สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ชะตากรรมนกเงือก ผู้สร้างภูมิคุ้มกันให้ป่า

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
วันที่: 18 ต.ค. 2552

            ความสำคัญของผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่  แห่งเทือกเขาพนมดงรัก  นอกจากเป็นพื้นที่บ่มเพาะความหลากหลายทางชีวภาพ  ที่มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์ระดับสากลสูง  ด้วยพันธุ์พืชและสัตว์ป่านานาพันธุ์กว่า  3,200  ชนิด  จนคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์กรสหประชาชาติ  (UNESCO)  ประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย  ในปี พ.ศ.2548  แล้ว  นัยยะสำคัญอีกประการหนึ่งของผืนป่ามรดกโลกผืนนี้  ยังเป็นแหล่งพำนักอาศัยให้กับสัตว์ป่าหายากอย่าง นกเงือก (Hornbill)  สัญลักษณ์แห่งป่าดงดิบอันอุดมสมบูรณ์  ที่มีการสืบสายพันธุ์และอยู่รอดมายาวนานกว่า 50 ล้านปี

            โดยปัจจุบัน  ประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด  13  ชนิด  ได้แก่  นกแก๊ก,  นกเงือกกรามช้าง,  นกเงือกกรามช้างปากเรียบ,  นกเงือกปากย่น,  นกเงือกคอแดง,  นกเงือกสีน้ำตาล  (Tickell's),  นกเงือกสีน้ำตาล  (Austen's),  นกเงือกหัวหงอก,  นกเงือกหัวแรด,   นกชนหิน,  นกเงือกปากดำหรือกาเขา  และนกเงือกดำ  จาก  55  สายพันธุ์ทั่วโลก   ที่แพร่กระจายอยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย

            จากการเข้าร่วมกิจกรรม ปตท.สผ.รักษ์นกเงือก ในโครงการ  ปตท.สผ.รักษ์มรดกไทย  มรดกโลก  ที่  บริษัท  ปทต.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม  จำกัด  (มหาชน)  พาพนักงานและผู้สนใจระบบนิเวศน์ธรรมชาติกว่า  130  ชีวิต  ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของนกเงือก  4  ชนิด  ได้แก่  นกกก  (นกกาฮัง  หรือ  นกกาวะก็เรียก),  นกแก๊ก  (นกแกง),  นกเงือกกรามช้าง  (นกกู๋กี๋)  และนกเงือกสีน้ำตาล  และร่วมทำภาระกิจรักษ์นกเงือก  หารายได้สนับสนุน  โครงการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์นกเงือกในพื้นที่มรดกโลก  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ของ   ศ.ดร.พิไล   พูลสวัสดิ์   และคณะ  เพื่ออนุรักษ์ให้นกยักษ์โบราณล้ำค่าอยู่คู่ผืนป่ามรดกโลก   ณ  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  เมื่อเร็วๆ  นี้

            ข้อมูลจากงานวิจัยของ  ศ.ดร.พิไล  บ่งชี้ว่าสถานการณ์ของนกเงือกในปัจจุบัน  บางชนิดอยู่ในขั้นวิกฤติ  เพราะมีจำนวนประชากรไม่ถึงเกณฑ์ที่จะสืบดำรงเผ่าพันธุ์ได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งถ้าไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้  ภายภาคหน้าอาจไม่เหลือนกยักษ์โบราณให้ลูกหลานได้เห็น  อีกทั้งความสมบูรณ์ของผืนป่าก็จะหดหายไม่บริบูรณ์ดังเดิม  เนื่องจากนกเงือกและป่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งซึ่งกันและกัน  ในแบบป่าสร้างนกเงือก  และนกเงือกก็ช่วยสร้างป่า

            ศ.ดร.พิไล   นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านปักษีวิทยา  นิเวศสัตว์ป่า  และปรสิตวิทยา   ม.มหิดล  วัย  62  ปี  นักวิชาการหญิงคนแรกของประเทศ  ที่มีความคิดมุ่งมั่นในการศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์นกเงือกให้คงอยู่คู่ผืนป่าไทยมากว่า  30  ปี  จนได้สมญานามว่าเป็น  "มารดาแห่งนกเงือก"  เล่าว่า  ก่อนที่ตนและคณะจะลงมือวิจัยศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือกอย่างจริงจัง  โดยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ม.มหิดล  ม.เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย  และได้รับทุนสนันสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  เป็นช่วงที่นกเงือกในประเทศไทยอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  ทั้งจากปัจจัยการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำเกษตรเชิงเดี่ยว  หรือนำไม้ใหญ่ไปขาย  ทำให้นกเงือกขนาดใหญ่บางชนิด  เช่น  นกกก  ไม่มีต้นไม้ใหญ่ใช้ทำโพรงรัง  และอีกหลายชนิดไม่มีอาหารอันเป็นผลผลิตจากป่ากินเพื่อดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

