สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

พลังงานจากเซลล์สุริยะ (Solar Photovoltaic) เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

ผู้เขียน: กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย
วันที่: 8 ก.พ. 2554

            การลงทุนทั่วโลกในเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กำลังจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 35,000 - 40,000 ล้านยูโรในปัจจุบันเป็นกว่า 70,000 ล้านยูโรภายในปี 2558 จากรายงานผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในวันนี้ของสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานเซลล์สุริยะแห่งสหภาพยุโรป หรือ EPIA และกรีนพีซสากลระบุว่า ตัวเลขการลงทุนที่ประเมินได้เฉพาะในสหภาพยุโรปนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 25,000 - 30,000 ล้านยูโรเป็น 35,000 ล้านยูโรภายในปี 2558

            รายงานฉบับนี้ที่ระบุถึงแนวโน้มการตลาดของการลงทุนในพลังงานเซลล์สุริยะทั่วโลกมีชื่อว่า Solar Generation 6 (1) คาดการณ์ว่าพลังงานจากเซลล์สุริยะ หรือ พีวี จะตอบสนองความต้องการพลังงานของยุโรปได้คิดเป็นร้อยละ 12 ภายในปี 2563 และร้อยละ 9 ของความต้องการพลังงานทั่วโลกภายในปี 2573

            เป้าหมายของเราคือการทำให้เทคโนโลยีพลังงานเซลล์สุริยะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายในระดับราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค (2) พลังงานจากเซลล์สุริยะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิจัยของเราพบว่าเทคโนโลยีนี้มีส่วนช่วยสร้างงานถึง 35 - 50 ตำแหน่งต่อปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกๆ 1 ตัน และยังช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานสำรองด้วยการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานมายังยุโรปื เสวน เทสเก ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานอาวุโสของกรีนพีซสากล กล่าว

            ตั้งแต่ปี 2548 ราคาของพีวีลดลงมาถึงร้อยละ 40 และภายในปี 2558 คาดว่าราคาของระบบพีวีจะลดลงเพิ่มอีกร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับระดับปัจจุบัน  ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นระบบพีวีก็จะสามารถแข่งขันกับราคาไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนในหลายประเทศของสหภาพยุโรปภายในอีกห้าปีข้างหน้าได้

            หลายปีมาแล้วที่เทคโนโลยีพลังงานเซลล์สุริยะได้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดค่าใช้จ่าย และทุกวันนี้ราคาถูกกำหนดโดยตัวเลขของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดอยู่ที่ 40,000 เมกะวัตต์ในปี 2553 ตัวเลขนี้เองที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เราตั้งใจที่จะทำให้ตัวเลขการแข่งขันด้านราคาโดดเด่นขึ้นมา และ ขณะเดียวกันทาง EPIA ก็จะจัดเตรียมแผนงานที่จำเป็นสำหรับทุกๆ ประเทศที่ประกอบด้วยแนวทางที่ชัดเจนของกลไกการตลาดเพื่อให้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิดได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน อิงมาร์ วิลไฮล์ม ประธานของ EPIA กล่าวเสริม

            รายงานฉบับนี้ประเมินว่าศักยภาพของพลังงานจากเซลล์สุริยะทั่วโลกจะเติบโตจากกว่า 36 กิกะวัตต์ในช่วงปลายปี 2553 ไปเกือบถึง 180 กิกะวัตต์ภายในปี 2558  และขีดความสามารถของพีวีในสหภาพยุโรปน่าจะเพิ่มขึ้นจากกว่า 28 เมกะวัตต์ในปี 2553 เป็นเกือบถึง 100 กิกะวัตต์ภายในปี 2558 และยังมีแนวโน้มในระดับโลกที่จะพุ่งขึ้นไปถึง 350 กิกะวัตต์ภายในปี 2563 อีกด้วยและหากเป็นไปตามนี้ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกได้มากถึง 1,400 ล้านตัน และ 220 ล้านตันในสหภาพยุโรปทุกๆ ปี (3)

            นอกเหนือไปจากแง่ของผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว รายงานฉบับนี้ยังชี้ว่าพลังงานจากเซลล์สุริยะนั้นเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนในยุคที่ผู้คนพากันพูดถึงความมั่นคงด้านพลังงานและราคาของพลังงานฟอสซิลที่ผันผวนและคาดเดาไม่ได้ประกอบกับเงื่อนไขมากมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรมพีวีของสหภาพยุโรปที่ปัจจุบันมีการจ้างงานกว่า 300,000 คนจะสามารถสร้างงานได้กว่า 600,000 ตำแหน่งภายในปี 2558 และ สามารถเพิ่มได้ถึง 1.6 ล้านตำแหน่งภายในปี 2563 หากการสนับสนุนด้านนโยบายยังดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

