สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

การสื่อสารที่มีช่องว่างกรณี : พืชสมุนไพรเป็นวัตถุอันตราย

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 23 ก.พ. 2552

            จากกรณีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 กำหนดให้ “ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ขา ดาวเรื่อง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 บัญชี ข.”  ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกิดข้อถกเถียงอย่างต่อเนื่องหลายวัน ฝ่ายรัฐผู้เสนอชี้แจงว่าเป็นความตั้งใจดีที่จะทำให้มีการปฏิบัติที่ง่ายขึ้น เป็นการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรผู้ใช้ด้วย ฝ่ายคัดค้านเชื่อว่าการออกประกาศฉบับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ต้องใช้สารธรรมชาติจากพืช รวมทั้งเกิดความสับสนในการนำไปใช้ในลักษณะอื่น เพราะว่าสมุนไพรที่ระบุล้วนเป็นสมุนไพรที่บริโภคในชีวิตประจำวันมาช้านาน ยิ่งไปกว่านั้นรายงานข่าวยังมีข้อสงสัยถึงที่มา ความไม่ชอบมาพากลและเงื่อนงำต่างๆ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พรบ.วัตถุอันตราย  ชี้ถึงข้อเท็จจริงที่หายไปจากประเด็นโต้แย้ง และการสื่อสารที่ใช้ข้อมูลไม่ครบแล้วทำให้เกิดความสับสน บางส่วนอาจตั้งเป็นคำถามเพื่อต้องการคำอธิบายที่ชัดเจนขึ้น

            ประเทศไทยประกาศบังคับใช้ พรบ.วัตถุอันตราย เป็นกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก และการมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตราย (ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 และตาม “บัญชี” ที่มีการจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538) โดยมีคณะกรรมการวัตถุอันตราย (องค์ประกอบตามมาตรา 6 ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ) เป็นผู้ให้ความเห็นชอบตามที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบเสนอให้พิจารณา

            วัตถุอันตรายแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามการควบคุม แต่ละรายการอาจถูกควบคุมโดยหน่วยงานหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งหน่วยงานและอาจเป็นวัตถุอันตรายต่างชนิดกันตามการควบคุมของหน่วยงานต่างกันได้ ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ต้องปฏิบัติ ดังนี้

ชนิดวัตถุอันตราย

กระบวนการที่ต้องดำเนินการ

การขึ้นทะเบียน

การอนุญาต

การแจ้งดำเนินการ

1

-

-

Ö

2

Ö

-

Ö

3

Ö

Ö

Ö

4

ห้ามดำเนินการ

            ตามข้อกำหนดของกฎหมาย บัญชีวัตถุอันตรายจะจัดทำเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งต้นเป็น “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสารเดี่ยวทีมี CAS No. (Chemical Abstract Series Number) กำกับ  เพื่อสะดวกแก่การค้นหาและยืนยันว่าเป็นสารชื่อนั้นๆ   ที่อาจใช้ชื่อต่างกันเพราะ CAS No. ก็คือเลขประจำตัวสารเคมีนั่นเอง  ในบัญชีวัตถุอันตรายจะกำหนดชนิดอันตรายของสารและหน่วยงานรับผิดชอบกับเงื่อนไขถ้ามี  

            ในการทบทวนเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อทุกฉบับ ข้อความในประกาศซึ่งเป็นภาษากฎหมายและทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก คือ จะมีข้อ 1 ว่า “ให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2538 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538 ดังต่อไปนี้...............”  ถ้าจะดูว่าเป็นการยกเลิกจริงๆ หรือเป็นการกำหนดเงื่อนไขใหม่  ต้องอ่านข้อต่อๆไปและดูบัญชีแนบท้ายด้วย   ดังนั้นหากนำชื่อสารที่ยกเลิกมาเทียบกับบัญชีใหม่  อาจพบว่าเป็นการแก้ไขเงื่อนไขก็ได้ เช่น Bromopropylate  หนึ่งใน 9 รายการของกรมวิชาการเกษตรที่ยกเลิกตามข้อ 1 ในประกาศฉบับที่ 6 พ.ศ.2552นั้น  แต่ยังคงกำหนดในบัญชีใหม่ให้สารตัวนี้ยังถูกควบคุมเป็นชนิดที่ 3 ตามเดิม  โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยรับผิดชอบเพิ่มเติม  ดังนั้นเงื่อนไขที่ปรับเพิ่มในช่องของกรมวิชาการเกษตรจะเขียนว่า “เว้นแต่ในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์...........”  หรือ Copper hydroxide ที่อยู่ในการดูแลของกรมวิชาการเกษตรในประกาศฉบับที่ 5 ปี พ.ศ.2549 ยกเลิกในข้อ 1 แต่ยังบรรจุในบัญชี ก.โดยมีการเพิ่มให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบด้วย  ส่วน Copper sulphate (pentahydrate) ได้ถูกเปลี่ยนจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (ปี พ.ศ.2547) เป็นชนิดที่ 1 (ปี พ.ศ.2552) ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม  สำหรับ sulfur ที่มีการหยิบยกขึ้นมานั้น  เดิมประกาศปี พ.ศ.2549 กำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมวิชาการเกษตร  โดยมีเงื่อนไข “เฉพาะผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มี sulfur เป็นองค์ประกอบ  แต่ในประกาศล่าสุดปี พ.ศ.2552 นี้ sulfur ถูกยกเลิกออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเฉพาะในส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น 

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในประกาศบัญชีราชื่อวัตถุอันตราย

Bromopropylate

ปี พ.ศ.2538

ชนิด 3 (กวก.)

