สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

แก๊สน้ำตา

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 1 ก.ย. 2551

            บ่อยครั้งที่เราได้ดูได้ฟังข่าวการสลายการชุมนุมในต่างประเทศหรือในประเทศก็ตาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจราจลมักสลายการชุมนุมโดยการยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน เพื่อให้ฝูงชนแตกกระเจิงไปคนละทิศคนละทาง แก๊สน้ำตานี้คืออะไร เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

แก๊สน้ำตา (tear gas) คืออะไร

            แก๊สน้ำตา เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมจราจล ซึ่งมีสารที่เกี่ยวข้องมากกว่า 12 ชนิด แต่ที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่

            1. Chloroacetophenone หรือ CN gas (CAS No. 532-27-4; UN Class 6.1; UN Number 1697; UN Guide 153; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) ได้รับการคิดค้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 แต่นำมาใช้ในช่วงสงครามเวียดนามโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา ในช่วง ค.ศ. 1960-1979 มีการนำมาใช้ในการปราบจราจลและในกิจการของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านความมั่นคงและความปลอดภัย โดยการใช้งานจะอยู่ในรูปละอองลอยที่บรรจุในภาชนะอัดความดัน ต่อมานำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวแต่ก็ลดน้อยลงมากแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากระยะเวลาออกฤทธิ์ค่อนข้างนานและใช้ไม่ค่อยได้ผลกับคนติดยาและติดเหล้า

            2. Chlorobenzylidenemalonitrile : CS gas (CAS No. 2698-41-1; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) เป็นผงผลึกสีขาว เมื่อไหม้ไฟจะก๊าซไม่มีสี ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1928 แต่ยังไม่มีการใช้จนกระทั่งสงครามเวียดนามจึงมีการใช้เป็นอาวุธสงครามอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

            3. Dibenzoxazepine : CR gas (CAS No. 257-07-8; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) กระทรวงกลาโหมของอังกฤษพัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1960 มีลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองซีดมีกลิ่นคล้ายพริกไท ในสหรัฐอเมริกาไม่ใช้สารตัวนี้เป็นสารควบคุมจราจล เนื่องจากมีสมบัติก่อมะเร็ง

            สารเคมีเหล่านี้อาจอยู่ในรูปของแข็ง (ผง) หรือของเหลวก็ได้ เมื่อมีการยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมจะได้รับแก๊สน้ำตาได้ทั้งทางการหายใจเข้าไป การสัมผัสดวงตาและผิวหนัง ซึ่งมีผลให้เกิดการไหม้และระคายเคืองทันทีตามบริเวณที่สัมผัสกับแก๊สน้ำตา อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา ได้แก่

            - น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง

            - น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง

            - ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย

            - แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่

            - ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น

            - คลื่นไส้ อาเจียน

            โดยปกติแล้ว หลังจากออกมาจากบริเวณที่มีแก๊สน้ำตาและทำความสะอาดร่างกายแล้ว อาการที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ประมาณ 30-60 นาที เท่านั้น ถ้าสัมผัสแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานๆ เช่น มากกว่า 1 ชั่วโมง หรือได้รับสัมผัสปริมาณมากๆ ในพื้นที่อับอากาศ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงได้ เช่น ตาบอด ต้อหิน ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตเนื่องจากสารเคมีจะไหม้ลำคอและปอด ปริมาณที่ทำให้เสียชีวิตได้จะมากกว่าปริมาณที่ใช้ในการสลายการชุมนุมหลายร้อยเท่า

ควรทำอย่างไร เมื่อถูกสลายการชุมนุมด้วยการยิงแก๊สน้ำตาใส่ 

            ถ้าอยู่ในวิถีของแก๊สน้ำตาที่ยิงมา ให้วิ่งไปทิศตรงกันข้ามกับทิศที่ยิงแก๊สน้ำตาจนพ้นระยะกลุ่มแก๊ส ไม่ควรวิ่งไปด้านข้างเพราะมีโอกาสสัมผัสแก๊สน้ำตาได้อยู่ การมองเห็นอาจพล่ามัวและอาจสับสนได้ง่าย ดังนั้นระวังอย่าวิ่งเข้าไปหาตำรวจ  ให้ทำใจให้สงบมองดูรอบๆ ตัว แล้วค่อยเคลื่อนไปยังที่ที่ปลอดภัย ถ้าเป็นไปได้ให้ไปอยู่เหนือลมและปล่อยให้ลมพัดผ่านส่วนของร่างกายที่โดนแก๊สน้ำตา จะช่วยให้แก๊สน้ำตาหลุดไปได้เร็วขึ้นและล้างด้วยสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลเฟตหรือน้ำเปล่า อย่าเอามือไปโดนเพราะจะทำให้แก๊สน้ำตาขยายวงและซึมเข้าผิวหนังได้ จากนั้นอาจเข้าร่วมชุมนุมต่อได้ทันที เพราะแก๊สน้ำตาปริมาณน้อยจะส่งผลเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และถ้ามีโอกาสให้ล้างตัวด้วยน้ำเย็น อย่าใช้น้ำร้อน เพราะน้ำร้อนทำให้รูขุมขนเปิดกว้างขึ้นทำให้แก็สน้ำตาซึมเข้าไปได้ง่ายขึ้น

