สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

การทำน้ำสะอาดใช้ช่วงน้ำท่วม

ผู้เขียน: ขวัญนภัส สรโชติ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย
วันที่: 30 ต.ค. 2554

         ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้อาจเกิดการขาดแคลน “น้ำสะอาด” สำหรับใช้ทำความสะอาดร่างกาย หรือ ทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งหากน้ำที่นำมาใช้มีความสะอาดไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ การใช้สารเคมีบำบัดน้ำ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประสบภัยสามารถทำได้ด้วยตนเอง หากขาดแคลนน้ำประปาในการใช้ และสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ  คลอรีน (Chlorine)

         คลอรีน (Chlorine) มีหลายรูปแบบ ได้แก่  ก๊าซ คลอรีน ( Chlorine Gas )  และ สารประกอบซึ่งเมื่อละลายน้ำหรือทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้คลอรีน  ( ซึ่งเรียกกันง่ายๆ ตามสถานะของสารประกอบที่เป็นของแข็งหรือสารละลายในน้ำ ว่า  คลอรีนผง คลอรีนน้ำ

          คลอรีน เป็นสารเคมีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการบำบัดน้ำ เนื่องจาก คลอรีน สามารถทำลายเชื้อโรคได้มากกว่า 99 %  รวมทั้ง อี.โคไล ( E.coli ) และ เชื้อไวรัส    นอกจาก คลอรีน จะสามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งที่ทำการเติมคลอรีนลงไปแล้ว ยังให้ผลในระยะยาวอีกด้วย โดยคลอรีนที่เติมลงไปจะละลายน้ำอยู่ในรูปของคลอรีนอิสระ ( Residual Chlorine ) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาในภายหลัง

        “ หยดทิพย์ ”  คือ  คลอรีนน้ำเข้มข้น 2 %  ซึ่ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คิดค้นขึ้น  ( โดย เตรียมจาก ผงปูนคลอรีน 60 % )  มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้ดี และสะดวกต่อการนำไปใช้งาน  

        ดังนั้น หยดทิพย์ จึงเป็นอุปกรณ์หนึ่งใน “ ชุดนายสะอาด ” ที่มีการนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำให้สะอาดพอที่จะนำมาใช้อุปโภคได้   แต่ห้ามบริโภค  ( ห้ามใช้ ดื่ม - ประกอบอาหาร )


หยดทิพย์

ถ้าหากไม่สามารถหา “หยดทิพย์” ได้

ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว” หรือ “น้ำยาซักผ้าขาวกลุ่มคลอรีน (Chlorine Bleach) ที่มีอยู่ในบ้าน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ทดแทนได้ โดยควรเลือกประเภทที่ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอม

จะทราบได้อย่างไรว่า “ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว” หรือ “น้ำยาซักผ้าขาว” ที่มีอยู่ในบ้าน คือ กลุ่มคลอรีน (Chlorine Bleach)

          ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่มคลอรีน โดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วย โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium hypochlorite) ที่สามารถให้คลอรีนตั้งแต่ 4-6 % โดยน้ำหนัก สามารถสังเกตบนฉลากจะระบุ "ชื่อและอัตราส่วนของสารสำคัญ : Sodium Hypochlorite as available Chlorine ....%w/w"

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่มคลอรีน ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม

•    น้ำยาฟอกผ้าขาว ไฮเตอร์ (Haiter Bleach) ขวดสีฟ้า ฝาสีน้ำเงิน
      ระบุชื่อและอัตราส่วนของสารสำคัญ คือ Sodium Hypochlorite as available Chlorine 6 %w/w
•    น้ำยาฟอกผ้าขาว ไฮยีน (Hygiene Bleach) ขวดสีขาว ฝาสีฟ้า
      ระบุชื่อและอัตราส่วนของสารสำคัญ คือ Sodium Hypochlorite as available Chlorine 6 %w/w

 ขั้นตอนการบำบัดน้ำให้สะอาดสำหรับการใช้ (ห้ามนำมาดื่มหรือบริโภค)

1. เลือกน้ำจากไหนดี

          ควรเลือกใช้น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณที่ ห่างจากแหล่งสุขาหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ (บริเวณที่คิดแล้วว่ามีโอกาสปนเปื้อนจากสารเคมีหรือสิ่งปฏิกูลน้อยที่สุด) จากนั้นช้อนเอาใบไม้หรือเศษไม้ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำออก

2. การทำน้ำให้ใส (แกว่งด้วยสารส้มให้ตกตะกอน หรือทำการกรอง)

