สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

อียูห้ามวางจำหน่ายหลอดไฟไส้แบบเก่าแล้ว

ผู้เขียน: สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
วันที่: 9 ก.ย. 2552

            ตามที่สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้รายงานเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เรื่องสหภาพยุโรปประกาศข้อกำหนด eco-design สำหรับหลอดไฟนั้น บัดนี้ อียูได้เริ่มวางจำหน่ายหลอดไฟไส้ร้อนแบบเก่า (old incandescent light bulbs) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2009 ส่วนการห้ามวางจำหน่ายหลอดไฟแบบเก่ารุ่นต่ำกว่า 100 วัตต์จะค่อยๆ ทะยอยตามมาในปีต่อๆ ไป และจะต้องหมดไปจากชั้นวางจำหน่ายสินค้าตามร้านค้าในยุโรปภายในวันที่ 1 กันยายน 2012

            การดำเนินการดังกล่าวเป็นระบบที่ผู้เชี่ยวชาญในอียูได้ตกลงร่วมกันเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในการผลักดันให้ผู้บริโภคหันไปใช้หลอดไฟเทคโนโลยีใหม่ อย่างเช่น หลอดประหยัดไฟแบบขด (compact fluorescent lights หรือ CFL) ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 80% ของหลอดไฟแบบเก่าซึ่งเปลืองพลังงานมากสุดที่ใช้กันตามบ้านเรือน การเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้ package การดำเนินการของอียูในเรื่องสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วย  โดยขณะนี้ประมาณ 85% ของหลอดไฟตามครัวเรือนยังเป็นแบบที่กินไฟมากเกินไป

            สมาคมผู้บริโภคยุโรป (BEUC) เห็นว่าการห้ามวางจำหน่ายหลอดไฟแบบเก่า ถือเป็นมาตรการที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่ผู้บริโภค คาดว่าการใช้หลอดประหยัดไฟแทนที่หลอดไฟไส้ร้อนแบบเก่าจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของครัวเรือนลงโดยเฉลี่ยถึง 166 ยูโรต่อปี และถึงแม้หลอดประหยัดไฟจะมีราคาแพงแต่ก็มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบดั้งเดิม 8-15 เท่า  อย่างไรก็ดี มีข้อกังวลในเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้บริโภคบางรายจากระดับสารปรอทที่อยู่ในหลอดไฟแบบใหม่ และทางกลุ่มได้เรียกร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรปให้จัดให้ผู้บริโภคบางรายที่ยังจำเป็นต้องใช้หลอดไฟแบบเก่าด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสามารถซื้อหาสินค้านี้ได้ จนกว่าจะมีเทคโนโลยีทดแทนที่เหมาะสม (เพดานปัจจุบันกำหนดให้หลอดไฟมีสารปรอทไม่เกิน 5 มิลลิกรัม ซึ่งเทคโนโลยีที่ดีที่สุดจะมีสารปรอทในหลอดไฟเพียง 1-2 มิลลิกรัม)

            ด้าน ANEC ซึ่งเป็นตัวแทนผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งในประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าของอียู ให้ข้อคิดเห็นต่อประเด็นการรีไซเคิลหลอดไฟแบบเก่าล้าสมัยว่าควรทำให้ง่ายที่สุด และควรเปิดให้ผู้บริโภคคืนหลอดไฟใช้แล้วแก่ผู้จำหน่ายได้ด้วย เพื่อให้การรีไซเคิลมีประสิทธิภาพ 
 
            อนึ่ง อออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ ban การใช้หลอดไฟไส้ร้อนแบบเก่าที่ไร้ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานภายในปี 2010 ตามด้วยแคนาดาที่วางเป้าการ ban ภายในปี 2012  อาร์เจนติน่าภายในปี 2010  อียูจะทะยอย ban ในปี 2009-2012 สหรัฐอเมริกา ทะยอย ban ในปี 2012-2014 อย่างไรก็ดี การทดแทนโดยหลอดประหยัดไฟ (หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์) มีสารปรอทซึ่งเป็นสารพิษที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้เมื่อหลอดไฟแตก รวมทั้งข้อกังวลต่อการรีไซเคิล ซึ่งอาจเป็นประเด็นต่อไปในอีก 4-5 ปีข้างหน้า 

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต www.thaieurope.net

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
Mercury
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - การปรับแก้ข้อบังคับอียู เรื่องสารทำลายชั้นโอโซน
บอกข่าวเล่าความ - รายงานความเคลื่อนไหวกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมสหภาพยุโรป ส.ค.2552
บอกข่าวเล่าความ - EU เรียกร้องให้แบนหลอดไส้ภายใน 2 ปี
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น