สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 4 โพลีเอทิลีน

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 21 มี.ค. 2551

            โพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE) เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสารตั้งต้นเอทิลีน (ผลผลิตจากปิโตรเลียม) มี 2 ชนิดคือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE)  และชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ชนิดความหนาแน่นสูงจะหนาแน่นกว่าและแข็งกว่าชนิดหนาแน่นต่ำ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1942 และถูกนำมาใช้ในกิจการในสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยใช้เคลือบสายเคเบิลใต้น้ำและต่อมาใช้เป็นวัสดุฉนวนสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ทางทหารที่สำคัญเช่น เรดาร์

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลีเอทิลีนมีอะไรบ้าง

            ชนิดความหนาแน่นต่ำ : ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้มีมากมาย ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ ถุงพลาสติกที่เรียกว่า ถุงก๊อบแก๊บ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร แผ่นเคลือบบอร์ดกระดาษ เคลือบสายเคเบิลและของเล่นเด็ก เป็นต้น

            ชนิดความหนาแน่นสูง : เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารทำละลายต่างๆ ทำให้มีการนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เช่น

            o  ภาชนะบรรจุต่าง ๆ เช่น ทัปเปอร์แวร์ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถังน้ำมันสำหรับยานพาหนะ 

            o  โต๊ะและเก้าอี้แบบพับได้

            o  ถุงพลาสติก

            o  ภาชนะใส่สารเคมีบางชนิด

            o  ท่อทนสารเคมี

            o  ท่อที่ใช้ในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน

            o  ท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ

            o  ท่อน้ำ

สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศในกระบวนการผลิตและรีไซเคิลโพลีเอทิลีน

            สารเคมีอันตรายจำนวนมากถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตโพลีเอทิลีน ได้แก่ เบนซีน โครเมียมออกไซด์ คิวมีนไฮเปอร์ออกไซด์ เทอร์-บิวทิล โฮโดรเพอร์ออกไซด์ และเอทิลีน ซึ่งสารตั้งที่ต้นตัวสำคัญ

            เบนซีน ใช้เป็นสารทำละลายในการผลิตโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ การสูดดมเบนซีนมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ และคลื่นไส้ เป็นต้น

            บิวทิล โฮโดรเพอร์ออกไซด์ ใช้เป็นสารที่ทำให้โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำชนิดสายเป็นเส้นตรงเกิดการจับตัวเป็นโพลีเมอร์ การได้รับสัมผัสสารนี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้เช่น เกิดลักษณะไหม้ที่ผิว ไอ จาม หายในสั้น ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน  และมีผลการทดลองในสัตว์ที่ชี้บ่งว่าสารนี้ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์

            คิวมีนไฮโดรเพอร์ออกไซด์ ใช้ในกระบวนการจับตัวเป็นโพลีเมอร์ของโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ สารนี้จะแสดงอันตรายเฉียบพลันหากกลืนกินเข้าไป หายใจเข้าไป หรือซึมผ่านผิวหนัง 

            โครเมียม (6) ออกไซด์ ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการจับตัวเป็นโพลีเมอร์ของโพลีเอทิลีนทั้งชนิดความหนาแน่นสูงและต่ำ สารนี้มีผลการทดลองในสัตว์ที่บ่งบอกว่าเกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็งและก่อการกลายพันธุ์ การทำงานกับสารนี้เป็นเวลานานส่งผลต่อตับและระบบประสาทอย่างรุนแรง

ผลกระทบต่อสุขภาพของโพลีเอทิลีนของผู้บริโภค

            ผู้ที่ใช้ถุงพลาสติกที่เป็นสีต่าง ๆ อาจได้รับอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้ และหากสัมผัสกับสารเหล่านี้อาจเกิดอันตรายได้ ในกรณีตะกั่วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง หมดสติ ทางเดินหายใจขัดข้อง หัวใจวาย หรืออาจตายได้ ส่วนแคดเมียมมีผลทำลายเซลและเนื้อเยื่อของไตทำให้เกิดภาวะไตอักเสบรุนแรง

ข้อควรระวัง

            o  การเผาโพลีเอทิลีนก่อให้เกิดสารอะซิทัลดีไฮด์และฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งทั้งสองสารนี้ต้องสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง
 
ถิติที่น่าสนใจ

            o  นกทะเลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องตายจากการกินถุงพลาสติกปีละประมาณ 1 พันล้านตัว