          แกว่งก้อนสารส้มลึกจากผิวน้ำประมาณ 2/3 ส่วนของความลึกของน้ำ จนกระทั่งสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัว ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันไปตามปริมาตรและลักษณะของน้ำ ตั้งทิ้งไว้จนกระทั่งตะกอนตกลงสู่ก้นถัง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาทีหรืออาจต้องตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นจึงตักหรือถ่ายน้ำส่วนใสออกมาใส่อีกภาชนะหนึ่ง น้ำที่ผ่านขั้นตอนนี้จะมีลักษณะใสแต่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค
(หากไม่สามารถหาสารส้มได้ อาจนำน้ำมากรองผ่านผ้าสะอาดหลายๆ ชั้น แทนได้ แต่น้ำที่ได้จะขุ่นกว่าการใช้สารส้มในการตกตะกอน)

3.การเติมคลอรีนฆ่าเชื้อ

          เติมคลอรีน (เช่น หยดทิพย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว คลอรีนน้ำ) ในน้ำส่วนใสที่ผ่านการตกตะกอนหรือกรองแล้ว ระยะเวลาและอัตราส่วนที่ใช้ ต้องพิจารณาจากคุณภาพน้ำ หากน้ำขุ่นมาก หรือสกปรกมาก จะใช้คลอรีนและระยะเวลาในการบำบัดมาก โดยปกติความเข้มข้นเริ่มต้นของคลอรีนในน้ำที่ต้องการบำบัดจะอยู่ที่ 1 – 10 ppm* และใช้เวลาในการบำบัดตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป
[*ppm = part per million หรือ ส่วนในล้านส่วน เช่น คลอรีนในน้ำ 1 ppm หมายถึง น้ำ 1,000,000 มิลลิลิตร มี คลอรีน 1 มิลลิลิตร]

ผลิตภัณฑ์
ความเข้มข้นของคลอรีน
ปริมาณ
ความเข้มข้นเริ่มต้นของคลอรีนในน้ำที่บำบัด
หยดทิพย์
2 % w/w
1 หยด / ลิตร
1 ppm
2 หยด / ลิตร
2 ppm
ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว /
น้ำยาซักผ้าขาว กลุ่มคลอรีน
4 % w/w
1 หยด / ลิตร
2 ppm
2 หยด / ลิตร
4 ppm
5 % w/w
1 หยด / ลิตร
2.5 ppm
2 หยด / ลิตร
5 ppm
6 % w/w
1 หยด / ลิตร
3 ppm
2 หยด / ลิตร
6 ppm
คลอรีนน้ำ
10 % w/w
1 หยด / ลิตร
5 ppm
2 หยด / ลิตร
10 ppm

4. การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

          น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วควรมีกลิ่นคลอรีนบ้างเล็กน้อย (กลิ่นเหมือนน้ำในสระว่ายน้ำ แต่อ่อนกว่า) ถ้าไม่มีกลิ่นคลอรีนเลย แสดงว่าคลอรีนที่เติมลงไปอาจไม่เพียงพอสำหรับการฆ่าเชื้อโรค ให้เติมคลอรีนเพิ่มในจำนวนเท่าเดิมอีกครั้งและตั้งทิ้งไว้ให้นานกว่าเดิมอีก 15 นาที แต่หากน้ำมีกลิ่นคลอรีนแรงมาก ให้ตั้งทิ้งไว้ให้โดนอากาศประมาณ 1 ชั่วโมง หรือเทน้ำกลับไปมาในภาชนะอีกใบหนึ่งหลายๆ ครั้ง เพื่อลดปริมาณคลอรีนที่มากเกินไป ก่อนนำน้ำมาใช้

ตัวอย่างปริมาณการใช้คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ

  • กรณีการทำน้ำประปา  จะเติมคลอรีนในปริมาณที่เมื่อฆ่าเชื้อเสร็จแล้ว จะเหลือความเข้มข้น ของ คลอรีนในน้ำ ประมาณ 1 ppm ณ ที่โรงงานผลิตน้ำประปา และเมื่อส่งมาตามท่อประปา ไปจนถึงผู้ใช้จะเหลือคลอรีนอยู่ไม่ต่ำกว่า  0.3 ppm 

