สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

จุฬาฯ ร่วมวิจัยก๊าซพิษในอากาศอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกในไทย

ผู้เขียน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่: 15 ก.ค. 2551

            แหล่งกำเนิดที่สำคัญของก๊าซพิษในเมืองใหญ่ซึ่งสร้างปัญหาทางสุขภาพล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น  การจราจร การเผาไหม้และการขนส่งทางอุตสาหกรรม ฯลฯ มลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะเป็นมลพิษปฐมภูมิ ได้แก่ ฝุ่นละอองและก๊าซต่างๆ เมื่อมลพิษปฐมภูมิไปทำปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมีในชั้นบรรยากาศจะกลายเป็นมลพิษทุติยภูมิซึ่งบางชนิดจะมีความรุนแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับน้ำจะมีความกรด หากเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจในปริมาณที่มากจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ฯลฯ มลพิษต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

            ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบันเก็บข้อมูลสารประกอบเคมีในอากาศอย่างละเอียดทุกระดับชั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อตรวจหาระดับและปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซมลพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณสารประกอบที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซใน ๓ เมืองใหญ่ ได้แก่ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ และเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาวิจัยแห่งชาติ

            ผศ.ดร.สุรัตน์ กล่าวถึงการวิจัยครั้งนี้ว่า มีที่มาจากเหตุการณ์หมอกควันเกินมาตรฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงทางภาคเหนือเมื่อปี ๒๕๕๐ จึงต้องการศึกษาหาสาเหตุและวิธีป้องกันปัญหาดังกล่าว ความพิเศษของโครงการนี้ คือ เป็นการทำงานวิจัยที่รวมศาสตร์ของฟิสิกส์และเคมีเข้าด้วยกัน โดยได้ร่วมทำการวิจัยกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ละท่านจึงนำความรู้ที่ตนเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาผสมผสานกัน การทำงานวิจัยในโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงในการศึกษาลักษณะอุตุนิยมวิทยาชั้นบน โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยาในการปล่อยบอลลูนจากระดับชั้นล่างไปจนถึง ๔๐ กม. เหนือพื้นดินและต้องขึ้นไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซมลพิษบนตึกสูงใน ๓ เมืองใหญ่ โดยเก็บตัวอย่างจาก แต่ละชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลต่อลักษณะและการสะสมของมวลสาร ตัวอย่างฝุ่นที่เก็บมาจะนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยเฉพาะโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ๑๕ ชนิด ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนข้อมูลจากก๊าซต่างๆ จะนำมาวิเคราะห์ว่ามีผลอย่างไรต่อความเข้มข้นของสารพีเอเอช ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

            ผศ.ดร.สุรัตน์ อธิบายต่อว่า ฝุ่นขนาดเล็กจะมีลักษณะคล้ายก๊าซ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเผาไหม้ เช่น จากการสันดาปในรถยนต์ การเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วอากาศร้อนจากพื้นดินจะลอยตัวสูงขึ้นไปปะทะกับอากาศที่เย็นกว่าในชั้นบรรยากาศ ในตอนกลางวันที่แดดดีและท้องฟ้าโปร่ง ฝุ่นขนาดเล็กจะสามารถลอยขึ้นไปชั้นบรรยากาศช่วงบนได้สูงมาก แต่จากการไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่า ตอนเที่ยงวันระดับความสูงผสม (Mixing Height) กดต่ำลงมาจากระดับ ๑,๕๐๐ เมตร เหลือเพียง ๕๐๐ เมตร ระดับความเข้มข้นของฝุ่นจึงมีอัตราที่สูงมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามชั้นที่สูงขึ้นไป แต่การที่ระดับความสูงผสมกดต่ำลง พบว่าอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นบนกลับสูงขึ้น ทำให้อากาศไม่ลอยขึ้น สาเหตุเกิดจากการที่อากาศเย็นปะทะกับอากาศร้อน หรือการลอยตัวเข้ามาของอากาศร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปกคลุม ดังเช่นเหตุการณ์ที่ระดับฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่ จ.เชียงใหม่เมื่อปีที่แล้วซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ การที่ระดับความสูงผสมต่ำติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นเกินมาตรฐานมาก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นวิเคราะห์ว่าจากสภาวะที่เป็นอยู่นี้จะทำให้เกิดผลต่อสารประกอบพีเอเอชหรือไม่ อย่างไร

            สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเกิดภาวะหมอกควันปกคลุมที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบนหรือไม่นั้น ผศ.ดร.สุรัตน์ กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนมีส่วนส่งเสริมให้เกิดหมอกควันขึ้น เพราะอากาศร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในช่วงที่มีการเผาต้นไม้เพื่อการเกษตรกรรม การลามไปไหม้ป่าจะมีมากกว่าปกติเพราะความชื้นค่อนข้างต่ำ และมีมวลอากาศร้อนที่ลอยเข้ามาจากทางทิศตะวันตกของประเทศก่อนจะเกิดปัญหาหมอกควัน ทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศชั้นล่างสูงกว่าชั้นบน ซึ่ง ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะทำให้เรารู้ว่าเมื่อใดจะเกิดปัญหาขึ้นอีก เพื่อที่จะสามารถแจ้งเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลดการเผาป่า หรือเตือนว่าช่วงใดไม่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเพื่อที่จะลดและหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ลักษณะนี้


ที่มาของข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.chula.ac.th

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
Nitrogen dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - คพ.เตือนกรุงเทพฝุ่นและโอโซนสูงเกินมาตรฐาน
บอกข่าวเล่าความ - จุฬาฯ วิจัยแบคทีเรียบนใบไม้ ย่อยสลายสารพิษในบรรยากาศ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

( ทดลองนำข้อมูลมาลงใหม่ )        

แหล่งกำเนิดที่สำคัญของก๊าซพิษในเมืองใหญ่ซึ่งสร้างปัญหาทางสุขภาพล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น  การจราจร การเผาไหม้และการขนส่งทางอุตสาหกรรม ฯลฯ  มลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะเป็นมลพิษปฐมภูมิ ได้แก่ ฝุ่นละอองและก๊าซต่างๆ เมื่อมลพิษปฐมภูมิไปทำปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมีในชั้นบรรยากาศ  จะกลายเป็นมลพิษทุติยภูมิ ซึ่งบางชนิดจะมีความรุนแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับน้ำจะมีความกรด หากเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจในปริมาณที่มากจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ฯลฯ  มลพิษต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็ง        ที่เจือจาง      

     ผศ. ดร. สุรัตน์ บัวเลิศ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบันเก็บข้อมูลสารประกอบเคมีในอากาศอย่างละเอียดทุกระดับชั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อตรวจหาระดับและปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซมลพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณสารประกอบที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ และ เชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาวิจัยแห่งชาติ        

       ผศ. ดร. สุรัตน์  กล่าวถึงการวิจัยครั้งนี้ว่า มีที่มาจากเหตุการณ์หมอกควันเกินมาตรฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงทางภาคเหนือเมื่อปี 2550 จึงต้องการศึกษาหาสาเหตุและวิธีป้องกันปัญหาดังกล่าว ความพิเศษของโครงการนี้ คือ เป็นการทำงานวิจัยที่รวมศาสตร์ของฟิสิกส์และเคมีเข้าด้วยกัน โดยได้ร่วมทำการวิจัยกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ละท่านจึงนำความรู้ที่ตนเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาผสมผสานกัน การทำงานวิจัยในโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงในการศึกษาลักษณะอุตุนิยมวิทยาชั้นบน โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยาในการปล่อยบอลลูนจากระดับชั้นล่างไปจนถึง 40 กม. เหนือพื้นดินและต้องขึ้นไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซมลพิษบนตึกสูงใน 3 เมืองใหญ่ โดยเก็บตัวอย่างจาก แต่ละชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลต่อลักษณะและการสะสมของมวลสาร ตัวอย่างฝุ่นที่เก็บมาจะนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยเฉพาะโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ( พีเอเอช  ;  PAH ) 15 ชนิด ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนข้อมูลจากก๊าซต่างๆ จะนำมาวิเคราะห์ว่ามีผลอย่างไรต่อความเข้มข้นของสาร พีเอเอช  ( PAH )  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง      

