สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 3 โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 17 มี.ค. 2551

            พลาสติกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (Polyethylene Terephthalate)หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “เพท” (PET) เป็นพลาสติกเทอร์โมพลาสติก (หลอมที่อุณหภูมิสูงและแข็งตัวเมื่อเย็น) ที่ผลิตขึ้นได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารเอทิลีนไกลคอลและไดเมทิลเทอพาทาเลต หรือระหว่างสารเอทิลีนไกลคอลและกรดเทอพาทาลิก แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ไดเมทิลเทอพาทาเลต ในการทดลองกับสัตว์พบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อการกลายพันธุ์ และเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ สารเร่งปฏิกิริยาเคมีเช่น แอนติโมนี่ไตรออกไซด์ หรือแอนติโมนี่ไตรอะซิเตท

พลาสติกเพทนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

            กลุ่มที่มีเนื้อใส (A-PET) และกลุ่มที่เป็นผลึกสีขาว (C-PET) เพทมีคุณสมบัติที่สามารถทำเป็นพลาสติกที่มีลักษณะกึ่งแข็งไปจนถึงเป็นของแข็งได้โดยการปรับความหนา และมีน้ำหนักเบา กันก๊าซและแอลกอฮอล์ได้ดี 

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเพทมีอะไรบ้าง

            ในช่วงทศวรรษ 1940 เพทถูกนำไปใช้ในการผลิตเส้นใยและแผ่นฟิล์ม ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 นี่เองจึงมีการนำเพทมาใช้เป็นขวดบรรจุเครื่องดื่มอัดลม จากนั้นความต้องการใช้เพททำภาชนะบรรจุก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในส่วนของแผ่นฟิล์มก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพโดยการเติมโลหะ เช่น อะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติความทึบแสง สะท้อนแสง ฉนวนไฟฟ้า ซึ่งนำมาใช้ใส่อาหาร เช่นถุงขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ เคลือบผิวกระดาษ ฉนวนกันไฟฟ้า นอกจากนี้เพทยังใช้ทำเป็นแผ่นผ้าฉนวนกันความร้อนที่ใช้คลุมภายนอกยานสำรวจวิจัยที่ประกอบในอวกาศ

เพทอันตรายอย่างไร

            เพทแพร่สารอะซิทัลดีไฮด์เข้าไปปนเปื้อนผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ทำจากเพท เช่น ขวดโซดา ขวดน้ำ ขวดน้ำมันสำหรับทำอาหาร เป็นต้น อะซีทัลดีไฮด์เป็นสารที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริการะบุว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในคนรวมทั้งอาจเป็นส่งผลลบต่อพัฒนาการทางสมอง

ข้อควรระวัง

            มีผลการศึกษาน้ำแร่ที่บรรจุในขวดเพทพบว่ามีสิ่งชี้บ่งของความเป็นพิษเกิดขึ้นภายหลังจากบรรจุน้ำลงขวดแล้ว 8 สัปดาห์ ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำที่บรรจุในขวดเพทนานเกินกว่า 8 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเก็บที่อุณหภูมิใดก็ตาม
เอกสารอ้างอิง :

Chintan Environmental Research and Action Group, 2007. Plastic: A treat to mankind, National Book Trust, India


http://nexant.ecnext.com/coms2/gi_0255-144/Polyethylene-Terephthalate-PET.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene_terephthalate

http://www.mindfully.org/Plastic/Polyethylene/PET-Mineral-Water1dec00.htm

 



ขวดเพทบรรจุเครื่องดื่ม ภาพจาก (www.english-shop.de)

ขวดเพทที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภาพจาก (www.logoplastic.ch)

ขวดเพทที่อัดเป็นก้อนเพื่อส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล ภาพจาก (www.spra.com.au)
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Acetaldehyde
Antimony(III) oxide
Dimethyl terephthalate
Ethylene glycol
Terephthalic acid
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 1 โพลีสไตรีน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 2 โพลีไวนิลคลอไรด์
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 4 โพลีเอทิลีน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 5 โพลีคาร์บอเนต
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 6 โพลียูรีเทน
สาระเคมีภัณฑ์ - พลาสติกในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 7 โพลีโพรพิลีน
สาระเคมีภัณฑ์ - รหัสชนิดพลาสติก
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ที่มา:
http://www.debsirin.or.th/forums/showthread.php?t=1001