  • กรณีสระว่ายน้ำสาธารณะ  จะเติม คลอรีน ในปริมาณที่เมื่อฆ่าเชื้อเสร็จแล้ว จะเหลือความเข้มข้น ของคลอรีนในสระว่ายน้ำ ประมาณ  2 ppm   และเมื่อใช้สระว่ายน้ำนั้นไปประมาณ 1 สัปดาห์ จะเหลือ คลอรีน ต่ำกว่า 1 ppm ดังนั้นจึงต้องเติมคลอรีน ให้มีความเข้มข้น มากกว่า 2 ppm ใหม่ ซึ่งที่ความเข้มข้น ระดับ 2 ppm  ผู้ใช้สระว่ายน้ำ จะได้กลิ่นคลอรีน และ อาจระคายเคืองตาเล็กน้อย หรือ ผมแตกปลายเล็กน้อย ถ้าแช่อยู่ในสระว่ายน้ำ เป็นเวลานาน    

  • ในสถานการณ์น้ำท่วม  น้ำจะสกปรกกว่าในสระว่ายน้ำมาก ควร ใส่คลอรีน  2 - 5 ppm  หรือ มากกว่านั้น และ ปรับ ลด - เพิ่ม  ตามสภาพจริง   

ข้อควรระวัง

  • ผลิตภัณฑ์คลอรีนเหล่านี้ มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ระคายเคืองต่อ ผิวหนัง ตา และ ระบบทางเดินหายใจ สามารถสลายตัวเป็น ก๊าซคลอรีน ซึ่งเป็นก๊าซพิษ เมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นกรด ดังนั้น ควรอ่านฉลากให้เข้าใจก่อนการใช้งาน เพื่อจะได้ทราบถึงความเป็นอันตราย และวิธีป้องกันอันตรายขณะใช้ได้อย่างถูกต้อง

  • ห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์ ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์ภายในบ้านชนิดอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำที่เป็นกรด ผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโมเนีย (เช่น น้ำยาล้างกระจก) ยาล้างแผล ผลิตภัณฑ์ย้อมผม ผลิตภัณฑ์ขจัดสนิมน้ำสัมสายชู เนื่องจากจะทำปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง หรือ ทำให้เกิดสารพิษอื่น ซึ่งเป็นอันตรายมากขึ้น
 
การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์  ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้งมิดชิด ห่างจากมือเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร ไฟ ความร้อน สารที่เป็นกรด สารประกอบแอมโมเนีย เอมีนส์ สารออกซิไดส์ และแสง
 
ที่มาข้อมูล / ข้อมูลเพิ่มเติม
 
  1. ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค (น้ำใช้เท่านั้น) ด้วยตนเองในสภาวะน้ำท่วม โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www1.eng.chula.ac.th/?q=node/3821)

  2. มารู้จัก หยดทิพย์ (คลอรีนน้ำ) ชื่อที่มาพร้อมกับน้ำท่วม (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/404917)

  3. การฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีน (http://www.cco.moph.go.th/hp_group/nana/chlorine.html)

  4. Emergency Disinfection of Drinking Water (http://water.epa.gov/drink/emerprep/emergencydisinfection.cfm)

 
วิดีโอสาธิตขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับการใช้
 
 
ข้อมูลเกี่ยวกับ Soduim hypochlorite

                    

 


 

 

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Chlorine
Sodium hypochlorite
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เรียนรู้จากข่าว - คลอรีนรั่ว
เรียนรู้จากข่าว - โซเดียมไฮโปคลอไรต์หรือคลอรีนรั่ว
สาระเคมีภัณฑ์ - สารเคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สาระเคมีภัณฑ์ - ไข่เยี่ยวม้า : ตอนที่ 5 ข้อเสนอในการทำไข่เยี่ยวม้า
พิษภัยใกล้ตัว - เรียกชื่อผิด พิษถึงตาย
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

30 ตุลาคม 2554        

คำถาม :  ในช่วงวิกฤตอุทกภัย  ( น้ำท่วม )    สินค้าอะไรที่มีคน แย่งซื้อ มากที่สุด ในประเทศไทย    ( ขอสัก 10 อันดับ   ;  ทั้งสินค้าที่ซื้อเพราะจำเป็นต้องใช้จริงๆ  และ  สินค้าที่ซื้อเพราะความตื่นตระหนก )        

