สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

กระดาษซับคาร์บอน สู้วิกฤตโลกร้อน

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
วันที่: 8 มิ.ย. 2553

            ลองจินตนาการถึงก้อนกระดาษเล็กๆ คลี่ออกมาได้กว้างเท่าสนามฟุตบอล โดยพื้นที่มหาศาลของกระดาษดังกล่าวถูกดัดแปลงให้มีคุณสมบัติดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่เรื่องภัยโลกร้อนทุกวันนี้นั่นคือ คาร์บอนไดออกไซด์ และด้วยเทคโนโลยีการผลิตยุคใหม่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการออกแบบโครงสร้างโมเลกุลรูปแบบจำเพาะลงบนกระดาษ ซึ่งดักจับเอาก๊าซดังกล่าวไว้ได้เหมือนกันการซับน้ำด้วยผ้าแห้ง

            คณะนักเคมีในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกากำลังแข่งขันกันค้นคว้าและผลิตกระดาษที่มีโครงสร้างจำเพาะดังกล่าวทำจากส่วนผสมระหว่างโลหะกับสารอินทรีย์ โดยจะนำไปผสมผสานกับอุตสาหกรรมการผลิตไส้กรองอากาศเสีย แต่เนื่องด้วยรูปแบบของโครงสร้างโมเลกุลเชิงซ้อนจำเพาะดังกล่าวสามารถมีได้หลากหลายรูปแบบมากจึงจำเป็นต้องอาศัยการคิดค้นเทคนิคการผลิตแบบใหม่ที่จะทำให้ผลิตได้รวดเร็วขึ้นหลายร้อยเท่า

            เจฟฟรีย์ ลอง ผู้นำคณะนักเคมีประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ได้นำหุ่นยนต์เข้ามาผสมผสานในขั้นตอนการผลิตทำให้สามารถสร้างโครงสร้างจำเพาะได้หลายร้อยรูปแบบในคราวเดียว จากนั้นนำไปฉายรังสีเอกซเรย์ และเข้าเครื่องแม็กเนติก เรโซแนนซ์ สเป็กโตรสโคป เพื่อตรวจสอบว่า วัสดุดังกล่าวมีโครงสร้างเพาะที่มีขนาดของรูเหมาะสมกับการดักจับโมเลกุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ก่อนจะถูกนำไปทดสอบด้วยเครื่องพ่นไอเสียกำลังสูงเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซดังกล่าว

            เจฟฟรีย์ ลอง คาดหวังว่า จะสามารถค้นพบรูปแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป รวมทั้งไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมซ้ำเติมเข้าไปอีก ซึ่งการค้นคว้านี้จะสำเร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากนี้ไป

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2553

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - นักวิทยาศาสตร์หวังพึ่งสาหร่ายช่วยโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - ธนาคารฟืน ลดโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - Eco copy : เครื่องถ่ายเอกสารลดโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - นักวิทย์ระบุมูลปลาวาฬ ช่วยลดโลกร้อน
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น