            หลังเสร็จสิ้นการชุมนุมให้ผึ่งเสื้อผ้าในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อไล่แก๊สน้ำตาที่ติดอยู่ออก ประมาณ 1 วัน หรือซัก 2 ครั้งด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วค่อยซักอีกครั้งด้วยน้ำร้อน

            เนื่องจากแก๊สน้ำตาละลายได้ในไขมัน ดังนั้นไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงและปกป้องผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันหรือวาสลีน

ที่มาของข้อมูล :

http://www.nyc.gov/html/doh/html/bt/bt_fact_tear.shtml
http://en.wikipedia.org/wiki/CN_gas
http://www.crimedoctor.com/self_defense_1.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/CS_gas
http://www.eco-action.org/dod/no7/cs_gas.html
http://en.wikipedia.org/wiki/CR_gas
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/ct_9_2550_TearGas.pdf

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
2-Chloroacetophenone
ortho-Chlorobenzylidene malononitrile
Dibenzoxazepine
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอบคุนมากๆ น่ะค่ะ

โดย:  แอ๋มรักพายุ  [10 ก.ย. 2551 21:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ยินดีค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [12 ก.ย. 2551 11:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขุมนุมตรั้งนี้ไม่กัวแล้วคับ

โดย:  อิอิ  [14 ก.ย. 2551 01:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ขอบคุณข้อมูลครับ สงสัยมานานแล้ว  .....เดี๋ยวจะได้ไปรัฐสภา

โดย:  รักน้องพร  [7 ต.ค. 2551 17:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

แล้วมันมีแรงอะไรทำให้ขาขาดอ่ะ

โดย:  สงสัย  [9 ต.ค. 2551 01:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

แล่มเลย

โดย:  พันธมิตร สิงห์บุรี  [9 ต.ค. 2551 11:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

แล้วทำให้ขาขาดมั้ยครับ

โดย:  ผู้ไม่ค่อยชอบพันธมิตร  [10 ต.ค. 2551 00:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ไม่เป็นอันตรายกับประชาชนหรือค่ะ

โดย:  คนห่วงยัยป.ช.ช.  [16 ต.ค. 2551 10:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

ที่พันธมิตรอ่ะคับ ผมว่าไม่ใช่แก๊สน้ำตา เพราะว่าจากการที่ค้นมาหลายๆ ที่ พบว่าเมื่อโดนแล้วไม่ถึงกับทำให้เนื้อเยื่อหลายๆ ชั้น ยันกระดูกฉีกขาด แต่เมื่อดูจากเหตุการพันธมิตร ก้ออาจตั้งสมมติฐานได้ว่า น่าจะเป็นระเบิดที่มีอนุภาคไม่เท่าระเบิดทั่วไป และเป็นไปได้ที่ระเบิดนี้ เพิ่งถูกค้นหาไม่ได้มีอยู่แล้ว ในพันธมิตรเห็นได้ชัดว่ามีเสียงดังมากและมีการแกะสลักก่อนขว้างแล้วรูปร่างของมันคล้ายระเบิด และลูกเล็กกว่าของทั่วไป

แต่ถ้าถามว่าแก๊สน้ำตาทำให้ขาขาดมั้ย บอกได้เลยว่าไม่ได้แน่ เพราะแก๊สน้ำตาถ้าทำหั้ยขาขาด คงไม่มีนักวิทยาศาสตร์ หรืออาจารย์คนไหนเอามาทดลองกับนักเรียนในห้องแล็บหรอก แล้วข้อเท็จจริงคือ ระเบิดในพันธมิตร สร้างโดยอาจจะตัดสารเคมีบางอย่างเพื่อจะทำหั้ยมีอนุภาคน้อยลง หรืออาจลดปริมาณสาร บางอย่างและตัดขนาด หรือเพิ่มสารบางอย่างก้อเป็นได้ แต่เพิ่มเพื่ออะไรผมก้อไม่แน่ใจคับ และเมื่อกระทบกับพื้นอาจจะมีแรงดันขึ้นมาแล้วมีอนุภาคคล้ายระเบิดทั่วไปแต่น้อยกว่าเล็กน้อย ถึงปานกลาง  

สรุปน่ะครับเป็นระเบิดอย่างแน่นอน ไม่มีใครโกหก นิยามได้ ถ้านิยามนั้นเป็นจริงท จะโกหกยังไงก้อไม่ขึ้นเพราะมันบอกมาอยู่แล้วว่าไม่มีแรงมหาสารขนาดทำหั้ยขาขาดได้ ว่าอีกอย่างถ้าให้ตั้งชื่อ คือ ระเบิดดัดแปลงขนาดเล็ก ผมขอจบการวิเคราะห์คับ คุนจะไม่เชื่อแล้วแต่คุน
เพราะผมวิเคราะเองจากการค้นและการคิด อาจไม่ใช่แบบผม ผมก้อไม่รู้ แต่ผมขอให้คุนวิเคราะอีกครั้งก้อพอ

จาก...ไม่มีใครโกหกนิยามที่เป็นจริง


โดย:  ไมค์  [21 ต.ค. 2551 21:16]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น