            รายงาน Solar Generation 6 ยังชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพีวีที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของสหภาพยุโรปที่กำหนดจะใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20 และตั้งเป้าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ร้อยละ 20 ดังนั้นหากอ้างอิงจากศักยภาพด้านการเติบโตของพีวีแล้ว ทางสหภาพยุโรปสามารถที่จะเพิ่มเป้าหมายในการตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 20 ภายในปี 2563 เป็นกว่าร้อยละ 30 ได้อย่างสบายๆ

            รายงาน Solar Generation 6 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.greenpeace.org/international/en/publications/reports/solar-generation-6/ หรือ  www.epia.org/publications

รายละเอียดเพิ่มเติม :

(1) Solar Generation 6 เป็นผลงานริเริ่มร่วมกันของสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานจากเซลล์สุริยะแห่งสหภาพยุโรป (EPIA) และกรีนพีซ  ชื่อของรายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อนิยามความสำคัญของพลังงานจากเซลล์สุริยะที่จะมีบทบาทต่อชีวิตของประชากรที่กำเนิดขึ้นในวันนี้และจะพัฒนาเป็นกลุ่มผู้บริโภคพลังงานที่สำคัญต่อไปในอนาคต

(2) กรีนพีซสากลและอุตสาหกรรมพลังงานจากเซลล์สุริยะแห่งสหภาพยุโรปได้กระตุ้นให้รัฐบาลประเทศต่างๆ เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนด้วยแผนงานสนับสนุนต่างๆ ตัวอย่างการสนับสนุนที่ประสบผลอย่างดี ได้แก่ Feed - in Tariff ซึ่งรับประกันราคาที่แน่นอนของกระแสไฟจากพีวีทุกๆ กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบไฟฟ้า ทั้งนี้กว่า 50 ประเทศ รัฐฯ และจังหวัดทั่วโลกได้นำใช้ Feed - in Policy บ้างแล้ว และในประเทศเหล่านี้ผู้บริโภคสามารถจัดการกับระบบพลังงานเซลล์สุริยะบนหลังคาบ้านของพวกเขาด้วยวิถีทางที่ประหยัดและประสบผลเป็นอย่างดี

(3) จากภาพรวมทั้งหมดมีการประเมินกันว่าผลผลิตทุกๆ กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะนั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยประมาณ 0.6 กิโลกรัม และในปี 2568 - 2593 คาดกันว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ร้อยละ 5 รวมทั้งอายุการใช้งานของพีวีที่ยาวนานถึง 20 ปี  ภาพรวมนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองทาง ได้แก่ ตลาดหลักทั่วโลก 4 กลุ่ม คือ (การใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค การเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า อุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ห่างไกล และพื้นที่ชนบทกันดารที่ไม่มีระบบไฟฟ้าใช้) และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกที่ระบุไว้ในแผนงานของสำนักงานพลังงานสากลเกี่ยวกับความต้องการไฟฟ้าในอนาคต  ซึ่งภูมิภาคเหล่านี้ได้แก่ OECD ยุโรป OECD  แปซิฟิก OECD อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ จีน ตะวันออกกลาง แอฟริกา และส่วนอื่นๆ ของโลก

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - อินโดนีเซียจับมือเกาหลีใต้ร่วมกันพัฒนาพลังงานสาหร่ายทะเล
บอกข่าวเล่าความ - นิวซีแลนด์เปิดศูนย์วิจัยเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร
บอกข่าวเล่าความ - สหรัฐจะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ให้ได้ 10% ภายใน 20 ปี
บอกข่าวเล่าความ - เวิลด์แบงค์จี้เอเชีย ทุ่มลงทุนพลังงานทดแทน
บอกข่าวเล่าความ - ปาล์มน้ำมัน... ทางเลือกพลังงานทดแทน
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดีมากค่ะ      เซลล์สุริยะมีประโยชน์มากเลย ค่ะ

โดย:  เเตงกวา  [7 ธ.ค. 2554 14:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ดีมากค่ะ

โดย:  พลอย  [22 ม.ค. 2557 15:58]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น