป็นต้น 3. สารฟอกขาวที่ใช้ฟอกเยื่อไม้ ไขมัน น้ำมัน แป้ง เส้นใย มักใช้ คลอรีนไดออกไซด์ 4. สารฟอกขาวสำหรับอาหาร เช่น เบนโซอิลเพอออกไซด์ และโบรเมต เป็นต้น สรุปมาจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Bleach โดย: วลัยพร [19 พ.ย. 2549 14:40] |
ข้อคิดเห็นที่
12:![]() ไม่อยากเชื่อว่าสารบอแรกจะทำเป็นแก้วได้ โดย: เด็กเตรียมอุดม(สุธาทิพย์) [6 ธ.ค. 2549 19:07] |
ข้อคิดเห็นที่
13:![]() อยากทราบวิธีการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ และถ้าเป็นไปได้ อยากทราบว่า สารเคมีที่ใช้นั้นมีคุณสมบัติอย่างไร รวมถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ขอขอบคุณไว้ล่ววงหน้า สำหรับข้อมูลเพื่อประกอบการทำรายงาน ช่วยตอบให้ด้วยนะค่ะ หรือจะส่งมาที่ E-mail : D_bea@sanook.com โดย: คิรัวร์ [26 ม.ค. 2550 11:47] |
ข้อคิดเห็นที่
14:![]() สารเคมีที่อยู่ในทุเรียนมีอะไรบ้างคะ โดย: เด็กน้อย [27 มิ.ย. 2550 19:55] |
ข้อคิดเห็นที่
15:![]() สารบอแรกซ์จะมีอยู่ในทุเรียนไหมคะ ........... เอ่อ ### แต่ว่าหนูชอบกินทุเรียนอ่ะ ฮิ ... ฮิ โดย: แอร์กี่...อีแก่ [3 ก.ค. 2550 15:29] |
ข้อคิดเห็นที่
17:![]() เจอแต่ทุเรียนกวนมีสารฟอกขาว อ่านที่ความเห็นที่ 12 หรือ อ่านที่ลิงก์จะง่ายกว่า http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/foodsafety46f10.htm สารแต่งกลิ่นรสเลียนธรรมชาติ หมายถึง สารเคมีที่เป็นสารที่ให้กลิ่นหรือรสตามธรรมชาติ แต่เราสังเคราะห์มันขึ้นมาแทนการสกัดออกมาจากแหล่งธรรมชาติ โดย: admin [6 ก.ค. 2550 20:15] |
ข้อคิดเห็นที่
19:![]() บอแรกซ์แท้จริงคืออะไร บอแรกซ์ เป็นสารอนินทรีย์สังเคราะห์มีชื่อทางเคมีว่า "โซเดียมบอเรท" (Sodium borate) ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย ละลายน้ำได้ดี ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำประสานทอง" หรือ "ผงกรอบ" ภาษาจีนเรียกว่า "เม่งแซ่" โดย: คนน่ารัก [5 ส.ค. 2550 20:11] |
ข้อคิดเห็นที่
20:![]() อาหารที่มักตรวจพบบอแรกซ์ เช่น หมูสด หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น ไส้กรอก แป้งกรุบ ทับทิมกรอบ ผลไม้ดอง เป็นต้น ( http://www.prc.ac.th/healthy/p7.htm ) ขนมที่ทำจากแป้ง เช่น แป้งกรุบ ลอดช่อง- สิงคโปร์ ซ่าหริ่ม ขนมครองแครง ผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม ( http://www.pharm.chula.ac.th/vsuntree/news/may44/healthcost_26may.htm ) ในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน 2540 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครโครงการคุณภาพชีวิตได้ติดตามตรวจสอบอาหาร ที่ จำหน่ายในท้องตลาด พร้อมทั้งส่งวิเคราะห์ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลปรากฏว่า พบสารบอแรกซ์ ปนเปื้อนในอาหารประมาณ 76 ตัวอย่าง ทั้งในอาหารประเภทเนื้อสัตว์บด ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ขนมต่าง ๆ เช่น สลิ่ม วุ้น ลูกชุบ ทับทิมกรอบ และยังตรวจพบสารนี้ใ นเนื้อหมูสด ที่วางจำหน่ายในตลาดสด รวมทั้งอาหารประเภทลูกชิ้นเด้ง แหนม หมูยอ ทอดมัน อาหารชุบแป้งทอดต่าง ๆ เช่น ถั่วทอด ไก่ กุ้ง และปลาชุบแป้งทอด กล้วยแขก อาหารประเภทผัก เช่น หัวไชโป๊ว ผักกาดดอง เป็นต้น ( http://www.elib-online.com/doctors46/..%5Cdoctors/borax1.html ) โดย: info u ![]() |
ข้อคิดเห็นที่
22:![]() ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสารกันราอย่างละเอียดที่สุด อยากทราบว่าหาได้จากเว็บไหน โดย: ...... [11 ส.ค. 2550 19:58] |
ข้อคิดเห็นที่
1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() สารเคมีที่ใส่อาหารมีหลายประเภท ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น ให้อาหารมีสีสวยงาม เก็บรักษาได้นาน เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีบางชนิด ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น 1. บอแรกซ์ เป็นสารสังเคราะห์ที่มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรท มีลักษณะเป็นผลึกกลมเล็กๆ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ดี โดยปกติจะใช้ในการเชื่อมเส้นทอง จึงเรียก น้ำประสานทองเมื่อนำบอแรกซ์ใส่ไปในอาหาร จะทำให้อาหารมีลักษณะกรอบ น่ารับประทานจึงเรียกว่า "ผงกรอบ" เมื่อคนเรารับประทานอาหารที่มีบอแรกซ์เข้าไป จะทำให้เกิดพิษสะสมในร่างกาย และเกิดอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ระบบย่อยอาหารผิดปกติ กรวยไตอักเสบ แล้วถ้ามีการสะสมในปริมาณมาก คือ เด็กที่ได้รับบอแรกซ์เกิน 5 กรัม หรือผู้ใหญ่ที่ได้รับบอแรกซ์เกิน 15 กรัม จะเสียชีวิตได้ 2. ขัณฑสกร เป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นสลายถ่านหิน ขัณฑสกรจะมีรสหวานมากกว่าน้ำตาลหลายร้อยเท่า ดังนั้นผู้ผลิตที่ไม่มีความรับผิดชอบจึงมักจะนำขัณฑสกรมาใส่อาหารแทนน้ำตาลเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ใส่ในขนมหวานชนิดต่างๆ ทอฟฟี่ซึ่งถ้าผู้บริโภครับประทานอาหารที่ผสมขัณฑสกรเข้าไปมากๆ ก็จะเสียชีวิตได้ 3. สารกันบูด ที่ขายโดยทั่วไปในตลาดมีหลายชนิด บางชนิดก็เป็นอันตรายต่อร่างกายและทำให้เกิดโรคแก่ร่างกายได้ ดังนั้น จึงมีการออกกฎหมายควบคุมการใช้สารกันบูดในอาหารโดยให้ใส่ปริมาณน้อยที่สุดที่จะให้ผลในการป้องกันการเน่าเสีย สารกันบูดที่ทางกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น โซเดียมเบนโซเอท ใช้เพื่อกันเสียในอาหารทุกชนิด โดยมีปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ คือ 1000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม 4. ดินประสิว เป็นสารเคมีที่ใช้ผสมอาหารเพื่อรักษาสภาพอาหารให้คงที่ เช่น ถ้าใส่ในเนื้อสัตว์ จะทำให้มีสีแดงคงทนคล้ายเนื้อสด และใส่เพื่อรักษากลิ่นและรสชาติของอาหาร เช่นแหนม แยม เบคอน นอกจากนี้ดินประสิวยังทำให้อาหารนั้นเก็บได้นานขึ้น เพราะจะทำหน้าที่ เป็นสารกันเสียการใส่ดินประสิวลงในอาหารในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่บริโภค อาหารชนิดนั้นเข้าไปได้ เพราะเมื่อดินประสิวได้รับความร้อนจะสลายตัวและเกิดเป็นสารที่เป็นพิษ ต่อร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ข้อมูลจาก : http://www.aksorn.com/lib/libshow.asp โดย: นางสาวไอลดา จิตจะกูล [17 ส.ค. 2550 11:08] |
ข้อคิดเห็นที่
