สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ข้าวจีนเกือบ 10 % ปนเปื้อนแคดเมียมเกินมาตรฐาน

ผู้เขียน: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่: 17 ก.พ. 2554

            นิตยสารนิวเซนจูรี่ ฉบับสุดสัปดาห์ (12 - 13 กุมภาพันธ์ 2554) อ้างรายงานผลการสำรวจ ระบุว่า ข้าวจำนวนมากของจีนปนเปื้อนโลหะหนักอย่างเช่นแคดเมียมมาหลายปีแล้ว ซึ่งปริมาณสารเพียงน้อยนิดก็สามารถเป็นอันตรายอย่างมหันต์กับมนุษย์ได้แล้ว
       
            รายงานฯ ระบุว่า ในช่วงที่จีนเพิ่มขยายอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดด กิจกรรมจำพวกการถลุงเหมืองถ่านหิน ก็โผล่พรึบขึ้นแทบทุกที่บนแดนมังกร ที่สำคัญกระบวนการดังกล่าวได้ปล่อยสารเคมีเข้าไปในสิ่งแวดล้อมด้วย ได้แก่ สารแคดเมียม สารหนู ปรอท และโลหะหนักอันตรายอื่นๆ อีกหลายชนิด  โลหะหนักอันตรายพวกนี้ได้ฟุ้งกระจายไปในอากาศ และไหลลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลให้เกิดมลภาวะไปทั่ว ดังนั้นการปนเปื้อนในอาหารจึงเกิดขึ้นมากว่าปีแล้ว ทั้งนี้ มีข้อมูลของนักวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ที่เปิดเผยเรื่องราวหมู่บ้านชนบททางตอนใต้ของจีน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เหมืองถ่านหินและเขตอุตสาหกรรม พบว่าชาวบ้านมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกเป็นจำนวนมาก
       
            ข้าวเป็นธัญญาหารหลักที่ชาวจีนบริโภค ผลวิจัยชี้ว่า ข้าวมีแนวโน้มดูดซึมสารแคดเมียมเข้าไปอย่างมาก ซึ่งสารแคดเมียมจะค่อยๆ รั่วซึมมากับน้ำชลประทานบริเวณใกล้เหมืองถ่านหิน นอกจากนั้น น้ำยังพัดพาสารตะกั่ว ดีบุก และทองแดง มาด้วย ไม่ว่ากระทรวงเกษตร หรือนักวิชาการจะลงไปวิจัย ผลก็ออกมาเหมือนกันคือ เกือบร้อยละ 10 ของข้าวจีนมีระดับแคดเมียมเกินมาตรฐาน
       
            อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาว่า หากบริโภคข้าวปนเปื้อนเหล่านี้เข้าไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ จีนปลูกข้าวมากในแถบตอนใต้ ซึ่งข้าวเป็นธัญพืชหลักของจีน โดยจีนสามารถผลิตข้าวได้ปีละ 200 ล้านตัน ปัญหาด้านความปลอดภัยด้านอาหารในจีน เป็นปัญหาหลักมาช้านาน โดยเฉพาะปัญหาอาหารขาดคุณภาพถือว่าเป็นเรื่องปรกติ ปัญหาอาหารปนเปื้อนในจีนนอกจากข้าวแล้ว ยังมีการปนเปื้อนอื่น เช่น ไวน์แดง เห็ดฟอกขาว เต้าหู้เทียม และการนำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำอีก
       
            การขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในรอบ 30 ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แซงหน้าญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2553 แต่เมื่อเราศึกษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างถี่ถ้วนจะพบว่า มาตรการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของจีนนั้นหละหลวมมาก จนกระทั่งจีนได้กลายเป็นประเทศที่มีปัญหามลภาวะทางน้ำและอากาศแย่สุดในโลก

ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Arsenic
Lead
Mercury
Tin
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - คนจีนกว่า 70 คน ล้มป่วยหลังบริโภคเครื่องในหมู
บอกข่าวเล่าความ - เด็กแรกเกิดผิดปกติในจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
บอกข่าวเล่าความ - แม่น้ำฮวงโหในจีน ปนเปื้อนมลพิษอย่างหนัก
บอกข่าวเล่าความ - สารตะกั่วพ่นพิษใส่ชาวจีนอีกเกือบ 200 คน
บอกข่าวเล่าความ - มลพิษในบ้าน ตัวการทำเด็กจีนตายปีละ 2 ล้านคน
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น