เอกสารอ้างอิง :

Chintan Environmental Research and Action Group, 2007. Plastic: A treat to mankind, National Book Trust, India


http://plastics.dow.com/plastics/ap/prod/polyethylene/ldpe.htm

 

http://www.sigmaaldrich.com/cgi-bin/hsrun/Suite7/Suite/HAHTpage/Suite.HsSigmaAdvancedSearch.formAction

http://environmental-activism.suite101.com/article.cfm/say_no_to_plastic_bags


ภาพจาก plastics.sabic.eu

ภาพจาก www.smithsofthedean.co.uk

ภาพจาก www.perfectpolymers.com

ภาพจาก www.global-b2b-network.com
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Acetaldehyde
Benzene
Ethylene
Formaldehyde
Lead
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 1 โพลีสไตรีน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 2 โพลีไวนิลคลอไรด์
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 3 โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 5 โพลีคาร์บอเนต
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 6 โพลียูรีเทน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 7 โพลีโพรพิลีน
สาระเคมีภัณฑ์ - รหัสชนิดพลาสติก
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ได้ความรู้มากเลยคับ

โดย:  เมืองครับ  [17 มิ.ย. 2551 22:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

คำที่ควรรู้                Ethylene                Polyethylene    ( PE )                High Density Polyethylene    ( HDPE )    Recycle Code 2                Low Density Polyethylene    ( LDPE )    Recycle Code 4                Linear Low Density Polyethylene    ( LLDPE )

โดย:  นักเคมี  [17 ส.ค. 2551 12:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

http://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene        Polyethylene        
http://en.wikipedia.org/wiki/High_density_polyethylene        High Density Polyethylene    ( HDPE )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Low_density_polyethylene        Low Density Polyethylene    ( LDPE )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Linear_low_density_polyethylene        Linear Low Density Polyethylene    ( LLDPE )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra_high_molecular_weight_polyethylene        Ultra High Molecular Weight Polyethylene    ( UHMWPE )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Cross-linked_polyethylene        Cross-Linked Polyethylene    ( XLPE )

โดย:  นักเคมี  [31 ส.ค. 2551 01:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

http://www.plasticsmythbuster.org/s_mythbuster/sec.asp?CID=1954&DID=8339          
( ตัวอย่าง ของ  ข่าวลือ  ข่าวหลอก    ที่ส่งต่อกันทางอินเตอร์เน็ต )        (  ข่าวลือ  ข่าวหลอก  เหล่านี้  มักถูกส่งมา ด้วย " ความหวังดี " )

โดย:  นักเคมี  [24 ม.ค. 2552 07:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ได้รู้เรื่องพลาสติกค่ะ

โดย:  เมย์  [6 ส.ค. 2552 14:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

สุดยอดโพลีเมอร์

โดย:  ก๊อต  [5 ก.พ. 2553 18:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

อยากทราบว่า อุปกรณ์ที่ผลิตจากโพลีเอดเทอลีน เช่น โฟมว่ายน้ำ มีอันตรายต่อผู้ใช้ไหมคะ

แล้วพนักงานผู้ผลิตโพมที่ทำจากโพลีเอดเทอรีน เมื่อสูบดมเข้าไปบ่อย ส่งผลต่อร่างกายไหมคะ

ขอบคุณคะ

โดย:  ออย  [26 ก.พ. 2554 02:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

อยากทราบว่าพลาสติกเกรดไหนครับที่ใช้ขึ้นรูปเป็นหลอดดูด

โดย:  อุย  [16 มิ.ย. 2554 17:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

อยากทราบว่าถังพลาสติกซัก 1000 ลิตร ที่เราใส่น้ำตามบ้าน ถังสีน้ำเงิน
ทำจาก HDPE  หรือ LDPE ครับ
และสามารถใส่ สารเคมี พวก กลดเลือ หรือโซดาไฟ ได้ไหมครับ
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

โดย:  ผู้รู้น้อย  [7 ก.ค. 2554 23:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:10

ไม่ทราบว่าสามารถบอกกระบวนการผลิต โพลิเอทีลีนแบบคร่าวๆได้มั้ยค่ะ  เนื่องจากหนูจะนำข้อมูลไปศึกษาและทำรายงานนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ

โดย:  Tarn  [18 ก.ค. 2554 15:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:11