2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() สืบค้นจาก STKC ที่ http://www.stkc.go.th พบข้อมูลดังนี้ค่ะ มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่ 1. สารบอแรกซ์ (Borax) 2. สารกันรา หรือสารกันบูด 3. สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) 4. สารฟอร์มาลิน(Formalin) หรือน้ำยาดองศพ 5. ยาฆ่าแมลง หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลง 6. สารเร่งเนื้อแดง (Salbutamol) ลองดูเพิ่มเติมที่ http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/foodsafety46f10.htm ของกระทรวงสาธาณสุข หรือเข้าไปดูที่เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขดูอีกทีค่ะ โดย: นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ [17 ส.ค. 2550 23:01] |
ข้อคิดเห็นที่
23:![]() มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ (Borax) มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ คำแนะนำ ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู่ สารกันรา หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น พิษของสารกันรา เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้ หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย. การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรมซาลิซิลิคในอาหาร สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน อันตรายของสารฟอกขาวคือ เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้ หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำถั่วงอกมาหั่นเป้นข้อเล็กๆ เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์ สารฟอร์มาลิน(Formalin) หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้ ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยาฆ่าแมลง หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหารคือ เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล) ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์ คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก โดย: บอย [5 พ.ย. 2550 19:41] |
ข้อคิดเห็นที่
25:![]() อ่านเกี่ยวกับการทดสอบสารบอแรกซ์ที่อยู่ในอาหารที่ลิงก์คะhttp://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=712 โดย: chemtrack ![]() |
ข้อคิดเห็นที่
26:![]() สวัสดีค่ะ จากลำปางค่ะอยากทราบว่า สารโซเดียมไฮโดรฟอไรด์ สาร ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารเปอร์คลอโรนเอทิริน สารฟอกขาวคลอลีน สารซักฟอก สารแอลกอร์ฮอลล์ อยู่ในเครื่องทำความสะอาดอะไรบ้างค่ะ เช่นสบู่อะไรแบบนี้อ่ะค่ะ คือว่าหาไม่เจอเลยค่ะแล้วสารพวกนี้ผสมอยู่ที่ไหน สารล่ะกี่อย่างก็ได้ค่ะ ช่วยด้วยนะค่ะ โดย: เด็ก vns. [24 พ.ค. 2551 09:24] |
ข้อคิดเห็นที่
28:![]() สารเจือปนในอาหาร คือ สารที่ผสมอยู่ในอาหารได้จากการเติมลงไปในขณะปรุงอาหารและได้จากธรรมชาติ เป็นสารที่ทำให้เกิดกลิ่น สี รส ใช้ปรุงอาหาร บางชนิดมีคุณค่า บางชนิดทำให้เกิดโทษต่อร่างกายควรเลือกอาหารที่ไม่มีสารเจือปนที่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา อาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ นอกจากจะมีส่วนประกอบของอาหารเป็น หมู เนื้อ ปลา ไก่ และผักต่าง ๆ แล้ว ผู้ปรุงอาหารยังนิยมสารต่างๆ ลงไปอีกด้วย บางอย่างก็ใส่ลงไปเพื่อให้มีรสชาติดีหรืออร่อยขึ้น บางอย่างใส่ลงไปเพื่อความมุ่งหมายอย่างอื่น เช่น ไม่ให้อาหารบูดหรือเน่าเสีย ช่วยให้อาหารกรอบ และช่วยให้มองดูน่ารับประทาน เป็นต้น สารต่างๆ ที่ใส่ลงไปในอาหาร ขณะปรุงอาหารเหล่านี้ถือว่าเป็นสารปรุงแต่งอาหารหรือสารเจือปนในอาหารทั้งสิ้น ทำให้มีสี กลิ่นรส ชวนรับประทาน สี ที่ใช้ปรุงแต่งอาหารได้จากธรรมชาติ เช่น สีจากใบเตย กะลามะพร้าว เป็นต้น ซึ่งสีเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเป็นสีสังเคราะห์อาจจะมีอันตราย เพราะบางชนิดอาจจะมีสารพิษผสมอยู่ เช่น สารตะกั่ว กลิ่น ที่ได้จากการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช สัตว์ เช่น กลิ่นใบเตย กลิ่นแมงดา กลิ่นมะลิ กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม เป็นต้น รสชาดอาหาร ได้จากการใส่สารที่ช่วยปรุงแต่งรสอาหาร เช่น ผงชูรส ซึ่งไม่มีคุณค่าต่อร่างกายจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เป็นต้น สารบางอย่างก็ไม่มีโทษต่อร่างกาย แต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และบางอย่างก็เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้ารับประทานมากเกินไปหรือบ่อยครั้งมากเกินไป ยกตัวอย่างอาหารเช่น เย็นตาโฟ พบว่า สารเจือปนในอาหารที่พบได้แก่ น้ำปลา เกลือ น้ำตาล น้ำส้มสายชู พริก สี แต่ไม่มีสารกันบูด สารเจือปนในอาหารบางอย่างให้โทษต่อร่างกาย เช่น สารกันบูด ผงชูรส และสีเป็นต้น สารกันบูดประกอบด้วยสารเคมีบางชนิด มีสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า ผู้ผลิตอาหารจึงนิยมใส่สารกันบูดลงในอาหารที่ต้องการเก็บไว้รับประทานนาน ๆ เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง น้ำพริกสำเร็จรูปและต้องใส่ลงไปในปริมาณที่พอเหมาะกับปริมาณของอาหาร มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายผู้บริโภคได้ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง ถ้ารับประทานบ่อย ๆ อาจจะมีอาการโลหิตจางและความดันโลหิตต่ำได้ ถ้าเป็นไปได้เราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและควรเลือกรับประทานอาหารที่ทำเสร็จใหม่ ๆ จะปลอดภัยกว่าและได้ประโยชน์มากกว่าด้วย ผงชูรส เป็นสารเคมีที่ใส่ลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ง่าย แต่มีพ่อค้าบางรายผลิตผงชูรสปลอมโดยใส่สารอื่น คือบอแรกซ์ปนลงในผงชูรสแท้ เพราะบอแรกซ์มีราคาสูงกว่าผงชูรสแท้ แต่เป็นอันตรายต่อร่างกายการรับประทานบอแรกซ์มากๆ จะทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารและไตอักเสบสี เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตอาหารนิยมใส่ลงไปในอาหารเพื่อให้อาหารมีสีสวยน่ารับประทาน สีเหล่านี้มีทั้งสีไม่เป็นอันตรายตอร่างกายเพราะเป็นสีที่สกัดจากพืช เช่น สีเขียวจากใบเตย สีแดงจากดอกกระเจี๊ยบ ซึ่งเราเรียกว่า สีผสมอาหาร แต่มีผู้ผลิตบางรายใช้สีย้อมผ้าแทนเนื่องจากมีราคาถูกกว่าและสีสดกว่า เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปจะได้รับอันตรายจากสารพิษต่างๆ เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม เมื่อรับประทานเป็นประจำจะสะสม ในร่างกายทำให้มีอาการซูบซีด โลหิตจาง สมองเสื่อม เป็นต้น