(( ข้อมูล ที่มีผู้เผยแพร่ และ ส่งต่อกัน ทาง อินเตอร์เน็ต ))        

อ้างถึง:
หลาย ๆ คนไม่ทราบถึงอันตรายจากสารพิษที่มีสาเหตุมาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ        
คุณหลายๆ คนอาจยังมีพฤติกรรมการใช้ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ของขวดน้ำแร่ ( เช่น Xnnnnn, Xbbbbbbb, Xaaaaaaa, Xkkkkk, Xeeee, และ อื่นๆ )
โดยการเก็บขวดเหล่านั้นไว้ในรถ หรือที่ทำงาน ซึ่งนั่นไม่ใช้ความคิดที่ดีเลย มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นใน ดูไบ เมื่อเด็กหญิงอายุ 12 ปี เสียชีวิตหลังจากการใช้ขวดน้ำแร่ใส่น้ำไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานถึง 16 เดือน        
ซึ่งพลาสติกที่เรียกว่า Polyethyleneterephthalate หรือ PET บรรจุสสารที่เป็นตัวการสำคัญที่เรียกว่า diethyl hydroxylamine or DEHA ขวดเหล่านี้จะมีความปลอดภัยในการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้น ก็ต้องไม่นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ถือว่านานที่สุด และต้องเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อนด้วยเช่นกัน การล้างขวดน้ำซ้ำๆและล้างโดยการเขย่าขวดนั้น        
เป็นสาเหตุของการเสื่อมตัวของพลาสติกและเกิดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่จะเข้าไปรวมตัวกับน้ำที่คุณใส่ไว้ในขวดสำหรับดื่ม ทางที่ดีคุณควรจัดหาขวดสำหรับใส่น้ำที่สามารถใช้บรรจุน้ำได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ สิ่งที่ต้องใช้อย่างประหยัด แต่อยากให้นึกถึงครอบครัวและตัวของคุณเอง


(( ข้อมูล และ รายละเอียดที่ได้จากเว็บของกระทรวงสาธารณะสุข ))        

