สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย

การจัดการสินค้าที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 7 ม.ค. 2552

            ข่าวเกี่ยวกับสินค้าอันตรายที่ฮือฮามากที่สุดในรอบปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา คงต้องยกให้ข่าวเหตุการณ์การปนเปื้อนของสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในนมผง ซึ่งทำให้เด็กชาวจีนที่รับประทานเข้าไปเจ็บป่วยมากกว่า 2 แสนคน ในจำนวนนี้กว่า 5 หมื่นคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการปัสสาวะขัด และมีเด็กทารกที่อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต 6 คน นี่เป็นความสูญเสียเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น (ที่มาของข้อมูล : คม ชัด ลึก 2 ธันวาคม 2551) ส่วนประเทศอื่นๆ ก็มีการตรวจพบเมลามีนปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีนมเป็นส่วนผสม และได้มีการห้ามจำหน่ายและเรียกคืนสินค้าออกจากตลาดทั้งหมด สร้างความเสียให้แก่ประเทศจีนอย่างมาก ก่อนหน้านี้  สินค้าจากประเทศจีนที่ส่งไปยังต่างประเทศก็เคยถูกตรวจพบการปนเปื้อนของสารพิษอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่มีครั้งใดรุนแรงเท่ากรณีเมลามีน

            จากกรณีการปนเปื้อนสารพิษในสินค้าต่างๆ จะเห็นว่าในต่างประเทศจะมีระบบเฝ้าระวังสินค้าอันตราย ทั้งจากการตรวจสอบสินค้า ข้อมูลจากผู้บริโภค ข้อมูลจากความเจ็บป่วย และได้มีการกำหนดมาตรการการจัดการต่อไป สำหรับการจัดการกับสินค้าอันตรายในทั่วโลกมีมาตรการสำคัญที่ใช้บังคับกัน ได้แก่ การเรียกคืน (recall) สินค้าที่เป็นอันตรายเหล่านั้นออกจากท้องตลาด

            การดำเนินงานในประเทศแคนาดาเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีระบบการจัดการสินค้าอันตรายต่อผู้บริโภค หน่วยงานที่ชื่อ Health Canada ทำหน้าที่เฝ้าระวังตรวจสอบและประกาศเรียกคืนสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (consumer product ; http://www.hc-sc.gc.ca/cps-spc/index-eng.php) Health Canada ได้ออกประกาศเรียกคืนสินค้าในปี พ.ศ. 2551 รวมทั้งสิ้น 240 รายการ แบ่งเป็นกลุ่มสินค้า 8 กลุ่มดังนี้ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กมากที่สุด 116 รายการ ของเล่น 69 รายการ ของใช้ในบ้าน 68 เสื้อผ้าและเครื่องประดับตกแต่ง 40 รายการ เครื่องกีฬาและสันทนาการ 32 รายการ ของสะสม/งานฝีมือ 20 รายการ เครื่องสำอาง 16 รายการ และอื่นๆ 140 รายการ โดยที่สินค้า 1 รายการอาจจัดอยู่ได้มากกว่า 1 กลุ่มสินค้า

            เมื่อพิจารณารายละเอียดกลุ่มสินค้าสำหรับเด็ก 116 รายการ พบว่า 57 รายการมีปัญหาเรื่องปริมาณสารเคมีอันตรายสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด สารเคมีอันตรายที่พบในผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ ตะกั่ว ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ 49 รายการ ส่วนใหญ่พบในสีที่ทาผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ แบเรียม พบในผลิตภัณฑ์ 7 รายการ และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่พบในผลิตภัณฑ์ 1 รายการ สาเหตุอื่นที่ทำให้สินค้าถูกเรียกคืน เช่น ชิ้นส่วนหลุดได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ลุกติดไฟได้ง่าย โครงสร้างไม่ปลอดภัย เป็นต้น

            ในส่วนของแหล่งผลิตพบว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศจีน 57 รายการ รายการที่เหลือผลิตในประเทศอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ เปรู สโลวาเนีย ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย ซึ่งพบ 1 รายการ

            สำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่เรียกคืนเป็นของเล่นชนิดต่างๆ เช่น ของเล่นเสริมทักษะที่ทำจากไม้ ปืนพลาสติก รถบรรทุก เฮลิคอปเตอร์บังคับ ตุ๊กตา ขวดน้ำ เข็มกลัด จักรยาน โคมไฟ จุกนมยางสำหรับดูด  เตียงเด็กทารก ที่นอนเด็กทารก รถเข็นเด็ก เป้อุ้มเด็ก ผ้าห่ม เสื้อผ้าสำหรับเด็ก ปากกา ม้าโยก แม่เหล็ก รองเท้า แว่นกันแดด สมุดโน๊ต สร้อยและแหวนแฟนซีต่างๆ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ และลูกบอลยางโยโย่ เป็นต้น

            รายละเอียดรายการสินค้าที่เรียกคืนสามารถดูได้ที่หน้าเว็บ Consumer Product Recalls (http://209.217.71.106/PR/home-accueil-e.jsp)

