สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 2 โพลีไวนิลคลอไรด์

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 14 มี.ค. 2551

            โพลีไวนิลคลอไรด์หรือที่เรียกกันว่า พีวีซี เป็นพลาสติกที่ได้จากไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ได้มาจากเอทิลีนและคลอรีน พีวีซีได้รับการคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1912 แต่ผลิตออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1931 เนื่องจากเป็นช่วงสงคราม กองทัพนาซีของเยอรมนีมีการผลิตผ้าเรยอนจำนวนมาก ทำให้มีคลอรีนซึ่งเป็นผลพลอยได้เกิดขึ้นจำนวนมากด้วย

            พีวีซีเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือหลอมเป็นของเหลวได้ โดยที่อุณหภูมิห้องจะอยู่ในสถานะของแข็ง

ผลิตภัณฑ์จากพีวีซี ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนจำนวนมากผลิตจากพีวีซี ตัวอย่างเช่น

            กลุ่มของใช้ในบ้าน  ได้แก่   ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ  ต้นคริตส์มาสปลอม  เฟอร์นิเจอร์หนังเทียม  แผ่นใส่รูปถ่าย  ชั้นวางของ  รถเข็นเด็ก  ม่านในห้องอาบน้ำ  ของเล่นเด็ก  เตียงน้ำ  เป็นต้น

            กลุ่มของใช้ในครัว  ได้แก่  กล่องอุปกรณ์ต่าง ๆ  ภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม อาหาร  ตะแกรงคว่ำจาน  เครื่องล้างจาน ตู้เย็น  วัสดุห่อหุ้มอาหาร  เครื่องครัวที่เป็นพลาสติก  ผ้าปูโต๊ะ  เป็นต้น

            กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม  ได้แก่  ชุดกันเปื้อน  กระเป๋า  เป้สะพานหลัง (เคลือบพีวีซีกันน้ำ)  รองเท้าบูท  เสื้อผ้าชั้นในสตรี  เสื้อกันฝน  กระโปรง  รองเท้า  เป็นต้น

            กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการแพทย์  ได้แก่  ถุงใส่เลือด  สายหรือท่อสำหรับสอดเข้าร่างกาย  ถุงมือ  หลอดต่าง ๆ  เป็นต้น

            กลุ่มรถยนต์  ได้แก่  ที่นั่งสำหรับเด็ก  แผงหน้าปัด  บานประตู  กรวยจราจร  ผ้าปูเบาะ  เคลือบสายไฟ  เคลือบตัวถัง  เป็นต้น

            กลุ่มวัสดุอาคาร  ได้แก่  กรอบประตู  รั้ว  พื้น  ท่อ  กระเบื้อง  วัสดุปูผนัง  กรอบหน้าต่าง  บานเกล็ดหน้าต่าง  ฉนวนสายไฟสายเคเบิล  เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อีกมากมายทั้งผลิตภัณฑ์สำนักงาน บรรจุภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ

พีวีซีอันตรายอย่างไร

            พีวีซีเป็นพลาสติกที่มีพิษมากที่สุดในโลก สามารถก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทุกขั้นตอนในวงจรชีวิตของพีวีซี

            อันตรายตอนใช้ : สารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพพีวีซี เช่น สารพลาสติกไซเซอร์และสารอื่น ๆ ได้แก่ พาทาเลท สารแต่งสีซึ่งมีตะกั่วและแคดเมียม สารทำให้คงตัว (stabilizers) เช่น แบเรียม สามารถแพร่กระจายออกมาจากพีวีซีได้ ในกรณีที่ใช้ใส่หรือห่อหุ้มอาหารสารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในอาหารได้

            อันตรายตอนเผาทำลาย : เมื่อพีวีซีซึ่งมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบเผาไหม้จะให้ก๊าซที่เป็นกรด สารพิษไดออกซิน และสารออกาโนคลอรีนอื่น ๆ การเผาพีวีซี 1 กิโลกรัมจะให้ไดออกซินออกมามากเพียงพอที่จะทำให้สัตว์ทดลอง 50,000 ตัวเกิดมะเร็ง ในควันที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะมีไฮโดรเจนคลอไรด์ ซึ่งรวมตัวกับความชื้น (น้ำ) ได้เป็นกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีฤทธ์กัดกร่อนสูง

            อันตรายในขั้นตอนรีไซเคิลและผลิต : มีรายงานการศึกษาที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานในโรงผลิตไวนิลคลอไรด์และการเพิ่มขึ้นของโรคต่าง ๆ ได้แก่ มะเร็งตับชนิดที่พบไม่บ่อย มะเร็งสมอง มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งระบบน้ำเหลือง และตับแข็ง ในกระบวนการรีไซเคิลด้วยวิธีทางกล พบว่ามีปัญหาการแพร่กระจายของสารเติมแต่งที่ใส่เพื่อปรับคุณภาพพีวีซีได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม และสารกลุ่มพีซีบี นอกจากส่งผลลบต่อคนงานแล้วยังพบว่ามีไวนิลคลอไรด์ระบายสู่บรรยากาศโดยรอบโรงงานด้วย เช่นโรงงานในหลุยส์เซียน่า สหรัฐอเมริกา ที่พบว่ามีปริมาณไวนิลคลอไรด์ระบายสู่บรรยากาศสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศถึง 120 เท่า ในประเทศไทยเองมีโรงงานผลิตไวนิลคลอไรด์และพีวีซีตั้งอยู่ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง 5 แห่ง ผลการตรวจวัดโดยกรมควบคุมมลพิษระหว่างปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีสารไวนิลคลอไรด์ และเอทิลีนไดคลอไรด์ (สารตั้งต้นผลิตไวนิลคลอไรด์) เจือปนอยู่ในบรรยากาศบริเวณนั้นเช่นกัน