       ผศ. ดร. สุรัตน์ อธิบายต่อว่า  ฝุ่นขนาดเล็กจะมีลักษณะคล้ายก๊าซ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเผาไหม้ เช่น จากการสันดาปในรถยนต์ การเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วอากาศร้อนจากพื้นดินจะลอยตัวสูงขึ้นไปปะทะกับอากาศที่เย็นกว่าในชั้นบรรยากาศ ในตอนกลางวันที่แดดดีและท้องฟ้าโปร่ง ฝุ่นขนาดเล็กจะสามารถลอยขึ้นไปชั้นบรรยากาศช่วงบนได้สูงมาก แต่จากการไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่า ตอนเที่ยงวันระดับความสูงผสม (Mixing Height) กดต่ำลงมาจากระดับ 1,500 เมตร เหลือเพียง 500 เมตร ระดับความเข้มข้นของฝุ่นจึงมีอัตราที่สูงมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามชั้นที่สูงขึ้นไป แต่การที่ระดับความสูงผสมกดต่ำลง พบว่าอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นบนกลับสูงขึ้น ทำให้อากาศไม่ลอยขึ้น สาเหตุเกิดจากการที่อากาศเย็นปะทะกับอากาศร้อน หรือการลอยตัวเข้ามาของอากาศร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปกคลุม ดังเช่นเหตุการณ์ที่ระดับฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่ จ.เชียงใหม่เมื่อปีที่แล้วซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ การที่ระดับความสูงผสมต่ำติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นเกินมาตรฐานมาก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นวิเคราะห์ว่าจากสภาวะที่เป็นอยู่นี้จะทำให้เกิดผลต่อสารประกอบพีเอเอชหรือไม่ อย่างไร        

       สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเกิดภาวะหมอกควันปกคลุมที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบนหรือไม่นั้น ผศ. ดร. สุรัตน์ กล่าวว่า  ภาวะโลกร้อนมีส่วนส่งเสริมให้เกิดหมอกควันขึ้น เพราะอากาศร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในช่วงที่มีการเผาต้นไม้เพื่อการเกษตรกรรม การลามไปไหม้ป่าจะมีมากกว่าปกติเพราะความชื้นค่อนข้างต่ำ และมีมวลอากาศร้อนที่ลอยเข้ามาจากทางทิศตะวันตกของประเทศก่อนจะเกิดปัญหาหมอกควัน ทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศชั้นล่างสูงกว่าชั้นบน ซึ่ง ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะทำให้เรารู้ว่าเมื่อใดจะเกิดปัญหาขึ้นอีก เพื่อที่จะสามารถแจ้งเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลดการเผาป่า หรือเตือนว่าช่วงใดไม่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเพื่อที่จะลดและหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ลักษณะนี้        
________________________________________
ที่มาของข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.chula.ac.th    


โดย:  นักเคมี  [16 ก.ค. 2551 10:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

( ทดลองนำข้อมูลมาลงใหม่  ครั้งที่  2 )
แหล่งกำเนิดที่สำคัญของก๊าซพิษในเมืองใหญ่ซึ่งสร้างปัญหาทางสุขภาพล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น  การจราจร การเผาไหม้และการขนส่งทางอุตสาหกรรม ฯลฯ  มลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะเป็นมลพิษปฐมภูมิ ได้แก่ ฝุ่นละอองและก๊าซต่างๆ เมื่อมลพิษปฐมภูมิไปทำปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมีในชั้นบรรยากาศ  จะกลายเป็นมลพิษทุติยภูมิ ซึ่งบางชนิดจะมีความรุนแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับน้ำจะมีความกรด หากเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจในปริมาณที่มากจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ฯลฯ  มลพิษต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็ง        

    ผศ. ดร. สุรัตน์ บัวเลิศ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบันเก็บข้อมูลสารประกอบเคมีในอากาศอย่างละเอียดทุกระดับชั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อตรวจหาระดับและปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซมลพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณสารประกอบที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ และ เชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาวิจัยแห่งชาติ        

