สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สถานีวิจัยปลอดคาร์บอนแห่งแรกเปิดแล้วที่แอนตาร์กติกา

ผู้เขียน: สำนักข่าวไทย
วันที่: 19 ก.พ. 2552

            สถานีวิจัยขั้วโลกไร้ก๊าซคาร์บอนแห่งแรกของโลกเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในทวีปแอนตาร์กติกา โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเบลเยียมและกลุ่มบริษัทเอกชนผู้ให้ทุนสนับสนุนเข้าร่วมภายในงาน

            ภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องของภัยธรรมชาติต่างๆ จนทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับพลังงานทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่าพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะมีใช้อย่างยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับสังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบันหรือไม่ ดังนั้น ทีมผู้บุกเบิกของสถานีพรินเซส เอลิซาเบธ เชื่อว่า พลังงานสะอาดสามารถใช้งานได้  แม้แต่สถานีแห่งนี้ ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ลบ 14 องศาเซลเซียส

            อแลง อูแบร์ ผู้อำนวยการสถานีพรินเซส เอลิซาเบธ กล่าวว่า สถานีแห่งนี้ใช้พลังงานผสมผสานทั้งจากลมและแสงแดด รวมทั้งการชาร์จแบตเตอรี่เพื่อสำรองพลังงานไว้ใช้ในการวิจัยทั้งหมด สำหรับในส่วนของพิธีเปิดที่ผ่านมานั้น ได้มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลเบลเยียมและกลุ่มบริษัทเอกชนผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการมูลค่า 23 ล้านยูโร (1,040 ล้านบาท) โดยใช้เวลากว่า 2 ปี ในการก่อสร้างสถานีวิจัยพลังงานที่ทำด้วยเหล็ก ผสมผสานกับเทคโนโลยีแห่งอวกาศและธรรมชาติเข้าด้วยกัน พร้อมแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ และมีกลไกอัจฉริยะควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า แม้แต่รูปทรงและที่ตั้งหน้าต่างและทางออกล้วนออกแบบมาเพื่ออนุรักษ์พลังงานทั้งสิ้น

            ทั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยเรื่องโลกร้อนคาดว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจทำให้น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาละลายเร็วขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงเพิ่มขึ้น และกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมโลกในที่สุด

ที่มาของข้อมูล : สำนักข่าวไทย ประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - กรีนพีซเตือนแผนพลังงานของ IEA ไร้ประโยชน์ต่อโลก
บอกข่าวเล่าความ - ภาวะโลกร้อน : จะรุนแรงกว่าที่คาดคิดไว้
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น