คำตอบ :  ( ไม่ได้เรียงลำดับ ตาม ปริมาณการซื้อ - การแย่งซื้อ )  
กลุ่มน้ำและเครื่องดื่ม    -    น้ำดื่มบรรจุขวด  ( น้ำขวด )    น้ำอัดลม    ชาบรรจุขวด    กาแฟกระป๋อง    ( สำหรับ น้ำใจ  ยังพอจะมีให้กันบ้าง  ยังไม่ต้องแย่งซื้อ )          
กลุ่มอาหาร    -    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป    ปลากระป๋อง    ขนมปังกรอบ    ขนมปัง    ( ขอรวม ผงเครื่องดื่ม แบบ 3 in 1 ไว้ในกลุ่มนี้ด้วย )    
กลุ่มวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร    -    ข้าวสาร    ไข่ไก่    น้ำมันพืช  ( บางคนกักตุนไว้ตั้งแต่ยุคกลัวขาดแคลนน้ำมันพืชในสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ )    น้ำตาล    ผัก - หมู - ไก่ - เนื้อ  ( สำหรับบ้านที่แน่ใจว่า ยังใช้ตู้เย็นได้ )        
กลุ่มอุปกรณ์สำหรับทำอาหาร    -    ถัง LPG ( ก๊าซหุงต้ม ) ขนาดเล็ก    เตาแบบใช้ก๊าซหุงต้ม  ( เตาแก็ส )    
เครื่องมือ - อุปกรณ์ - วัสดุ  สำหรับ รับมือ  ( สู้ - ป้องกัน )  น้ำท่วม    -    ทราย  ( ถุงทราย )    แผ่นพลาสติก  ( ทั้งแบบผ้า และ แบบแผ่นหนา )    ปั๊มสูบน้ำ    อิฐบล็อค  ( และ ปูน )    ซิลิโคน  ( สำหรับอุด รอยแตก รอยรั่ว รูรั่ว ฯลฯ )    ดินน้ำมัน    ท่อพีวีซี        
เครื่องมือ - อุปกรณ์ - วัสดุ  สำหรับ ใช้ ในตอนที่น้ำท่วมแล้ว    -    ถ่านไฟฉาย  ( ทั้งที่ใช้กับไฟฉาย และ ที่ใช้กับอุปกรณ์อื่น )    ไฟฉาย    เทียน    ไฟแช็ค    ไม้ขีดไฟ    กระดาษชำระ    รองเท้าบู้ท    ถุงพลาสติก    ถังน้ำ    กระบวย    ขัน    ยาทากันยุง        
พาหนะ  สำหรับ ใช้ ในตอนที่น้ำท่วมแล้ว    -    เรือ    แพ    

ข้อมูลเพิ่มเติม    
เมื่อ ไข่ไก่ หมด    ไข่เป็ด    ไข่เค็ม    ไข่เยี่ยวม้า    ก็จะถูกซื้อจนหมดตามกันไป        
( ไข่เยี่ยวม้า  แพงกว่า ไข่ไก่ มาก  และ  แพงกว่า ไข่เค็ม เล็กน้อย    แต่ เก็บได้นานกว่า ไข่ไก่  และ  คนไม่แย่งซื้อมากเท่าไข่เค็ม )        

ข้อคิด - คำแนะนำ    
คาดการณ์ล่วงหน้า และ ลงมือทำ  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤต    
ถ้าทำล่วงหน้าไม่ทัน    ตั้งสติ  คิด และ ทำ แตกต่าง จาก คนอื่น  ( ที่กำลังตื่นตระหนก )    จะมีโอกาสได้ ของ ที่จำเป็นจริงๆ ครบถ้วน  ( และ เหลือ พอแบ่งให้คนอื่นที่เดือดร้อนจริง )  


โดย:  วิกฤตพีเดี่ย ( wikit pedia )  [30 ต.ค. 2554 15:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:8

 สวัสดีค่ะ ตอนนี้ทางบริษัท  Milott  Laboratories Co., Ltd. เปิดรับสมัครนักเคมีที่มีความรู้ทางด้านผลิตภัณฑ์
ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน    ยาสีฟัน  สบู่  แชมพูสระผม  ครีมนวดผม  เครื่องสำอาง  ผงซักฟอก  น้ำยาปรับผ้านุ่ม  
น้ำยาล้างจาน   ฯลฯ   หากสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่  www.milott.com  ได้ค่ะ หรือโทรสอบถามข้อมูล
เพิ่มเติมได้ที่คุณชนิตา   โทรศัพท์ 02-729-8179 / 02-729-8111 ต่อ 8725  ค่ะ    / ขอบคุณค่ะ      

โดย:  คุณชนิตา  [19 ก.ย. 2555 16:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:10

jOZPNX wow, awesome post.Really looking forward to read more. Awesome.

โดย:  cheap backlinks  [18 ก.ค. 2557 18:49]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น