ดังนั้นในการเลือกรับประทานอาหารจึงควรเลือกซื้ออาหารที่ใส่สีไม่ฉูดฉาดเกินไปและเป็นสีที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น การเลือกอาหารรับประทานนั้น ควรเลือกอาหารที่ไม่มีสารเจือปนที่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา สรุป สารที่เจือปนในอาหารมักใส่ลงไปเพื่อปรุงแต่งรสชาติ สี และกลิ่นของอาหารให้น่ารับประทาน บางชนิดมีประโยชน์เพราะให้สารอาหาร บางชนิดไม่มีประโยชน์เพราะไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย และบางชนิดก็ให้โทษแก่ร่างกายด้วยถ้ารับประทานมากหรือบ่อยเกินไป วัตถุเจือปนอาหารคืออะไร คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน (codex committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า วัตถุเจือปนอาหารหมายถึง สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้ เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และการแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และมีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือมีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น แต่ไม่รวมถึงสารปนเปื้อน หรือสารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนได้แก่ ไม่เป็นพิษ ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ และต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้ ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการได้แก่ 1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร 2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ 3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปใน กระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น 4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด วัตถุเจือปนที่ใช้ในอาหารแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน 1. วัตถุกันเสีย หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารเพื่อป้องกันการเสีย บูดเน่าของอาหาร สารนี้จะไป ควบคุมการเจริญเติบโต หรือทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของอาหาร วัตถุกันเสียที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ กรดและเกลือของกรดต่าง ๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค กรดโพรพิออนิค สารประกอบไนไตรท์ สารนี้มักเติมลงในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีชมพู / แดง ที่คงที่ และเพื่อชลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium botulinum ซึ่งสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาหารที่มักพบว่าใส่สารประกอบไนเตรดและไนไตรท์ ได้แก่ เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว ปลาแดดเดียว ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน เกลือซัลไฟท์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารนี้เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูรัส ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายหรือชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ป้องกันการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในอาหารพวกผัก ผลไม้แห้ง น้ำหวานต่าง ๆ ไวน์ วุ้นเส้นแห้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เส้นหมี่แห้ง ผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และผลไม้บรรจุกระป๋อง 2. วัตถุกันหืน หมายถึง สารที่ใช้เพื่อชลอการเสียของอาหารอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลักษณะ การเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยานี้ รวมถึงการมีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นหืน กลิ่น สี รส ผิดปกติไปจากเดิม อาจเกิดสารประกอบใหม่ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมันมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำมัน ไขมัน เนย เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหารที่ปรุงสุกโดยการทอดด้วยน้ำมัน วัตถุกันหืนที่ใช้กันมากได้แก่ BHA BHT TBHQ PG 3. สี การใช้สีผสมอาหาร เพื่อแต่งสีให้อาหารมีลักษณะคล้ายธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีสี สม่ำเสมอ และอาจใช้เพื่อจำแนกกลิ่น รสของอาหารก็ได้ สีที่ใช้ผสมอาหารมี 2 จำพวกได้แก่ สีธรรมชาติจากใบเตย กระเจี๊ยบ ใบย่านาง ดอกอัญชัน ลูกตาล สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้ สีสังเคราะห์ซึ่งสร้างจากสารเคมีต่าง ๆ สีสังเคราะห์มีความคงตัวดีกว่าสีธรรมชาติ แต่ต้องใช้เฉพาะชนิดที่อนุญาตให้ใช้และปริมาณที่กำหนดเท่านั้น รายชื่ออาหารที่ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 พ.ศ. 2525 ได้แก่ อาหารทารก อาหารเสริมสำหรับเด็ก นมดัดแปลงสำหรับทารก ผลไม้สด ผลไม้ดอง ผักดอง เนื้อสัตว์สดทุกชนิด (เว้นแต่สีจากขมิ้นและผงกะหรี่สำหรับไก่สด) เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง เช่น ปลาเค็ม กุ้งเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งหวาน ปลาหวาน ไก่ย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง (ยกเว้นสีจากขมิ้น และผงกะหรี่) แหนม กุนเชียง ทอดมัน กะปิ ข้าวเกรียบต่าง ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี้ยว หมี่ซั่ว สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี 4. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ใช้ปรับสภาพความเ โดย: พี พลาธิป ร.ร.ประจวบวิทยาลัย [26 มิ.ย. 2551 18:48] |
ข้อคิดเห็นที่
31:![]() http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_food_additives โดย: นักเคมี [9 ส.ค. 2551 10:26] |
ข้อคิดเห็นที่
32:![]() อยากทราบว่าโทษของฟลอมารินคืออะไร โดย: ด.ญ. พิชานันท์ อมรวิทย์ [12 ส.ค. 2551 16:17] |
ข้อคิดเห็นที่
33:![]() อยากทราบว่าเชื้อราในข้าวสุกมีชื่อว่าอะไรครับ แล้วหัวหอมมีสารอะไรที่สามารถยับยั้งได้รึป่าว โดย: N'เบนซ์ [16 ส.ค. 2551 15:08] |
ข้อคิดเห็นที่
34:![]() อยากรู้สารเนื้อนุ่มคืออะไร มีลักษณะอย่างไร โดย: คนไม่มีแฟน [20 ส.ค. 2551 19:56] |
ข้อคิดเห็นที่
35:![]() คลิกอ่านเรื่อง "ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์ สารร้ายตัวก่อมะเร็ง" ที่ลิงก์ค่ะ http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43 โดย: วลัยพร [25 ส.ค. 2551 20:53] |
ข้อคิดเห็นที่