อ้างถึง:
ข้อมูลเรื่องอันตรายจากการใช้ขวดพลาสติก PET บรรจุน้ำดื่มซ้ำ
จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อมาเป็นทอดๆ ที่ระบุว่า ขวดพลาสติก PET ( Polyethylene terephthalate ) บรรจุน้ำดื่ม หากมีการนำมาใช้ซ้ำหลายๆครั้งจะเกิดอันตรายจากสารพิษ Diethyl Hydroxylamine  ( DEHA ) โดยก่อให้เกิดมะเร็ง นั้น        
ข้อมูลในจดหมายมีข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องหลายประการ เช่น
1. DEHA ไม่ได้เป็นอักษรย่อของสาร Diethyl Hydroxylamine
แต่เป็นอักษรย่อมาจาก Diethylhexyl adipate ซึ่งเป็นตัว  Plasticizer ที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพลาสติกบางอย่าง แต่ตัว Diethyl Hydroxylamine นั้นเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เป็นสารป้องกันสีซีดจางในรูปถ่าย ใช้ร่วมในการบำบัดน้ำเพื่อป้องกันการผุกร่อน และเป็นวัตถุดิบใน Silicone sealant และมีกลิ่นฉุนรุนแรงคล้ายแอมโมเนีย ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET แต่หากมีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และปนเปื้อนสู่น้ำดื่มก็น่าจะสามารถทราบได้ทันทีจากกลิ่น        
2. สาร Diethylhexyl adipate  ( DEHA )  ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และไม่ได้เป็นวัตถุดิบ หรือผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต  ( By - Product )  หรือสารที่ได้จากการย่อยสลายของขวด  PET แต่อย่างใด แต่มีการใช้ในการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกจำพวก  PVC  ( Polyvinyl Chloride ) ที่ใช้ในการหุ้มห่ออาหาร ซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้บริโภคอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ และเนยแข็ง  แต่เป็นไปในปริมาณที่น้อยมาก จนไม่สามารถก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้เลย        
3. สาร Diethylhexyl adipate  ( DEHA ) เป็นสารที่ International Agency for Research on Cancer  ( IARC ) จัดอยู่ในประเภทสารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์  ( Not classified as to its carcinogenicity to humans )        
4. ทางอีเมลดังกล่าวได้ระบุว่าน้ำดื่มที่บรรจุในขวด PET
มีโอกาสปนเปื้อนด้วย DEHA นั้นอาจมีสาเหตุมาจากการพบ DEHA ในน้ำดื่มก็ได้        
จากการทดลองของ Dr. M. Kohler  ( Swiss Federal Laboratories for MaterialsTesting and Research, June 2003 )  พบว่ามีการปนเปื้อนของ DEHA อยู่ในน้ำดื่มบรรจุขวดจริง แต่การปนเปื้อนดังกล่าวนั้นจะเป็นการปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มเอง เนื่องจากพบ DEHA ในน้ำดื่มที่บรรจุขวดแก้วด้วย อย่างไรก็ตามการปนเปื้อนของ DEHA ในน้ำดื่มบรรจุขวด PET ที่ทดสอบโดย
Dr. M. Kohler นั้น  พบว่าเป็นการปนเปื้อนที่ต่ำกว่าระดับที่ WHO กำหนดไว้มาก  ( พบการปนเปื้อนในช่วง 0.010 - 0.0046 ไมโครกรัมต่อลิตร ในขณะที่ WHO กำหนดให้น้ำดื่มพบ DEHA ได้ไม่เกิน 80 ไมโครกรัมต่อลิตร )        
5. อันตรายจากการเก็บขวดน้ำดื่มที่เปิดดื่มไปแล้วบ้างไว้ในรถหรือการใช้ขวดพลาสติก PET ซ้ำนั้น อาจเกิดอันตรายจากการที่จุลินทรีย์ในน้ำดื่มเจริญเติบโตขึ้น        

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่า ขวด PET นั้นผลิตขึ้นมาสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่มเพียงครั้งเดียว  ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นำมาทำความสะอาดใหม่โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้วนำมาใช้ซ้ำ  ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่อาจมีสารบางอย่างจากขวด PET หลุดมาเจือปนกับอาหาร  
ขวด PET ที่ใช้แล้วควรนำไปผ่านกระบวนการ Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ แม้ว่าการใช้ซ้ำนั้นจะไม่มีอันตรายจากการที่สารในขวด PET หลุดออกมาก็ตาม  แต่ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ        


(( ข้อมูลจากต่างประเทศ http://www.napcor.com/faqs.htm ))        

อ้างถึง:
Is it safe to refill a PET bottle?

The PET bottle itself poses no danger when refilled. PET is an inert plastic and does not leach harmful materials into into its contents -- either when a beverage is stored unopened, or when bottles are refilled or frozen. The PET container has been safely used for 20 years and has undergone rigorous testing under FDA guidelines to ensure its safety as a food and beverage container suitable for storage and reuse.
Opened bottles can harbor bacteria, however, as will mugs glasses or any other beverage container. PET bottles are no more likely to foster bacteria than any other packaging or drink container. Ideally, all drinking containers -- including PET bottles -- should be washed with hot, soapy water and dried thoroughly prior to reuse.
For additional information about plastics rumors, visit www.PlasticsMythBuster.org.  


ที่มา:
http://www.debsirin.or.th/forums/showthread.php?t=1001

*******************************************************


" กรมวิทย์ฯยันขวดเพทใช้ใหม่ได้ แต่ต้องหมั่นล้าง-ตรวจคุณภาพ "    

กรณีที่มีผลงานวิจัยจากต่างประเทศระบุว่า การนำขวดพลาสติคใส หรือขวดเพท  ( PET : Polyethylene Terephthlalate ) ที่บรรจุน้ำอัดลม และน้ำผลไม้ กลับมาใช้ใหม่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพได้ หากขวดมีลักษณะบุบ มีรอยร้าว แตก หรือถูกความร้อนทำให้ขวดเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม โดยสารเคมีจากเนื้อพลาสติคอาจปนเปื้อนกับอาหาร หรือน้ำที่บรรจุในขวด และหากได้รับสารพิษสะสมจำนวนมากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้นนั้น        