ปี พ.ศ.2552

กวก. และ กรมปศุสัตว์

Copper hydroxide

ปี พ.ศ.2549

ชนิด 3 (กวก.)

ปี พ.ศ.2552

กวก. และ กรอ.

Copper sulphate

ชนิด 3 (กวก.)

ชนิด 1 (กรอ.) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม

Sulfur

ชนิด 3 กรอ.

กวก. เฉพาะผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มี sulfur

กวก.

หน่วยงานรับผิดชอบ กวก. คือ กรมวิชาการเกษตร / กรอ. คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

            สิ่งที่ต้องชัดเจนก่อนจะด่วนสรุปว่าสารตัวใดถูกยกเลิกนั้น จึงต้องตรวจสอบรายชนิด โดยเทียบจากบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศที่มีอยู่หลายฉบับ  ความยากของการสื่อสารจึงอยู่ที่ตรงนี้ด้วยส่วนหนึ่ง   การยกเลิกสารกัมมันตรังสีออกจากบัญชีวัตถุอันตราย  ก็ได้รับคำชี้แจงว่ามีกฎหมายอื่นกำกับดูแลโดยเฉพาะอยู่แล้ว  คำถามก็คือ เหตุใดจึงนำเข้าบัญชีรายชื่อท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนหน้านั้น  การที่จะตรวจสอบวัตถุอันตรายรายชนิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมอย่างไร  เมื่อใด  จึงเป็นความยากสำหรับคนทั่วไป  โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  นอกจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในบัญชีรายชื่อใหม่แล้ว  บางกรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดของวัตถุอันตราย เช่น จากชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่ 1 ซึ่งมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติต่อวัตถุอันตรายเหล่านั้น  ชนิดที่ 1 ถือว่าเป็นการคุมที่อ่อนที่สุด  ชนิดที่ 4 คุมเข้มคือห้ามนำเข้า ส่งออก ผลิต ครอบครอง ฯลฯ

             ใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์  เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ลำดับที่ 104 มีคำว่าสารสำคัญ  จุลชีพหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมสำคัญ.........   รวมทั้งลำดับที่ 105 , 106 เพียงแต่แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ของการใช้  พอมาถึงประกาศฉบับที่ 2 ปี 2547 มีการยกเลิกรายการของกรมวิชาการเกษตร  โดยล้อข้อความของปี พ.ศ.2546  แต่เพิ่มกรมปศุสัตว์เข้ามาดูแล  นั่นหมายความว่าสารสกัดจากพืชดังกล่าวยังคงถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 อยู่ในบัญชี ข.ท้ายประกาศ  ส่วนประกาศฉบับที่ 6 ปี พ.ศ.2552  ที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้มีคำใหม่เข้ามาว่า “ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนของพืช.......”  ด้วยเจตนาที่จะคุมเฉพาะการใช้ “ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่  ...........”    จากคำชี้แจงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงการควบคุมจากชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่ 1 ก็เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม  เพราะเพียงแค่ “แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ตามแนบ .....   โดยแจ้งก่อนที่จะดำเนินการผลิต นำเข้า หรือ ส่งออก  เพื่อขายและแจ้งเป็นประจำทุกหกปี”  (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ)  สิ่งที่ต้องการอธิบายคือคำจำกัดความ และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน

            นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา มีการประกาศบัญชีวัตถุอันตรายเพิ่มเติมอีก 5 ฉบับ (ฉบับที่ 2, 3, 4, 5, และ 6) และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่มเติมเข้ามา คือ กรมปศุสัตว์ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่ก็ยังไม่มีการรวมบัญชีเป็นทางการของประกาศทั้ง 6 ฉบับไว้ด้วยกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงอาจเกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ง่าย ว่า รายการวัตถุอันตรายรายการใดถูกยกเลิกไป หรือถูกเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และมีประวัติการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร ในกรณีนี้ หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำรายการรวมบัญชีเป็นบัญชีปัจจุบันไว้เพื่อช่วยการสืบค้นของผู้ใช้ (www.chemtrack.org) แต่หากจะใช้อ้างอิงเชิงกฎหมายจะต้องตรวจสอบกับสำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ประกาศ!! พืชสมุนไพรไทยจัดเป็นวัตถุอันตราย
บอกข่าวเล่าความ - กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศรายชื่อพืชทั้ง 13 ชนิด
บอกข่าวเล่าความ - คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติทบทวนสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น