36:![]() เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร : ประโยชน์หรือโทษภัย โดย รศ. ธิติรัตน์ ปานม่วง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุเจือปนอาหาร คือ อะไร คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน ( Codex Committee on Food Additives and Contaminants ; CCFAC , 1972 ) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความว่า “ วัตถุเจือปนอาหาร “ หมายถึง สารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้ เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชัวัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงด้วย คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ไม่เป็นพิษ ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล ไม่ทำให้สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ และ ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้ ทำไมจึงต้องใช้วัตถุเจือปนอาหาร ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของคนเราไม่ว่ายุคสมัยใด ก็ยังคงเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เช่นเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าทันสมัย อำนวยความสะดวก ความสุขและความพอใจให้มนุษย์เรามากขึ้น ในเรื่องอาหารก็เช่นเดียวกัน ระยะแรกก็กินอาหารพืช ผัก ตามธรรมชาติ ต่อมาก็มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร และพัฒนาเรื่อยมา รู้จักการเก็บถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือบริโภคนอกฤดูกาล ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบในสังคมเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาหาร ทำให้มีการผลิตอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค การใช้วัตถุเจือปนอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตอาหารได้ตามความต้องการ วัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีหลายประการ ได้แก่ 1. เพื่อเก็บถนอมหรือยืดอายุการเก็บของอาหารไว้ ตัวอย่างเช่นในระยะที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากเกินไปในฤดู โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุณหภูมิและความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสภาวะเร่งการเสียของอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ จึงจำเป็นต้องใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหาร 2. เพื่อปรุงแต่งลักษณะสี กลิ่น รส ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ 3. เพื่อช่วยในกระบวนการผลิต เช่น การใช้วัตถุป้องกันการเกิดฟองที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต น้ำมันพืช น้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นต้น 4. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้มีอาหารหลากหลายชนิด วัตถุเจือปนที่ใช้ในอาหารแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน 1. วัตถุกันเสีย หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารเพื่อป้องกันการเสีย บูดเน่าของอาหาร สารนี้จะไปควบคุมการเจริญเติบโต หรือทำลาย จุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของอาหาร วัตถุกันเสียที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ กรดและเกลือของกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค กรดโพรพิออนิค สารประกอบไนไตรท์ สารนี้มักเติมลงในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีชมพู / แดง ที่คงที่ และเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium botulinum ซึ่งสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาหารที่มักพบว่าใส่สารประกอบไนเตรดและไนไตรท์ ได้แก่ เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว ปลาแดดเดียว ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน เกลือซัลไฟท์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารนี้เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูรัส ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายหรือชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ป้องกันการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในอาหารพวกผัก ผลไม้แห้ง น้ำหวานต่าง ๆ ไวน์ วุ้นเส้นแห้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เส้นหมี่แห้ง ผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และ ผลไม้บรรจุกระป๋อง 2. วัตถุกันหืน หมายถึง สารที่ใช้เพื่อชะลอการเสียของอาหารอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลักษณะการเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยานี้ รวมถึงการมีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นหืน กลิ่น สี รส ผิดปกติไปจากเดิม อาจเกิดสารประกอบใหม่ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมันมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำมัน ไขมัน เนย เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหารที่ปรุงสุกโดยการทอดด้วยน้ำมัน วัตถุกันหืนที่ใช้กันมาก ได้แก่ BHA BHT TBHQ PG 3. สี การใช้สีผสมอาหาร เพื่อแต่งสีให้อาหารมีลักษณะคล้ายธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีสีสม่ำเสมอ และอาจใช้เพื่อจำแนกกลิ่น รสของอาหารก็ได้ สีที่ใช้ผสมอาหารมี 2 จำพวก ได้แก่ สีธรรมชาติ จาก ใบเตย กระเจี๊ยบ ใบย่านาง ดอกอัญชัน ลูกตาล สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้ สีสังเคราะห์ ซึ่งสร้างจากสารเคมีต่างๆ สีสังเคราะห์มีความคงตัวดีกว่าสีธรรมชาติ แต่ต้องใช้เฉพาะชนิดที่อนุญาตให้ใช้และปริมาณที่กำหนดเท่านั้น รายชื่ออาหารที่ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 พ.ศ. 2525 ได้แก่ อาหารทารก อาหารเสริมสำหรับเด็ก นมดัดแปลงสำหรับทารก ผลไม้สด ผลไม้ดอง ผักดอง เนื้อสัตว์สดทุกชนิด (เว้นแต่สีจากขมิ้นและผงกะหรี่สำหรับไก่สด) เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง เช่น ปลาเค็ม กุ้งเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งหวาน ปลาหวาน ไก่ย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง (ยกเว้นสีจากขมิ้น และผงกะหรี่) แหนม กุนเชียง ทอดมัน กะปิ ข้าวเกรียบต่าง ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว หมี่ซั่ว สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี 4. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ใช้ปรับสภาพความเป็น กรด-ด่าง ของอาหาร วัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร ตัวอย่างเช่น -เพื่อให้อาหารมีความคงตัวดี เช่น การเติมแยม เยลลี่ ต้องปรับสภาพความเป็นกรดให้พอดี ถ้ากรดมากเกินไป ผลิตภัณฑ์จะเละ - เพื่อให้อาหารมีสีตามต้องการ ตัวอย่าง น้ำกระเจี๊ยบ จะมีสีแดงสด เมื่อมีความเป็นกรดสูงพอดี ถ้า ความเป็นกรดต่ำลงคือมีความเป็นด่างมากขึ้น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน - เพื่อป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลในผักผลไม้ที่ปอกเปลือกหรือหั่นแล้ว ถ้าจุ่มหรือแช่ผักผลไม้ เหล่านั้นในสารละลายกรด เช่น กรดซิตริก น้ำมะนาว จะป้องกันการเกิดสารสีน้ำตาลได้ - เพื่อปรุงแต่งกลิ่น รสให้ผลิตภัณฑ์อาหาร กรดชนิดต่าง ๆ ที่เติมลงในอาหารช่วยเพิ่มกลิ่นรส เช่น ทำให้มีรสเปรี้ยว รวมทั้งกลิ่นเฉพาะ เช่น กรดทาร์ทาริก จะให้รสองุ่นและรสมะขาม หรือ กรดมาลิก จะให้รสแอปเปิ้ล เป็นต้น 5. กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงสภาพอาหาร กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยคงรูปผัก ผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ แปรรูปให้คงสภาพเดิมมากสุด ในการแปรรูปผักผลไม้ เช่น ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง มักพบว่าอาหารจะนิ่ม เละ หรือแตก ในครัวเรือนของคนไทย จะใช้น้ำปูนใส ทำให้ผักผลไม้มีความคงตัวไม่เละ ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้ เกลือแคลเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ เติมลงในระหว่างการแปรรูปผักและผลไม้ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งหรือกรอบ ลักษณะเนื้อสัมผัสดีขึ้น อาหารที่ใช้วัตถุคงรูป ได้แก่ ผักดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง เป็นต้น กลุ่มวัตถุเจือปนที่ช่วยทำให้อาหารเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำและน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งการทำให้ส่วนผสมเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องใช้อิมัลซิไฟเออร์ช่วยประสานให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันได้โดยไม่แยกชั้น อิมัลซิไฟเออร์ตามธรรมชาติได้แก่ เลซิทินในไข่แดง และในถั่วเหลือง อิมัลซิไฟเออร์สังเคราะห์ ได้แก่ โมโนแซคคาไรด์ และอนุพันธ์ โพรพีลีนไกลคอลเอสเทอร์ เช่น การเติมอิมัลซิไฟเออร์ ในผลิตภัณฑ์ น้ำสลัด มายองเนส ซอส และ น้ำจิ้มบางชนิด 6. วัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารผงแห้ง เพื่อช่วยเก็บหรือดูดความชื้นไว้โดยที่สารนี้ไม่ชื้น สารนี้อาจไปรวมตัวกับน้ำในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือจับน้ำจากบรรยากาศที่เก็บอาหารก็ได้ สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมซิลิเกต แมกนีเซียมสเตียเรท แมกนีเซียมไตรซิลิเกต ไตรแคลเซียมโมโนฟอสเฟต อาหารประเภทผงแห้งต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มผง กาแฟผง ซุปผง มักพบปัญหาการรวมตัวเป็นก้อนแข็ง เมื่อเติมน้ำจะไม่ละลายหรือละลายได้ยาก การที่อาหารมีความชื้นเพิ่มขึ้นเกิดการเสื่อมคุณภาพจากจุลินทรีย์ได้ จึงต้องเติมวัตถุป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน เพื่อทำให้อาหารคงสภาพเป็นผงแห้ง อาหารที่ใช้วัตถุเจือปนกลุ่มนี้ ได้แก่ ครีมเทียมผง กาแฟผง เครื่องดื่มผง น้ำตาลทรายชนิดผงละเอียด เจลาตินผง หัวหอมผง กระเทียมผง ซอสผง แป้งเค้กสำเร็จรูป ผงฟู พิษภัยของวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุเจือปนอาหารมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ช่วยให้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิด มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เช่นกัน ปัญหาพิษภัยที่เกิดจากวัตถุเจือปนอาหารอาจเกิดได้หลายรูปแบบ ใช้ผิดประเภท ได้แก่ การนำวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร เช่น ใช้กรดซาลิไซลิคซึ่งห้ามใช้ในอาหารมาใช้เป็นสารกันบูด กรดซาลิไซลิคทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ หรือการใช้ บอแรกซ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหารเช่นกัน บอแรกซ์หรือโซเดียมบอเรต หรือผงกรอบ น้ำประสานทอง หรือเพ่งแซ เป็นสารเคมีที่ไม่มีกลิ่น ผลึกละเอียด สีขาว ละลายน้ำได้ดี ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วและเป็นสารประสานทองแต่ผู้ผลิตบางรายนำมาใช้เติมในอาหารพวกลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ไส้กรอก ผักกาดดองเค็ม มะม่วงดอง แป้งกรุบ ลอดช่อง ทับทิมกรอบ เนื้อบดปรุงรสต่าง ๆ ไก่บด เนื้อปลาขูด ทำให้อาหารเหล่านี้มีความหยุ่น เหนียว กรอบ แต่สารนี้มีอันตรายทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ อักเสบ การทำงานของไตล้มเหลว อาจมีปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปริมาณที่เป็นพิษในผู้ใหญ่ 5 - 10 กรัม ถ้าได้รับ 15 - 30 กรัมอาจตายได้ ภายใน 2-3 วัน ส่วนในเด็กนั้น ถ้าได้รับ 4.5-14 กรัม ทำให้เกิดอาการพิษและตายได้ ใช้ปริมาณมากกว่าที่กฏหมายอนุญาต เช่น สารประกอบไนเตรด ไนไตรท์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ ในรูปไนไตรท์ไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน (125 มก./กก.) และไนเตรด 500 ส่วนในล้านส่วน (500 มก./กก.) ถ้าใช้สองชนิดร่วมกันให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มก./กก. หรือการใช้วัตถุกันเสียในเครื่องดื่มมีการกำหนดว่าให้ใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 70 มก./กก. กรดเบนโซอิค หรือกรดซอร์บิคใช้ได้ไม่เกิน 200 มก./กก. สีผสมอาหารให้ใช้ได้ไม่เกิน 70 มก./กก. เป็นต้น การใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยที่ผู้บริโภครู้เท่ากันไม่การณ์หรือจงใจ เพื่อต้องการยืดอายุการเก็บให้นานกว่าปกติ หรือคุณภาพดีขึ้น หรืออาจใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานมาใช้เพราะมีราคาถูกกว่า ผู้บริโภคควรเลือกบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เลือกบริโภคแต่อาหารที่ผลิตได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันพิษภัยจากการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เอกสารอ้างอิง พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 2543 คู่มือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ศิวพร ศิวเวช 2535 วัตถุเจือปนในผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ Furia Thomas E. 1972. CRC Handbook of Food Additives 2nded. New York : CRC Press. โดย: นักเคมี [30 ส.ค. 2551 20:37] |