นายประกาย บริบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  ( สธ. )  เปิดเผยว่า ผลการวิจัยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความโกลาหลไปทั่วโลก จนกระทั่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องทำวิจัยศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเรียกเก็บขวดเพทจากทั่วประเทศยุโรปมาศึกษา แต่ผลการศึกษาไม่พบว่าขวดเพทที่มีรอยบุบ ร้าว จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปนเปื้อนแต่อย่างใด        

" นักวิจัยจึงได้สอบถามกลับไปยังมหาวิทยาลัยที่ได้เคยศึกษาเรื่องนี้ไว้เดิม โดยได้มีการตรวจสอบใหม่อีกครั้ง จึงพบว่า ขั้นตอนที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีเกิดจากความผิดพลาดระหว่างที่ปฏิบัติการในห้องทดลอง "  นายประกายกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลการทดลองยืนยันว่า ขวดเพทปลอดภัยไม่มีสารเคมีปนเปื้อนก็ตาม แต่การนำกลับมาใช้ใหม่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด ต้องล้างทำความสะอาดขวดก่อนนำมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะภายในขวดที่มีร่องเป็นลวดลายอาจทำความสะอาดไม่ทั่วถึง และเมื่อใช้ไปนานๆ ต้องหมั่นสังเกตว่าสีของขวดเปลี่ยนไปหรือไม่ หากมีคราบสีเหลือง หรือขวดไม่ใสเหมือนเดิมให้ทิ้งทันที เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้        

" กรณีที่ขวดบุบ มีรอยร้าว หรือแตก แม้จะไม่มีสารเคมีปนเปื้อนแต่ก็จะเป็นช่องว่างทำให้เชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียต่างๆ เข้าไปเกาะตามรอยร้าวนั้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่รอยเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคในการล้างทำความสะอาด ทำให้ล้างคราบสกปรกออกไม่หมด ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย หากเห็นว่าขวดที่ใช้มีรอยร้าว หรือบุบ ก็ให้ทิ้งทันที ส่วนขวดพลาสติคขุ่นไม่ควรนำมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด "  นายประกายกล่าว

นอกจากนี้ นายประกายกล่าวอีกว่า ยังมีบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมที่ต้องระมัดระวัง ร้านอาหารต่างๆ ไม่ควรนำโฟมมาใส่อาหารที่มีความร้อนและอาหารมัน เพราะจะทำให้โฟมละลายสารเคมีและปนเปื้อนในอาหารได้ หากสารเคมีสะสมในร่างกายมาก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรจะใช้ถุงพลาสติค ถุงร้อน หรือใบตอง รองทั้งด้านบนและด้านล่างกล่องโฟม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารสัมผัสกับโฟมโดยตรง        

สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
19/พ.ย/2550

ที่มา        
http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=10621

โดย:  นักเคมี  [10 ส.ค. 2551 13:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

( ต่อจากคำตอบ ที่ 1 )                ขอขอบคุณ และ แสดงความชื่นชม ต่อ เว็บไซต์ debsirin  ที่ช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลาง        

Polyethylene terephthalate    ( PET )    เป็น  พอลิเมอร์  ในกลุ่ม Polyester   ซึ่งใช้ในการผลิตเส้นด้ายและผ้า ด้วย    ถ้ามีการปล่อยข่าวอีก  อาจวิตกจริตจนเลือกหาเสื้อผ้าใส่ไม่ได้

โดย:  นักเคมี  [12 ส.ค. 2551 09:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

คำที่ควรรู้                p-Xylene                Ethylene oxide                Purified Terephthalic acid    ( PTA )                Ethylene glycol    ( EG )                Dimethylterephthalate    ( DMT )                Polyethylene terephthalate    ( PET )                Polyester                Titanium dioxide

โดย:  นักเคมี  [15 ส.ค. 2551 14:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

http://en.wikipedia.org/wiki/Recycling_of_PET_Bottles        Recycling of PET Bottles