      ผศ. ดร. สุรัตน์  กล่าวถึงการวิจัยครั้งนี้ว่า มีที่มาจากเหตุการณ์หมอกควันเกินมาตรฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงทางภาคเหนือเมื่อปี 2550 จึงต้องการศึกษาหาสาเหตุและวิธีป้องกันปัญหาดังกล่าว ความพิเศษของโครงการนี้ คือ เป็นการทำงานวิจัยที่รวมศาสตร์ของฟิสิกส์และเคมีเข้าด้วยกัน โดยได้ร่วมทำการวิจัยกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ละท่านจึงนำความรู้ที่ตนเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาผสมผสานกัน การทำงานวิจัยในโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงในการศึกษาลักษณะอุตุนิยมวิทยาชั้นบน โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยาในการปล่อยบอลลูนจากระดับชั้นล่างไปจนถึง 40 กม. เหนือพื้นดินและต้องขึ้นไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซมลพิษบนตึกสูงใน 3 เมืองใหญ่ โดยเก็บตัวอย่างจาก แต่ละชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลต่อลักษณะและการสะสมของมวลสาร ตัวอย่างฝุ่นที่เก็บมาจะนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยเฉพาะโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ( พีเอเอช  ;  PAH ) 15 ชนิด ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนข้อมูลจากก๊าซต่างๆ จะนำมาวิเคราะห์ว่ามีผลอย่างไรต่อความเข้มข้นของสาร พีเอเอช  ( PAH )  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง      

      ผศ. ดร. สุรัตน์ อธิบายต่อว่า  ฝุ่นขนาดเล็กจะมีลักษณะคล้ายก๊าซ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเผาไหม้ เช่น จากการสันดาปในรถยนต์ การเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วอากาศร้อนจากพื้นดินจะลอยตัวสูงขึ้นไปปะทะกับอากาศที่เย็นกว่าในชั้นบรรยากาศ ในตอนกลางวันที่แดดดีและท้องฟ้าโปร่ง ฝุ่นขนาดเล็กจะสามารถลอยขึ้นไปชั้นบรรยากาศช่วงบนได้สูงมาก แต่จากการไปเก็บตัวอย่างฝุ่นและก๊าซที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่า ตอนเที่ยงวันระดับความสูงผสม (Mixing Height) กดต่ำลงมาจากระดับ 1,500 เมตร เหลือเพียง 500 เมตร ระดับความเข้มข้นของฝุ่นจึงมีอัตราที่สูงมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามชั้นที่สูงขึ้นไป แต่การที่ระดับความสูงผสมกดต่ำลง พบว่าอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นบนกลับสูงขึ้น ทำให้อากาศไม่ลอยขึ้น สาเหตุเกิดจากการที่อากาศเย็นปะทะกับอากาศร้อน หรือการลอยตัวเข้ามาของอากาศร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปกคลุม ดังเช่นเหตุการณ์ที่ระดับฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่ จ.เชียงใหม่เมื่อปีที่แล้วซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ การที่ระดับความสูงผสมต่ำติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นเกินมาตรฐานมาก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นวิเคราะห์ว่าจากสภาวะที่เป็นอยู่นี้จะทำให้เกิดผลต่อสารประกอบพีเอเอชหรือไม่ อย่างไร        

      สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเกิดภาวะหมอกควันปกคลุมที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบนหรือไม่นั้น ผศ. ดร. สุรัตน์ กล่าวว่า  ภาวะโลกร้อนมีส่วนส่งเสริมให้เกิดหมอกควันขึ้น เพราะอากาศร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในช่วงที่มีการเผาต้นไม้เพื่อการเกษตรกรรม การลามไปไหม้ป่าจะมีมากกว่าปกติเพราะความชื้นค่อนข้างต่ำ และมีมวลอากาศร้อนที่ลอยเข้ามาจากทางทิศตะวันตกของประเทศก่อนจะเกิดปัญหาหมอกควัน ทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศชั้นล่างสูงกว่าชั้นบน ซึ่ง ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะทำให้เรารู้ว่าเมื่อใดจะเกิดปัญหาขึ้นอีก เพื่อที่จะสามารถแจ้งเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลดการเผาป่า หรือเตือนว่าช่วงใดไม่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเพื่อที่จะลดและหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ลักษณะนี้        
________________________________________
ที่มาของข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.chula.ac.th

โดย:  นักเคมี  [16 ก.ค. 2551 11:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ทำไมไม่มีนักวิชาการสถาบันไหนสนใจไปทำวิจัยเรื่องนี้ในเมืองอุตสาหกรรมอย่างมาบตาพุดบ้างล่ะครับ

โดย:  rayonggov  [24 ก.ค. 2551 16:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

http://en.wikipedia.org/wiki/Air_pollution        ( Air Pollution )        
http://www.ertc.deqp.go.th/ertc/index.php?option=com_content&task=view&id=131&Itemid=77

โดย:  นักเคมี  [23 ส.ค. 2551 18:55]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น