ข้อคิดเห็นที่
37:![]() http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=46 สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย ตอน 1 http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=47 สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย ตอน 2 http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=49 สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย ตอน 3 โดย: นักเคมี [30 ส.ค. 2551 20:39] |
ข้อคิดเห็นที่
38:![]() http://www.gccthai.com/thai/?name=foodtestkit Food Test Kit ( ชุดทดสอบ สำหรับอาหาร ) โดย: นักเคมี [6 ก.ย. 2551 10:54] |
ข้อคิดเห็นที่
40:![]() "...จากความนิยมกินผงชูรสกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ ทำให้ผู้ผลิตบางรายใช้สารปลอมปนในผงชูรสเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสารที่ใช้มีทั้งที่เป็นวัตถุไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ได้แก่ เกลือ น้ำตาล แป้ง ส่วนวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น บอแรกซ์ ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในอาหาร เพราะหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือถ้าได้รับในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งจะสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดอาการพิษแบบเรื้อรัง ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย สับสน ระบบย่อยอาหารถูกรบกวน ผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้ยังมีสารอีกชนิดที่นิยมใส่ปะปนในผงชูรสคือ โซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งปกติจะใช้เป็นน้ำยาล้างหม้อน้ำรถยนต์ เมื่อคนเรารับประทานเข้าไปจะออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง..." คัดลอกมาจาก บทความเรื่อง "เตือนอันตรายผงชูรส กินมากอาจป่วยเป็นโรคภัตตาคารจีน" http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/71/pdf/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AA%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf โดย: วลัยพร ![]() |
ข้อคิดเห็นที่
42:![]() โลหะที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมีวิธีทดสอบอย่างไร โดย: ...เด็กเอ๋ยเด็กน้อย [17 ก.ย. 2551 17:02] |
ข้อคิดเห็นที่
43:![]() อยากได้โทษหรืออันตรายที่เกิดจาก Saccharin อ่ะค่ะ รบกวนด้วยนะคะ โดย: นักเรียนตาดำๆ [13 ต.ค. 2551 23:00] |
ข้อคิดเห็นที่
44:![]() อยากทราบวิธีการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเมลามีนค่ะ ว่าใช้วิธีใดตรวจสอบ ได้บ้างและวิธีการง่ายๆเราสามารถตรวจได้มั้ย..ขอบคุณค่ะ โดย: ยุวลักษณ์ [17 ต.ค. 2551 00:43] |
ข้อคิดเห็นที่
46:![]() อยากทราบเกี่ยวกับ สารที่เป็นกรด เบส กลาง ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมีอะไรบ้างค่ะ โดย: ยิม [27 ต.ค. 2551 11:36] |
ข้อคิดเห็นที่
47:![]() ใบเตยหอมทำให้หน้าของเราขาวได้หรือไม่ โดย: ด.ช. ประสิทธิ์ อ้ายเมืองงอย [4 พ.ย. 2551 11:08] |
ข้อคิดเห็นที่
48:![]() สารเคมีในอาหารมี ผงชูรสเป็นต้น โดย: ธราดล [7 พ.ย. 2551 11:24] |
ข้อคิดเห็นที่
50:![]() อยากได้รายชื่อบริษัทผลิต จัดจำหน่าย ตัวแทนจำหน่ายสารเคมีสำหรับอาหาร(Food additive)ประเภท stabilisor / emulsifier ต้องการซื้อด่วนมากๆ ไครมี หรือบริษัทไหนขาย ติดต่อมาทางอีเมลล์ของผมด่วนที่สุดเลยครับ โดย: QA Supervisor [21 ม.ค. 2552 15:09] |
ข้อคิดเห็นที่
51:![]() email. karavek_food@hotmail.com หรือติดต่อโดยตรงที่บริษัทเอราวัณฟูด จำกัด(มหาชน)โทร.034-462588-9 ติดต่อคุณการะเวก หัวหน้างานแผนก QA ครับ โดย: QA Supervisor ต่อครับ [21 ม.ค. 2552 15:16] |
ข้อคิดเห็นที่
52:![]() อยากได้เอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานอาหารกระป๋องเช่น ค่าสูญญากาศต้องเท่าไหร่ น้ำหนักต้องเท่าไหร่ สารที่กระป๋องทนได้มีอะไร ต้องใช้กระป๋องอะไรใส่ผลิตภัณฑ์ไหน ฆ่าเชื้อยังไง ฯลฯ karavek_food@hotmail.com ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ โดย: QA Supervisor [21 ม.ค. 2552 15:28] |
ข้อคิดเห็นที่
53:![]() คำตอบที่ ?? ถามว่า อยากรู้สูตรทางเคมีของวิตามินซี ( กรดแอสคอร์บิก ) โดย: เด็กวิทย์ [19 ม.ค. 2552 20:31] คำตอบ http://en.wikipedia.org/wiki/Vitamin_C Vitamin C [ CAS No. 50-81-7 ] http://en.wikipedia.org/wiki/Ascorbic_acid Ascorbic acid [ CAS No. 50-81-7 ] http://www.rxlist.com/ascorbic-acid-drug.htm http://lpi.oregonstate.edu/infocenter/vitamins/vitaminC/ http://www.3dchem.com/molecules.asp?ID=69 Structure of Vitamin C โดย: นักเคมี [23 ม.ค. 2552 12:07] |
ข้อคิดเห็นที่
54:![]() แนะนำ เว็บไซต์ เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน ที่ เนื้อหาสาระดี รูปแบบสวยงาม วิธีการนำเสนอน่าสนใจ สื่อสารได้ดี ฯลฯ http://oldweb.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html จัดทำโดย คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย: นักเคมี [17 มี.ค. 2552 08:46] |
ข้อคิดเห็นที่
55:![]() ( สำหรับ ผู้ที่ไม่เคย เข้าชม เว็บไซต์นี้ ) ขอแนะนำ " ขบวนการโลกแสนสวย " ( จัดทำ ตาม โครงการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน ) http://www.chemtrack.org/EnvForKids/ หน้าแรก Home Page http://www.chemtrack.org/EnvForKids/menu.htm หน้า เมนู Menu Page http://www.chemtrack.org/EnvForKids/chemicals.htm Chemicals Pages ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี ( มี ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ - สารเคมี ที่ พบ ใน ชีวิตประจำวัน 27 ชนิด ) http://www.chemtrack.org/EnvForKids/MainMenu.htm หน้า เมนูหลัก ของ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดย: นักเคมี [17 มี.ค. 2552 08:47] |
ข้อคิดเห็นที่
56:![]() อยากรู้สูตรทางเคมีของกรดซาลิซิลิค โดย: เด็กหญิงแอนรี่ สุวรรณมาลี [7 มิ.ย. 2552 10:50] |
ข้อคิดเห็นที่
57:![]() http://en.wikipedia.org/wiki/Salicylic_acid โดย: นักเคมี [7 มิ.ย. 2552 17:50] |
ข้อคิดเห็นที่
58:![]() เราสามารถตรวจหาไอโอดีนในน้ำปลาได้มั๊ย และวิธีไหนมั้งที่จะทำได้ อยากจะเอาไปไตเตรตแต่น้ำปลาต้องใส แล้วมันจะมีวิธีกลั่นน้ำปลาให้ใสได้มั๊ย ใครรู้ช่วยตอบทีนะ ขอบคุณล่วงหน้าฮะ โดย: น้ำมนต์ [7 มิ.ย. 2552 21:11] |