            สำหรับประเทศไทย หน่วยงานรับผิดชอบบางแห่งได้นำมาตรการเรียกคืนสินค้าที่เป็นอันตรายมาใช้บังคับเช่นกัน การเรียกคืนอาหารที่ปนเปื้อนสารเมลามีนในช่วงที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างการใช้มาตรการเรียกคืนสินค้าของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ 5 กลุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และสารเสพติด รายละเอียดการเฝ้าระวังและเรียกคืนสินค้าบางกลุ่มที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อย. สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของ อย. เช่น

            รายละเอียดการเรียกเก็บยาคืนสามารถดูได้ที่ http://newsser.fda.moph.go.th/safetyalert/frontend/theme_1/fe_safety_list_cause.php?Submit=Clear&ID_Op_Depart=002&ID_Cause_Inform=0000000036

            รายละเอียดการเรียกคืนอาหารดูได้ที่ Food Alert System of Thailand (FAST) http://newsser.fda.moph.go.th/fast/frontend/theme_2/index.php?Submit=Clear&Lang=0

            เนื่องจากประเทศไทยมีหน่วยงานที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์กลุ่มต่างๆ หลายหน่วยงาน เช่น อย. ดูแลผลิตภัณฑ์ 5 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดูแลผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในแง่ของการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 10 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโยธาและวัสดุก่อสร้าง กลุ่มโภคภัณฑ์ เช่น ไม้ขีดไฟ ผงซักฟอก ของเล่น เครื่องดับเพลิง หัวนมยาง เป็นต้น กลุ่มวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มวิศวกรรมของไหล (ท่อน้ำ ก๊อกน้ำ) กลุ่มอาหาร (สัปะรดกระป๋อง) กลุ่มวิศวกรรมส่งผ่านความร้อน (ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง) กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ก๊าซที่ใช้ทางการแพทย์) กลุ่มสีและวาร์ณิช กลุ่มวิศวกรรมเครื่องกลและยานพาหนะ และกลุ่มเคมี จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการกำหนดมาตรฐานมีหลายประเภทที่ตรงกับที่ Haelth Canada เรียกคืน เช่น ของเล่น และจุกนมยางสำหรับดูด แต่ก็มีผลิตภัณฑ์อีกหลายประเภทที่ยังไม่มีมาตรฐาน เช่น เครื่องประดับแฟนซี พวกสายสร้อยและเข็มกลัดรูปทรงต่างๆ ซึ่ง Health Canada เรียกคืนหลายรายการเนื่องจากพบว่ามีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนสูงเกินเกณฑ์กำหนด อย่างไรก็ตาม สมอ. ไม่ได้มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังสินค้าหลังจากวางจำหน่ายในท้องตลาดหรือหลังจากได้รับเครื่องหมายมาตรฐานแล้ว

            สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภค และรับร้องเรียนในความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค นับเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สามารถกำหนดมาตรการจัดการสินค้าที่มีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ งานที่ผ่านมาของ สคบ. ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัน


ตัวอย่างสินค้าที่ Health Canada เรียกคืนเนื่องจากมีตะกั่วสูงเกินเกณฑ์กำหนด

โคมไฟที่ Health Canada เรียกคืนเนื่องจากสีที่ใช้มีตะกั่วสูงเกินเกณฑ์กำหนด

เสื้อผ้าเด็กถูกเรียกคืนเนื่องจากกระดุมที่ใช้มีตะกั่วสูงเกินเกณฑ์กำหนด
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Arsenic
Barium
Calcium hydroxide
Chromium
Lead
2,4,6-Triamino-1,3,5-triazine
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เรียนรู้จากข่าว - จากอาหารแมว อาหารสุนัข ถึงยาสีฟัน
เรียนรู้จากข่าว - เมลามีนในนม
เรียนรู้จากข่าว - เมลามีนในอาหารสัตว์
เรียนรู้จากข่าว - เมลามีน... เรื่องราวที่ถูกเปิดเผย
เรียนรู้จากข่าว - สารกันเชื้อราในโซฟาจากจีน
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอให้แสดงความคิดเเห็นมากๆนะคะ แล้วก็ช่วยบอกว่าสินค้าของประเทศไหนมีอันตรายบ้าง จะได้ระวังๆ ตัวไว้

โดย:  ใครก้อล่าย  [20 ก.พ. 2552 18:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

สินค้าบางอย่างอาจอันตรายถึงชีวิตทุกคนต้องระวังตัวให้มากๆ นะค่ะ

โดย:  คนห่วยใย  [20 ส.ค. 2552 20:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ช่วยยกตัวอย่าง สิน ค้าที่อันตรายต่อสุขภาพให้หน่อยดิ๊

โดย:  คนนี้  [18 พ.ย. 2552 18:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

อันตรายมากเลย ตอนนั้นฉันไม่ค่อยจะดูข้าวเท่าไรนัก แต่มาอ่านคอลัมนี้ก็ดีเหมือนกัน  จะได้ระวัง

โดย:  มามา  [18 พ.ย. 2552 18:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

For your information and study about the hazardous compoounds in textiles, etc.

Maittree

โดย:  ไมตรี และศิริวรรณ สุทธจิตต์  [25 ม.ค. 2553 09:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:10

http://161.200.134.28/News-Detail.asp?TID=3&ID=18

โดย:  ท฿  [2 ก.ย. 2553 22:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:15

Pliesang to find someone who can think like that

โดย:  Stacy  [26 ต.ค. 2555 14:48]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น