            หรือแม้แต่การยิงและตัดหัวนกเงือกตัวผู้ไปขาย  อย่างกรณีนกชนหินที่มีโหนกตัน  (Hornbill  ivory)  ลักษณะคล้ายงาช้าง  ผู้คนนิยมนำไปแกะสลักทำเครื่องประดับ  โดยสมัยราชวงศ์หมิงของจีนถึงกับเรียกโหนกตันนี้ว่าหยกทองคำ  ส่วนสาเหตุที่ทำให้นกเงือกถูกล่าได้ง่าย  ก็เพราะมีนิสัยรักสงบชอบเกาะกิ่งไม้อยู่นิ่งๆ  ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ประชากรนกเงือกในประเทศไทยลดลงอย่างน่าใจหาย  อาจารย์พิไลกล่าว  และว่า  ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ทำให้นกเงือกใกล้จะสูญพันธุ์นั้น  ยังมีสาเหตุมาจากธรรมชาติของมันเองด้วย  ปกตินกเงือกมีนิสัยในการทำรังผิดแปลกไปจากนกอื่นใดในโลก  คือเมื่อถึงฤดูกาลทำรัง  นกคู่ผัวเมียจะพากันออกหารัง  ได้แก่  โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่  เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง  จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรงด้วยวัสดุต่างๆ  เช่น  ดิน  เปลือกไม้  ที่ผสมกับมูลของตัวเอง  และขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก  เหลือเพียงช่องแคบๆ  ให้ตัวผู้ดูแลโดยการส่งอาหารผ่านทางปากโพรง

            แค่เพียง  3  วัน  หากตัวผู้ไม่นำอาหารมาป้อนด้วยสาเหตุใดๆ  ก็ตาม  ตัวเมียก็จะกะเทาะปากโพรงเพื่อออกหากินแล้วทิ้งรังปล่อยให้ลูกนกเสียชีวิต  หรือบางทีทั้งแม่ทั้งลูกก็เสียชีวิตภายในรังเนื่องจากตัวเมียอยู่ในสภาพอ่อนแอ  นอกจากนี้  นกเงือกยังเป็นสัตว์โรแมนติกคือใช้ชีวิตแบบผัวเดียวเมียเดียว  หากตัวใดตัวหนึ่งตายไป  อีกตัวที่เหลือจะไม่จับคู่กับตัวอื่นต่อ  และอยู่ไปจนกว่าจะตาย

            ศ.ดร.พิไล  กล่าวต่อด้วยว่า  ทุกวันนี้สถานการณ์นกเงือกดีขึ้นพอสมควร  เนื่องจาก  ทางคณะวิจัยฯ  ได้พยายามนำองค์ความรู้พื้นฐานทุกเรื่องเกี่ยวกับนกเงือก  ที่ได้ทำการวิจัยตลอด  30  ปี  มาอนุรักษ์นกเงือกใน  4  ผืนป่า  ได้แก่  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่บริเวณลุ่มน้ำลำตะคองตอนบน  จ.นครราชสีมา,  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  จ.อุทัยธานี,  อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี  จ.นราธิวาส  ยะลา  ปัตตานี  และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา  จ.นราธิวาส  จนได้จำนวนลูกนกเพิ่มมากขึ้น  อย่างที่เขาใหญ่ที่ทำกันมานาน  ได้ลูกนกเงือกรวม  4  สายพันธุ์  กว่า  1,500  ตัว  ส่วนเทือกเขาบูโดทำมา  20  ปี  ได้นกเงือกเพิ่มขึ้น  450  ตัว  ใน  6  สายพันธุ์

            แต่บางพื้นที่ก็ยังน่าเป็นห่วงและถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ  ได้แก่  นกเงือกปากย่นที่ป่าฮาลาบาลา  จ.ยะลา  นกเงือกดำที่ป่าพรุโต๊ะแดง  จ.นราธิวาส  และนกหัวชนหินแห่งเทือกเขาบูโดที่คาดว่ามีประชากรนกถึงไม่ถึง  100  ตัว  ส่วนนกเงือกคอแดงที่ห้วยขาแข้งก็ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน  ซึ่งการดำรงไว้ไม่ให้สูญเผ่าพันธุ์ของมัน  จะต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่า  500  ตัวต่อชนิด

            พื้นที่ที่มีปัญหาวิกฤตินกเงือกในข้างต้น  อาจารย์พิไลกล่าวว่า  สาเหตุหลักมาจากการตัดไม้ทำลายป่า  ซึ่งส่งผลให้นกเงือกไม่มีต้นไม้มากพอจะทำโพรงรังเพื่อการขยายพันธุ์  โดยเฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยต้นไม้ขนาดใหญ่  มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า  120  ซม.  และมีความสูงของชั้นเรือนยอดไม่น้อยกว่า  30  เมตรขึ้นไป  โดยต้นไม้ใหญ่เหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า   100  ปี  ซึ่งปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที  แถมระยะเวลาที่นกเงือกใช้ทำโพรงรังก็อยู่ได้ไม่ถึง  10  ปี  จากนั้นต้องไปเสาะต้นไม้ใหม่ใช้ทำโพรงรังต่อไป

       &

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ไฟไหม้ป่าอุทยานแห่งชาติ ผลพวงจากโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - โลกร้อนทำป่าเสื่อมโทรม ต้นไม้อาจปล่อยคาร์บอนแทนการดูดซับ
บอกข่าวเล่าความ - เดินทางไกลไปปลูกป่า ปล่อยคาร์บอนมากกว่าต้นไม้สามารถดูดคืน
บอกข่าวเล่าความ - โครงการจอมป่า ความสำเร็จบทแรกมูลนิธิสืบฯ
บอกข่าวเล่าความ - เรื่องยุ่งๆ ของป่า กับประโยชน์หลากหลายมิติ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

This is a really intelligent way to awnser the question.

โดย:  Alara  [22 ก.พ. 2555 02:47]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น