ข้อคิดเห็นที่
59:![]() ยังไม่รู้เหมือนกันหาอยู่เนี่ยแหละ โดย: ม.2 [8 มิ.ย. 2552 19:20] |
ข้อคิดเห็นที่
60:![]() ( ไม่ใช่ คำตอบ ) ขอแนะนำให้ไปถามที่ โรงงานผลิตน้ำปลา ( ถามกันตรงๆ เลยครับ ) โดย: นักเคมี [11 มิ.ย. 2552 00:53] |
ข้อคิดเห็นที่
61:![]() 1.อยากทราบว่าผงฟูหมักกับหมูเวลาไปทำอาหารจึงมีรสขมคับ 2.ผงฟูหมักกับหมูจะมีโทษไหมคับ ตอบด้วยนะคับ ขอบคุณคับ โดย: kasiditsk [12 มิ.ย. 2552 13:45] |
ข้อคิดเห็นที่
63:![]() เ ร า ว่ า อ า ห าร ที่ ทำ กิ น เ อ ง จ ะ ป ล อ ดภั ย ก ว่ า นะ แ ล ะ ก้ อ ส ะ อ า ดก ว่ า ด้ว ย มั่นใจค่ะ ^0^ โดย: มิเนโกะ มิสะ [26 ก.ค. 2552 13:50] |
ข้อคิดเห็นที่
64:![]() อยากให้มีเนื้อหาการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร โดย: --------------- [8 ส.ค. 2552 18:17] |
ข้อคิดเห็นที่
65:![]() อยากรู้ว่า อาหารอะไรมักมีดินประสิวผสมอยู่ อ่ะค้ะ ? โดย: เราเอง [9 ส.ค. 2552 10:25] |
ข้อคิดเห็นที่
66:![]() สีผสมอาหารมีสารอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร โดย: mook [3 ธ.ค. 2552 16:13] |
ข้อคิดเห็นที่
67:![]() กระผมอยากให้ทางคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ช่วยอธิบายเกี่ยวกับ 1.ใช้ปรุงแต่งอาหาร 2.ใช้รักษาโรค 3.ใช้ซักล้าง 4.ใช้ในการเกษตร 5.ใช้เป็นเครื่องสำอาง 6.ใช้ทำของเล่นและของใช้ในบ้าน 7.ใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งหมดเลยนะครับ ขอคำตอบเร็วๆเลยนะครับ ....................................... ( คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 2781 ) http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2781&Pin= โดย: คนธรรมดา [11 ม.ค. 2553 20:01] |
ข้อคิดเห็นที่
68:![]() อยากทราบว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์หมูยอนั้นไม่ควรมีค่าจุลินทรีย์ทั้งหมด(TPC) เกินกี่ CFU คะ? ช่วยตอบด้วยค่ะ กำลังทำโปรเจคอยู่ค่ะ ขอคุณนะคะ โดย: นางสาววราทิพย์ สิงหะดี นศ.FOOD SCIENCE ปี4 [15 ม.ค. 2553 09:18] |
ข้อคิดเห็นที่
69:![]() อยากทราบว่า สารปรุงต่าง ประเภทใดร้ายแรงที่สุดคะ โดย: ด.ญปรียาถรณ์ ชายนำเค็ม [16 ม.ค. 2553 16:12] |
ข้อคิดเห็นที่
70:![]() อยากทราบว่าสารที่ใช้ตรวจสอนน้ำผลไม้คืออะไร โดย: บิว [30 ม.ค. 2553 15:19] |
ข้อคิดเห็นที่
72:![]() อยากรู้สูตรทางเคมีของสารกันบูดและขัณฑสกร [ [ [ คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 2847 แล้ว ] ] ] http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2847&Pin= โดย: คนฉลาดน้อย [9 ก.พ. 2553 21:37] |
ข้อคิดเห็นที่
73:![]() ในกระเทียมดองมีจุลินทรีย์ใดบ้าง และสายพันธ์อะไรค่ะ ตอบให้หน่อยนะค่ะ โดย: bo [10 ก.พ. 2553 17:02] |
ข้อคิดเห็นที่
74:![]() อยากทราบว่าถ้าเรานำโอโซนมาล้างเนื้อสัตว์ โอโซนแทรกซึมเข้าไปในเนื้อสัตว์ได้อย่างไร(หรือไม่ได้) มันล้างเฉพาะผิวนอกของเนื้อสัตว์หรือเปล่าครับ...ใครรู้ช่วยทีครับเขาถามมาครับตอบเขาไม่ได้ โดย: K [18 ก.พ. 2553 08:52] |
ข้อคิดเห็นที่
75:![]() คำถาม นักบินจะต้องขับเครื่องบินอยู่ในบรรยากาศชั้นใด จึงจะเหมาะสมที่สุด ( คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 2893 ) http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2893&Pin= โดย: ด.ช. เกียรติก้อง โพธิษา [20 ก.พ. 2553 10:27] |
ข้อคิดเห็นที่
76:![]() ลูกชิ้นเรืองแสงได้อย่างไร โดย: ..........*-*.................*-*................. [22 ก.พ. 2553 09:12] |
ข้อคิดเห็นที่
78:![]() แหล่งข้อมูลสารปรุงแต่ง http://dmsiam.com http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_food_additives โดย: graphic [15 มี.ค. 2553 18:41] |
ข้อคิดเห็นที่
79:![]() อยากถามค่ะ ช่วยตอบด้วยค่ะ ว่าถ้าเราได้กลิ่นจากโรงงานดองกระเทียมและผลไม้อื่นๆแล้วสูดดมเข้าไปเป็นเวลานานจะทำให้เราเกิดอาการอะไรขึ้นได้บ้างและรักษาได้อย่างไร หรือควรอยู่ในสถานที่นั้นๆหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ ถ้ากรุณาตอบไปที่nongfah_20@windowslive.com ( คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 2980 ) http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2980&Pin= โดย: แก่น [28 มี.ค. 2553 17:29] |
ข้อคิดเห็นที่
80:![]() ถามหน่อยค่ะ ถ้าต้องการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารพวกสารฟอกขาวไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไม่ทราบว่าที่ไหนมีรับทดสอบบ้างคะ ( คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 3050 ) http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=3050&Pin= โดย: นักศึกษา (โท มอ.) [6 พ.ค. 2553 16:58] |
ข้อคิดเห็นที่
81:![]() อยากทราบวิธีการตรวจสอบปริมาณสารกันบูดค่ะ โดยเฉพาะในเส้นก๋วยเตี๋ยว เค้าทำยังไงกันนะ >< ( คำถามนี้ ถูกย้ายไปเป็น คำถาม ที่ 3060 ) http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=3060&Pin= โดย: น้องสาวมัลฟอย [1 มิ.ย. 2553 19:24] |
ข้อคิดเห็นที่
82:![]() อาหารอะไรที่ไม่มีสารปนเปื่อนมั้ง อยากรู้มาก อาหารอะไรมีประโยชน์ โดย: baby girl [9 มิ.ย. 2553 19:33] |
ข้อคิดเห็นที่
83:![]() อยากทราบว่าสารกันบูดมีวิธีทดสอบอย่างไรค่ะ โดย: แอม [14 มิ.ย. 2553 21:10] |
ข้อคิดเห็นที่
84:![]() อยากทราบว่า Baking soda , โพแทสเซียมคาร์บอเนต (น้ำด่าง) คือตัวเดียวกันหรือไม่ ? ข้อกำหนด/ปริมาณ ที่ให้ใส่ได้ โดย: RD [17 มิ.ย. 2553 18:25] |
ข้อคิดเห็นที่
85:![]() อยากทราบวิธีหาสารตะกั่วปนเปื่้อนในกระดาษที่พิมพ์ด้วยหมึกทั่วไป โดย: กับ [18 มิ.ย. 2553 21:56] |
ข้อคิดเห็นที่
86:![]() เกิดจากสารอาหารในร้างกายเราเอง โดย: แตง [28 มิ.ย. 2553 18:15] |
ข้อคิดเห็นที่
87:![]() อยากทราบว่า จะมีสารใดบ้าง ที่สามารถตรวจหาสารเร่งเนื้องแดงในหมูได้ โดย: karmPoo [1 ก.ค. 2553 09:56] |
ข้อคิดเห็นที่
88:![]() อยากทราบปริมาณที่กำหนดในการใช้สารแต่งกลิ่นค่ะ ใครทราบช่วยบอกหน่อยนะคะขอบคุณมากค่ะ โดย: จักจั่น [15 ส.ค. 2553 21:43] |
ข้อคิดเห็นที่
89:![]() อยากทราบว่าซัลเฟตคืออะไร โดย: มิรูโม่ [16 ส.ค. 2553 17:13] |
ข้อคิดเห็นที่
93:![]() ยกตัวอย่างสารอันตรายหน่อย โดย: กัญญารัตน์ [9 ก.ย. 2553 16:56] |
ข้อคิดเห็นที่
95:![]() สารบอแรกซ์(ซิลิซิลิก)พบได้ใน ลูกชิ้น ปลาบด ทับทิมกรอบ เป็นต้น และกินสารเข้าไปเกิน 15 กรัมอาจถึงตายได้ โดย: sally [27 ก.ย. 2553 17:57] |
ข้อคิดเห็นที่