ทางเลือก

            ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้พีวีซีจำนวนมาก เช่น  วัสดุก่อสร้างอาคารที่ปราศจากพีวีซี เป็นต้น ดูรายละเอียดวัสดุทดแทนได้ที่ลิงก์ต่อไปนี้

           
http://www.healthybuilding.net/pvc/alternatives.html


ภาพจาก www.plastics-technology.com

ภาพจาก www.nstlearning.com

ภาพจาก www.inhabitat.com
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Barium
Chlorine
Ethylene
Lead
Vinyl chloride
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 1 โพลีสไตรีน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 3 โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 4 โพลีเอทิลีน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 5 โพลีคาร์บอเนต
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 6 โพลียูรีเทน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 7 โพลีโพรพิลีน
สาระเคมีภัณฑ์ - รหัสชนิดพลาสติก
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

คำที่ควรรู้               Vinyl chloride Monomer    ( VCM )                Ethylene dichloride    ( EDC )                Polyvinyl chloride    ( PVC )                PVC  Plasticizers                [ Dioctyl phthalate    ( DOP )    ;    Di(2-Ethylhexyl) phthalate    ( DEHP )    ;    Bis(2-Ethylhexyl) phthalate ]                [ Diisononyl phthalate    ( DINP ) ]                PVC  Stablizers                [ Dibutyltin bis (thioglycolate) ,  Calcium stearate ,  Magnesium stearate ]                Fillers                PVC  Solvents                [ Cyclohexanone ,  Tetrahydrofuran ,  N-Methylpyrrolidone ]

โดย:  นักเคมี  [15 ส.ค. 2551 09:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

http://www.geomembrane.com/techpapers/whatispvc.htm        What is PVC ?        
http://en.wikipedia.org/wiki/Polyvinyl_chloride        Polyvinyl chloride  ( PVC )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Plasticizer        Plasticizer        
http://en.wikipedia.org/wiki/Bis(2-ethylhexyl)_phthalate        Bis(2-ethylhexyl) phthalate    ( Plasticizer for PVC )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Butyl_benzyl_phthalate        Butyl benzyl phthalate    ( Plasticizer for PVC )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Diisobutyl_phthalate        Diisobutyl phthalate    ( Plasticizer for PVC )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Bis(2-ethylhexyl)adipate        Bis(2-ethylhexyl) adipate    ( DEHA )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Dibutyl_sebacate        Dibutyl sebacate    ( DBS )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_wrap        PVC Plastic Wrap

โดย:  นักเคมี  [2 ก.ย. 2551 11:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

น่าจะมีโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด นะค่ะ


โดย:  น้องน้อง  [20 ก.ย. 2551 23:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

http://en.wikipedia.org/wiki/PVC_recycling        PVC Recycling

โดย:  นักเคมี  [11 ม.ค. 2552 10:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

http://www.plasticsmythbuster.org/s_mythbuster/sec.asp?CID=1954&DID=8339          
( ตัวอย่าง ของ  ข่าวลือ  ข่าวหลอก    ที่ส่งต่อกันทางอินเตอร์เน็ต )        (  ข่าวลือ  ข่าวหลอก  เหล่านี้  มักถูกส่งมา ด้วย " ความหวังดี " )

โดย:  นักเคมี  [24 ม.ค. 2552 07:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

อยากทราบว่า ไวนิลที่ทำป้ายและหมึกที่ใช้ปริ๊นท์อันตรายแค่ไหนและปัจจุบันมีกฏหมายออกมาควบคุมธุรกิจประเภทนี้อย่างไรบ้างคะ  เห็นเปิดได้เปิดดีแต่สิ่งแวดล้อมก็แย่ลงๆอยากได้ความรู้ค่ะ ขอบคุณมาก

โดย:  natcha  [4 มิ.ย. 2552 19:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:14

อยากทราบว่า  ค่า ความ เข้มข้น ของ vcm ที่ปนเปื้อน ใน pvc มีค่ามาตราฐานเท่า ไหร่ ตาม กฎหมายอะคับ

โดย:  bum  [25 ม.ค. 2554 20:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:15

pvb คือไร หรอ มี www บอกให้ ขอข้อมูล หน่อย ครับ

โดย:  นัท  [13 มิ.ย. 2554 21:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:22

น่าจะมีวัสดุงานบ้าน   วัสดุงานครัว        วัสดุงานเกษตร    

โดย:  นิ้งชิ๊มิ๊  [16 ก.ย. 2554 13:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:23

วัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

โดย:  เอ  [16 ก.ย. 2554 14:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:28

เนื้อหาตรงประเด็น   ให้ความรู้รอบด้านและให้ในชีวิตประจำวันได้ดีมากกค่ะ


โดย:  view chanakan  [27 ก.ย. 2557 10:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:30

I need Chemical equation the Recycle Control Loop system for the Green factory especially, modification of the Plastic Polymer is burnt from the Flame. To change does an activation with the Hydrogen Atom at the Chimney of the Factory.


โดย:  Engineer  [31 พ.ค. 2558 16:07]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น