โดย:  นักเคมี  [25 ส.ค. 2551 11:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

http://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene_terephthalate        Polyethylene terephthalate        
http://www.plasticsinfo.org/s_plasticsinfo/sec_generic.asp?cid=657&did=2605        
http://www.designinsite.dk/htmsider/m0011.htm        
http://www.mindfully.org/Plastic/Polyethylene/Polyethylene-Terephthalate-Sheftel.htm        
http://inventors.about.com/library/inventors/blpolyester.htm        
http://www.icis.com/v2/chemicals/9076423/polyethylene-terephthalate.html

โดย:  นักเคมี  [31 ส.ค. 2551 23:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

http://www.plasticsmythbuster.org/s_mythbuster/sec.asp?CID=1954&DID=8339          
( ตัวอย่าง ของ  ข่าวลือ  ข่าวหลอก    ที่ส่งต่อกันทางอินเตอร์เน็ต )        (  ข่าวลือ  ข่าวหลอก  เหล่านี้  มักถูกส่งมา ด้วย " ความหวังดี " )        


โดย:  นักเคมี  [24 ม.ค. 2552 06:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

มีใครพอช่วยแนะนำได้ใหมครับว่า พลาสติกที่ใช้บรรจุแอลกอฮอล์ มีอะไรบ้าง และมีกระบวนการวิธีผลิตอย่างไร และพลาสติกนั้นทำละลายกับสารเคมีตัวใหนบ้างครับ

โดย:  สมชาย  [6 ส.ค. 2552 15:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:97

kredyt hipoteczny

โดย:  Unmakeplaumma kredyt studencki w pko bp  [17 พ.ค. 2555 20:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:116

Ce forum est merveilleux. Il ya toujours toutes les infos idéale dans les idées de mes doigts. Merci et continuez votre excellent travail!

โดย:  Martha1977  [2 ก.ย. 2555 20:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:119

ผม อยากจะส่งคำเล็ก ๆ ที่จะบอกว่า ขอบคุณคุณ ยอดเยี่ยม สำหรับจุดที่คุณกำลังเขียน www.chemtrack.org ค้นหา อินเทอร์เน็ตของฉัน ใช้เวลานาน ในตอนท้าย ได้รับการยกย่องด้วย ความคิดที่ดี มากที่จะ แลกเปลี่ยน กับเพื่อน ของฉัน ผม ด่วน ที่เราหลายคน ผู้เข้าชมเว็บไซต์ จริงจะ endowed มากที่จะ มีชีวิตอยู่ใน ชุมชน ที่โดดเด่นกับบุคคล ที่น่ารักมากมาย ให้กับ จุด ที่มีประโยชน์ ผมรู้สึก โชคดีที่ ได้ใช้ หน้าเว็บของคุณ และหวังว่าจะ จำนวนมากดังนั้น ช่วงเวลาที่ สนุกมากขึ้น อ่านที่นี่ ขอบคุณมากอีกครั้งสำหรับ สิ่งต่างๆมากมาย ขอแสดงความนับถือ ที่ดีที่สุด!

โดย:  Deborah91  [8 ก.ย. 2555 20:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:123

ที่คุณทำ จุด บางรุ่นให้อัตรา ครั้งแรกที่มี ผม ได้รับการยกย่อง บนเว็บสำหรับ ปัญหาและ ประชาชนส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ จะไปด้วยกัน ด้วยกัน กับเว็บไซต์ของคุณ see you soon

โดย:  Paintbank  [11 ก.ย. 2555 15:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:128

ผมคิดว่า เจ้าของ เว็บไซต์อื่น ๆ ควรจะ เป็นแบบจำลอง www.chemtrack.orgมาก ที่สะอาดและ ผู้ใช้ ที่เป็นมิตร ที่ดีเยี่ยม สไตล์ และการออกแบบ ให้อยู่คนเดียว เนื้อหา คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญใน หัวข้อนี้! โชคดี!