96:![]() สารที่ไช้ในอาหารมีอะไรบ้างคะ โดย: อันนา [11 ต.ค. 2553 14:51] |
ข้อคิดเห็นที่
97:![]() คำถาม ชื่อสารเคมีและสูตรเคมัเบื่องต้น (g) =gass=ก๊าซ (l) =liquid=ของเหลว (s)=solid=ของแข็ง (aq)=...........=............. ช่วยตอบที หาไม่เจออ่ะ........................เร็วๆ...ด่วน......ตอนนี้ โดย: GLY [11 ต.ค. 2553 19:51] |
ข้อคิดเห็นที่
98:![]() สารบอเเรกว์ เรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่าอะไร ? โดย: .. [9 พ.ย. 2553 11:53] |
ข้อคิดเห็นที่
99:![]() การหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษจากการปนเปื้อนในอาหารชนิดเดิมมีวิธีอย่างไรครับ คำตอบ ไม่กินอาหารชนิดเดิมๆ ( ที่ทำจากแหล่งวัตถุดิบเดิมๆ หรือ ซื้อจากผู้ผลิต/ผู้ขายเดิมๆ ) โดย: โป้ง [12 พ.ย. 2553 15:37] |
ข้อคิดเห็นที่
100:![]() สารที่อยู่ในอาหารหรือเจือปนมีอะไรบ้าง โดย: เด็กขี้สงสัย [22 พ.ย. 2553 13:42] |
ข้อคิดเห็นที่
101:![]() เป็นคนที่รักสุขภาพคนนึงค่ะ ตอนนี้ก็พยายามปลูกผักกินเองค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีต่างๆ คำตอบ / ความคิดเห็น ยังมีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีปนเปื้อน จาก ดิน ภาชนะใส่ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ / ปุ๋ยชีวภาพ น้ำที่ใช้รดผัก ฯลฯ โดย: ครูผู้รักสุขภาพ [29 พ.ย. 2553 11:07] |
ข้อคิดเห็นที่
102:![]() (aq)aqueous solution ชั้นสารละลาย organic solution ชั้นตัวละลาย ใช้ในวิธีการสกัด โดย: นักชีววิทยา [29 พ.ย. 2553 22:22] |
ข้อคิดเห็นที่
103:![]() เราว่าอาหาร ที่เราทำเองหรือผักที่เราปลูกกินเองน่าจะปรอดภัยที่สุด แถมยังประหยัดอีกด้วย โดย: อุบอิ๊บ [3 ธ.ค. 2553 15:00] |
ข้อคิดเห็นที่
105:![]() นอกจากsciencedirect แล้วยังสามารถค้นหาเปเปอร์ได้จากแหล่งไหน เวบไหนได้บ้างค่ะ ^^ โดย: นิสิต food science |
ข้อคิดเห็นที่
106:![]() เรื่องนี้ต้องศึกษาให้มากๆจึงจะมีความรู้ โดย: ฟิล์ม [4 มิ.ย. 2554 21:01] |
ข้อคิดเห็นที่
107:![]() เรื่องนี้มีความรู้มากๆเลย โดย: ฟิล์ม แจงแจง [7 มิ.ย. 2554 20:27] |
ข้อคิดเห็นที่
110:![]() ได้รับเนื้อหาสาระมากเลยค่ะหวังว่าคงจะมีความรู้อื่นๆเข้ามาอีกนะคะ ขอบคุณมากค่ะ โดย: นางสาวศิริอัมภรณ์ วรามิตร [17 ส.ค. 2554 13:48] |
ข้อคิดเห็นที่
111:![]() ได้สาระมากค่ะ ต่ขอมีข้อมูลมากกว่านี้นะคะจุบจุบ โดย: แฟนพี่แม็ค3/7สุดหล่อ [26 ส.ค. 2554 13:25] |
ข้อคิดเห็นที่
113:![]() บอแรกซ์ มีจำหน่ายตามท้องตลาด ไหมคับ โดย: บิ้ก [1 ก.ย. 2554 15:33] |
ข้อคิดเห็นที่
114:![]() ไม่มี โดย: คน [4 ก.ย. 2554 17:14] |
ข้อคิดเห็นที่
115:![]() วีธีทดลอง ถ้าอยากทดลองว่าผงชูรสแท้หรือปลอม เอาอุปกรณ์มาทดลอง คือ 1.ผงชูรสแท้ ผงชูรสปลอม 2.ช้อนโลหะ 2 คัน 3.ตะเกียงแอลกอฮอล์ วีธีทดลอง 1. นำผงชูรสใส่ในช้อนโลหะ 2 .นำช้อนโลหะไปเผาไฟ 3. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผงชูรส วิธีดู ถ้าผงเป็นสีดำคือผงแท้ ถ้าผงสีขาวคือผงปลอม ขอบคุณที่อ่านค่ะ ทดลองได้ค่ะ โดย: คนน่ารัก [12 ก.ย. 2554 20:36] |
ข้อคิดเห็นที่
116:![]() วุ้นเส้นนี้ จะต้องใส่กันบูดเเละกันราเท่าไรค่ะ คำตอบ จาก ชาแล้วแต่คริต วุ้นเส้นนี้ และ วุ้นเส้นนั้น ถ้าผลิตและบรรจุอย่างถูกต้อง ก็ ไม่ต้องใส่ สารกันบูด เเละ สารกันรา โดย: คนสวย [17 ต.ค. 2554 13:02] |
ข้อคิดเห็นที่
117:![]() อยากรู้เรื่อง สาร มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดย: สุราด [20 ต.ค. 2554 10:44] |
ข้อคิดเห็นที่
118:![]() ตอบหน่อยสิๆๆๆๆๆ สาร คืออะไร โดย: สุราด [20 ต.ค. 2554 10:47] |
ข้อคิดเห็นที่
119:![]() ต้องการทราบโทษของน้ำปลาค่ะ คำตอบ กินมากเกินไป ( ได้รับเกลือมาก ) สามารถทำให้ไตวาย สามารถกัดกร่อน อุปกรณ์ - ภาชนะ ที่ทำจาก เหล็ก / เหล็กสเตนเลส โดย: โหมด_ซู่ๆซ่าๆ [29 ต.ค. 2554 11:57] |
ข้อคิดเห็นที่
120:![]() โดย: TTTT [15 พ.ย. 2554 04:21] |
ข้อคิดเห็นที่
121:![]() อยากกินผักปลอดสารพิษ คำตอบ / ทางเลือก ต้องเลือกซื้อเป็น หรือ ซื้อมาแล้วกำจัดสารพิษเป็น หรือ ปลูกผักไว้กินเอง โดยเลือกใช้ เมล็ดพันธุ์ ภาชนะ ดิน ปุ๋ย น้ำ ที่ปราศจากสารพิษ ( ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เลือกยากและหายาก ) โดย: mind [21 ธ.ค. 2554 19:42] |
ข้อคิดเห็นที่
123:![]() อยากทราบวิธี ตรวจวัดค่า SO2 ในแป้งและน้ำหมักกรดค่ะ รบกวนด้วยคะ โดย: นุ้ย [29 ก.พ. 2555 13:21] |
ข้อคิดเห็นที่
124:![]() อยากทราบวิธีหาค่าน้ำมันบนภาชนะ สามารถทำได้ดยวิธีใดบ้างค่ะ โดย: อลัวส์ [17 มี.ค. 2555 20:20] |
ข้อคิดเห็นที่
125:![]() อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับสารฟอมารีนค่ะ เนื่องจากที่บ้านทำ กระเทียมโทนดองขาย และได้ทำการตรวจสอบปรากฏว่าเจอ สารฟอมารีนในกระเทียมดอง อยากทราบว่าเกิดจากอะไร เนื่องจากทางบ้านไม่มีการใส่สารใดๆ เจือปนเลยค่ะ โดย: สุวรรณี เชียงอารีย์ [23 มี.ค. 2555 14:00] |
ข้อคิดเห็นที่
126:![]() โทษของดีเกลือ และ โทษของผงฟูมีอะไรบ้างค่ะ ? โดย: สตางค์ [20 พ.ค. 2555 12:05] |
ข้อคิดเห็นที่
128:![]() ขอคุณสำหรับทุกๆความคิดเห็น โดย: ช่องนนทรี [4 มิ.ย. 2555 11:01] |
ข้อคิดเห็นที่
129:![]() ตั้งแต่ปี 2550 เลยโอ้นานนะเนี้ย โดย: ชายปริศนา [15 ก.ค. 2555 14:52] |
ข้อคิดเห็นที่
130:![]() สารสกัดจากธรรมชาติอะไรบ้างที่สามารถหาสารบอแรกซ์ได้ โดย: tee revo [12 ส.ค. 2555 14:40] |
ข้อคิดเห็นที่
131:![]() อยากรู้เกี่ยวกับสารในบ้าน โดย: คนน่าตาดี [5 พ.ย. 2555 08:50] |
ข้อคิดเห็นที่
132:![]() อยากรู้เกี่ยวกับสารเจือปนในอาหารกึ่งสำเร็จรูป โดย: เด็กอุตสาหรรกมอาหาร [12 ธ.ค. 2555 16:36] |
ข้อคิดเห็นที่
133:![]() อยากทราบวิธีตรวจสอบ ยาฆ่าแมลงในผัก แบบ สามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องซื้อชุดทดสอบ โดย: ทำโครงงาน [23 ม.ค. 2556 20:28] |
ข้อคิดเห็นที่
135:![]() thankyouค่ะ โดย: อาย [5 ส.ค. 2556 17:30] |
ข้อคิดเห็นที่
136:![]() สารที่ทำลูกชิ้นเด้งคืออะไร โดย: มิน [23 ต.ค. 2556 12:48] |
ข้อคิดเห็นที่
137:![]() สารบอแร็กซ์ บอริก มีวิธีการจัดเก็บอย่างไรพร้อมทั้งจัดเก็บที่อุณหภูมิเท่าไหร่ และมีวิธีเก็บที่พิเศษหรือไม่ โดย: กรมควบคุมมลพิษ [27 พ.ค. 2557 10:18] |
ข้อคิดเห็นที่
138:![]() สารเคมีในอาหาร เรียกว่า โดย: หนุ่ม [30 มิ.ย. 2557 21:35] |
ข้อคิดเห็นที่
139:![]() อยากทราบว่า การทดสอบว่ามีดินประสิวอยู่ในไส้กรอกมีวิธี และใช้สารเคมีอะไรคะ โดย: เด็ก เด็ก [7 ม.ค. 2559 14:22] |