สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

เลิกโทษวัวเป็นตัวเหตุโลกร้อนเสียที

ผู้เขียน: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่: 21 ต.ค. 2553

            ถึงเวลาที่มนุษย์เราต้องยืดอกรับผิดชอบแบบแมนๆ และเลิกโทษวัวเป็นต้นเหตุของโลกร้อนกันได้แล้ว ทั้งนี้ เป็นการศึกษาที่นำโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซัส (University of Arkansas) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกน (Michigan Technological University) หรือมิชิแกนเทค (Michigan Tech) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ร่วมกันวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ของการขนส่งนม 1 แกลลอนจากฟาร์มมาถึงโต๊ะอาหาร และพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมนมในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นเพียง 2% ของการปล่อยก๊าซเรือนระจกในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
       
            ไซน์เดลี ระบุว่า ในโครงการซึ่งได้รับหน้าที่มาจากศูนย์นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกานี้ ทีมวิจัยได้อาศัยข้อมูลเมื่อปี 2007-2008 ของฟาร์มโคนมมากกว่า 500 แห่ง และผู้แปรรูปน้ำนมอีกกว่า 50 ราย รวมถึงข้อมูลการขนส่งนม 210,000 เที่ยวจากฟาร์มถึงโรงงานผลิต โดยทีมมหาวิทยาลัยอาร์คันซัสศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฟาร์มวัวจนถึงนมสดที่อยู่ในชามซีเรียล ส่วนทีมมิชิแกนเทคศึกษาในระดับต้นน้ำ
       
            เราสนใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์นี้เป็นตัวการหลักในการปล่อยคาร์บอน เรายังดูโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในมิชิแกน ซึ่งธัญพืชต่างๆ ผสมเข้ากับสารเติมแต่งอีกกว่า 100 ชนิด ศ. เดวิด ชอนนาร์ด (David Shonnard) วิศวกรเคมีและผู้อำนวยการสถาบันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Sustainable Futures Institute) กล่าว โดยทีมของเขาที่มีทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและเอกได้ใช้ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากตัวแปรที่หลากหลาย ตั้งแต่การใช้ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืช ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและขนส่ง
       
            ทีมของ ศ. เดวิด ชอนนาร์ด สรุปว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมทั้งหมดนั้นสัมพันธ์กับน้ำนมทั้งหมดที่บริโภคในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประมาณ 35 ล้านตันในปี 2007 ขณะที่การปลดปล่อยนั้นต่ำกว่าบางรายงานที่ผ่านมา แต่ในการศึกษาครั้งนี้สรุปด้วยว่ายังมีช่องทางในการปรับปรุงเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนของฟาร์มโคนมและธุรกิจอื่นๆ โดยการจัดการปุ๋ยคอก การผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์และก๊าซมีเทนจากลำไส้วัวนั้นถือเป็นนวัตกรรมของฟาร์ม และการบริหารจัดการพลังงานยังเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมในกระบวนการผลิต การขนและภาคการขายปลีก
       
            นอกจากศึกษาการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมนมแล้ว ทางกลุ่มของศ. เดวิด ชอนนอาร์ด ยังได้ประเด็นศึกษาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนมด้วย โดยพวกเขากำลังศึกษาการเพิ่มจำนวนสาหร่ายในน้ำซึ่งเกิดขึ้น เมื่อสารอาหารอย่างปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีไหลสู่ผิวน้ำ ทำให้สาหร่ายเพิ่มจำนวนมากผิดปกติแล้วดึงเอาออกไปในน้ำไปหมดจนทำให้ปลาตาย และทีมวิจัยยังศึกษาการบริโภคน้ำและการใช้พื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมนมด้วย ตอนนี้การปลูกพืชเพิ่มผลผลิตมากขึ้นตลอดเวลา และเราอาจใช้พื้นที่น้อยลงเพื่อตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น ศ. เดวิด ชอนนาร์ด กล่าวปิดท้าย

ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2553

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
Methane
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ปลูกพืชเชื้อเพลิงชีวภาพ กลับทำให้โลกร้อนขึ้น
บอกข่าวเล่าความ - นักวิทยาศาสตร์หวังพึ่งสาหร่ายช่วยโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - จุลินทรีย์ ตัวช่วยต้นไม้สู้โลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - นักวิทย์ระบุมูลปลาวาฬ ช่วยลดโลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - กระดาษซับคาร์บอน สู้วิกฤตโลกร้อน
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น