โดย:  Lashell6  [21 ก.ย. 2555 19:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:131

นี้เป็นเช่นทรัพยากร ที่ดีที่ คุณมีให้ และคุณให้ มันอยู่ฟรี ผมสนุกกับการ ที่ได้เห็นว่า เว็บไซต์ เข้าใจคุณค่า ของการให้ทรัพยากร ที่สำคัญสำหรับ ฟรี แท้จริงฉัน รักการอ่าน ข้อความของคุณ เมื่อ www.chemtrack.org ขอบคุณ โชคดี!

โดย:  T.Condos  [22 ก.ย. 2555 14:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:256

ไม่มีอะไรกับ บทความ แต่ ผมไม่เห็นด้วย กับคู่ของ จุดที่ extenct บาง ฉันอาจ ชนกลุ่มน้อยแม้ว่า ครับ ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน บน www.chemtrack.org ขอแสดงความนับถือ

โดย:  Chelsey02  [30 ต.ค. 2555 05:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:327

อยากทราบว่าสารละลายอะไรที่สามารถทำให้PET ละลายเป็นSolvent ได้

โดย:  Tosapon Pakdeengam  [13 พ.ย. 2555 02:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:634

่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ 3ไ ่ใ๐เ๒ แๅ๑๏๋เ๒ํ๎ 777, เ็เ๐๒ํ๛ๅ ่ใ๐๛ ่ใ๐เ๒ ๑ๅ้๗เ๑ แๅ๑๏๋เ๒ํ๎ แๅ็ ๐ๅใ่๑๒๐เ๖่่.

โดย:  casino21  [3 พ.ค. 2557 16:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:638

๕๎๒ๅ๋ โๅํๅ๖่ ใ๐เํไ ๊เ็่ํ๎ ๋๎โๅ๗ ๅ๙ๅ ่ใ๐เ๒ โ ่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ เไ์่๐เ๋.

โดย:  slot40  [4 พ.ค. 2557 08:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:681

่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ ใๅ์่ํเ๒๎๐ ่ใ๐เ๒ แๅ๑๏๋เ๒ํ๎ ่ ๊เ็่ํ๎ แเํเํเ๑ เ๐๒ๅ์๎โ๑๊!

โดย:  jackpot26  [12 มิ.ย. 2557 12:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:685

๎ํ๋เ้ํ ๏๎๊ๅ๐ ๑๎โๅ๒๛ ่๋่ ่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ ๗ๅ๐ๅ็ ่ํ๒ๅ๐ํๅ๒ ๕เแเ๐๎โ๑๊.

โดย:  jackpot15  [13 มิ.ย. 2557 06:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:689

่ใ๐๎โ๎้ เโ๒๎์เ๒ ๕เ๋๊, ๋่แ๎ ่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ ๎แๅ็ํ๊่ ๎ํ๋เ้ํ แๅ๑๏๋เ๒ํ๎!

โดย:  azart38  [13 มิ.ย. 2557 23:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:691

เ็เ๐๒ํ๛ๅ ่ใ๐๛ ่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ ่ใ๐เ๒ แๅ๑๏๋เ๒ํ๎ แๅ็ ๐ๅใ่๑๒๐เ๖่่ ์ๅใเ ไๆๅ๊, ๋่แ๎ ๎ํ๋เ้ํ ๊เ็่ํ๎ golden!

โดย:  roulette4  [30 มิ.ย. 2557 09:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:696

๋๓๗๘่้ ๎ํ๋เ้ํ ๏๎๊ๅ๐, เ ๒เ๊ๆๅ ่ใ๐เ๒ โ ๏๎๊ๅ๐ ํเ ไๅํใ่ ๎๒็๛โ๛ ๔๎๐๓์.

โดย:  kazino3  [1 ก.ค. 2557 05:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:701

๊เ็่ํ๎ ๊๐่๑๒เ๋๋ ๑๋๎๒ ่ ่ํ๒ๅ๐ํๅ๒ ๊เ็่ํ๎ ๐๓๋ๅ๒๊เ แ่ใ เ็เ๐๒!

โดย:  jackpot74  [2 ก.ค. 2557 03:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:704

๊เ็่ํ๎ ๐๓๋ๅ๒๊เ wmr ๎๒ 10 ๊๎๏, ่ใ๐๎โ๛ๅ เโ๒๎์เ๒๛ crazy monkey island.

โดย:  kazino52  [2 ก.ค. 2557 16:35]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น