หน้ากากใช้สำหรับป้องกันต้องเป็นประเภทไหนครับ    
สำหรับสารโพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE)

โดย:  safety-market.com  [9 ส.ค. 2554 14:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:16

—โพลิโพรพิลีน (Polypropylene : PP)  เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าโพลิเอทิลีน ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติก  ถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน หลอดดูดพลาสติก เป็นต้น

โดย:  พระมหาธนายุทธ ไชยสิทธิ์ (IEA # 7)  [13 ม.ค. 2555 19:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:17

ไขข้อสงสัยประโยชน์และสาระน่ารู้เรื่องพลาสติก

พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติบางชนิด  เมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว   บางชนิดแข็งตัวถาวร  เช่น  ไนลอน  ยางเทียม  ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์

พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซตติงพลาสติก

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด  เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่างเช่น   พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีสมบัติพิเศษคือ เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้   ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก ได้แก่
—โพลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แต่อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร เป็นพลาสติกที่นำมาใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น ท่อน้ำ ถัง ถุง ขวด แท่นรองรับสินค้า
โพลีเอทิลีน (Polyethylene - PE) เป็นสารที่ข้นขาวโปร่งแสงซึ่งได้จากเอทิลีน (CH2=CH2) โพลีเอทิลีนมีการผลิตขึ้นทั้งในรูปที่มีความหนาแน่นต่ำและสูง
<!--[if !supportLists]-->•        <!--[endif]-->โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีความหนาแน่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.91 ถึง 0.93 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ LDPE มีแบ็กโบนคาร์บอนที่มีไซด์กรุ๊ปของคาร์บอนสี่ถึงหกอะตอมติดกับแบ็กโบนหลัก อย่างสุ่มๆ LDPE มีการใช้อย่างกว้างขวางเพราะว่าไม่แพง ยืดหยุ่นได้ ทนทานมากและทนต่อสารเคมี LDPE ถูกขึ้นรูปเป็นขวด หีบห่ออาหาร และของเล่น
<!--[if !supportLists]-->•        <!--[endif]-->โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) มีความหนาแน่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.95 ถึง 0.97 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ HDPE จะมีแบ็กโบนคาร์บอนที่ยาวมากแต่ไม่มีไซด์กรุ๊ป ผลก็คือ โมเลกุลเหล่านี้เชื่อมกันอย่างแน่นหนามากขึ้น HDPE แข็งแรงกว่า แข็งกว่า และโปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ HDPE ใช้ทำถุง ถังน้ำมันรถ หีบห่อและท่อน้ำ
—โพลิโพรพิลีน (Polypropylene : PP)  เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าโพลิเอทิลีน ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติก  ถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน หลอดดูดพลาสติก เป็นต้น
—โพลิสไตรีน (Polystyrene : PS) มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
โพลีสไตรีน (Polystyrene : PS) เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม   ในการผลิตโพลีสไตรีนยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมด้วยได้แก่ เบนซีน เอทิลีน และบิวทาไดอีน
โพลีสไตรีนเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือหลอมเป็นของเหลวได้ โดยที่อุณหภูมิห้องจะอยู่ในสถานะของแข็ง แต่จะหลอมละลายเมื่อทำให้ร้อนและแข็งตัวเมื่อเย็นลง โพลีสไตรีนแข็งที่บริสุทธิ์จะไม่มีสี ใส แต่สามารถทำเป็นสีต่าง ๆได้ และยืดหยุ่นได้จำกัด

โพลีสไตรีนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า expanded polystyrene (EPS) เป็นชนิดที่ได้จากการผสมโพลีสไตรีนร้อยละ 90-95 กับสารทำให้ขยายตัว (ที่ใช้กันมากคือเพนเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก่อนใช้ ซีเอฟซี ซึ่งเป็นสารทำลายชั้นโอโซน) ร้อยละ 5-10 พลาสติกที่เป็นของแข็งถูกทำให้เป็นโฟมโดยการใช้ความร้อน (มักเป็นไอน้ำ) โพลีสไตรีนอีกชนิดหนึ่งคือ Extruded polystyrene (XPS) มีชื่อทางการค้าที่แพร่หลายคือ Styrofoam เป็นชนิดที่มีการเติมอากาศไว้ในช่องว่างตามเนื้อโฟมทำให้มีค่าการนำความร้อนต่ำ ใช้ในงานก่อสร้าง และใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในอาคาร และยังมีชนิดที่เป็นแผ่นเรียกว่า Polystyrene Paper Foam (PSP) ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เช่นกล่องหรือถาดใส่อาหาร  
—SAN (styrene-acrylonitrile) เป็นพลาสติกโปร่งใส ใช้ผลิตชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
—ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene) สมบัติคล้ายโพลิสไตรีน แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด เป็นต้น
—โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride : PVC) ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร แต่ป้องกันไขมันได้ดีมีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ใช้ทำแผ่นพลาสติก ห่อเนยแข็ง ทำแผ่นแลมิเนตชั้นในของถุงพลาสติก
โพลิไวนิลคลอไรด์ , Polyvinyl chloride, (IUPAC Polychloroethene) มีชื่อย่อที่ใช้กันทั่วไปว่า พีวีซี (PVC) เป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่งในด้านการค้า โพลิไวนิลคลอไรด์ เป็นสินค้าที่มีคุณค่ามากในอุตสาหกรรมเคมี มากกว่า50 % ของโพลิไวนิลคลอไรด์ที่ผลิตได้ทั่วโลกถูกใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร ทั้งนี้เพราะโพลิไวนิลคลอไรด์มีราคาที่ถูก คงทนและง่ายต่อการขึ้นรูป ในช่วงเวลาไม่นานมานี้พีวีซีถูกนำมาใช้เพื่อแทนที่ไม้, คอนกรีต และดินด้วย อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตโพลิไวนิลคลอไรด์ ยังส่งผลในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์
โพลิไวนิลคลอไรด์ถูกประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ในรูปแบบของพลาสติกแข็ง เช่น ขอบกันกระแทก, ตัวบัตรต่างๆ , ท่อ และในปัจจุบันได้มีการนำโพลิไวนิลคลอไรด์มาปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมือนกับไม้เพื่อใช้แทนไม้จากธรรมชาติอย่างแพร่หลาย
—ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนตสำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ
—โพลิเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (Terylene: polyethylene terephthalate) เหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร
—โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด แต่ไม่ทนด่าง เป็นรอยหรือคราบอาหาร จับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก
เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของโพลิเมอร์ (cross linking among polymer chains) เหตุนี้หลังจากพลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย เทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่

—เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) มีสมบัติทางเคมีทนแรงดันได้ 7,000-135,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงอัดได้ 25,000-50,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงกระแทกได้ 0.25-0.35 ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ถึง 140 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก เมลามีนใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิด และนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม ข้อเสียคือ น้ำส้มสายชูจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่าย ทำให้เกิดรอยด่าง แต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก

—ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) มีความต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมัน แต่พลาสติกอาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์  พลาสติกชนิดนี้ใช้ทำฝาจุก ขวดและหม้อ

—อีพ็อกซี (epoxy) ใช้เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือน และท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก ใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์ ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ และท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นกำบังนิวตรอน ซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เคลือบผิวถนน เพื่อกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง ใช้เป็นสารในการทำสีของแก้ว

—โพลิเอสเตอร์ (polyester) กลุ่มของโพลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ (-O•CO-) ในหน่วยซ้ำเป็นโพลิเมอร์ที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง เป็นต้น ตัวอย่างโพลิเมอร์ในกลุ่มนี้ เช่น โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต โพลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต และโพลิเมอร์ผลึกเหลวบางชนิด

—ยูรีเทน (urethane) ชื่อเรียกทั่วไปของเอทิลคาร์บาเมต มีสูตรทางเคมีคือ NH2COOC2H5

—โพลิยูรีเทน (polyurethane) โพลิเมอร์ประกอบด้วยหมู่ยูรีเทน (–NH•CO•O-) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างไดไอโซยาเนต (di-isocyanates) กับ ไดออล(diols) หรือไทรออล (triols) ที่เหมาะสม ใช้เป็นกาว และน้ำมันชักเงา พลาสติกและยาง ชื่อย่อคือ PU

แหล่งที่มา  :  http://th.wikipedia.org




โดย:  Phamaha Thanayut Chaiyasit (IEA # 7 KKU)  [13 ม.ค. 2555 19:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:18

You've cptuared this perfectly. Thanks for taking the time!

โดย:  Auth  [24 ส.ค. 2555 15:59]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น