สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สรุปผลการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่ Poznan

ผู้เขียน: คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป
วันที่: 12 ธ.ค. 2551

            นาย Stavros Dimas กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม (เทียบเท่ารัฐมนตรี) ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว เสนอมุมมองเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงสิ่งแวดล้อมระดับโลกทดแทนพิธีสารเกียวโต (ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2012) โดยเห็นว่าการประชุมที่จะจัดขึ้นในปีหน้าก่อนการเจรจาที่โคเปนเฮเกนในเดือน ธันวาคม 2009 ควรมุ่งเน้นการเจรจาเพื่อนำไปสู่การบรรลุผลความตกลง และเสนอแนวคิดเรื่อง วิสัยทัศน์ร่วมกัน (shared vision) ซึ่งนอกจากจะผลักดันการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว (ปี 2050) และระยะกลาง (ปี 2020) แล้วจะมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้คาร์บอนต่ำ

            นาย Stavros Dimas กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อมให้สัมภาษณ์ แสดงความคาดหวังในการเจรจาระหว่างประเทศ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ที่ Poznan โปแลนด์ ซึ่งมีขึ้นวันที่ 1-12 ธันวาคม 2008 ดังนี้

            1. แผนงานสำหรับปี 2009 ต้องการให้ที่ประชุมที่ Poznan กำหนดแผนงานที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การบรรลุความตกลงในการเจรจาฯ ในปลายปี ที่โคเปนเฮเกน โดยควรจะเน้นการเจรจามากกว่าการรวบรวมข้อมูลในช่วงหลังจากการจัด workshop ที่ Poznan และที่จะมี 3 ครั้งในไตรมาสแรกของปีหน้าเพิ่มขึ้นอีก โดยหวังว่าภายใน มีนาคม 2009 จะเริ่มมีร่างความตกลงเพื่อให้ทุกฝ่ายพิจารณา และควรมีการเจรจาอีกหนึ่งครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 นอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้ว

            2. สาระสำคัญของร่างความตกลงที่จะทดแทนพิธีสารเกียวโต ได้มีการตกลงหัวข้อหลัก 4 หัวข้อตามแผนปฏิบัติการบาหลี ได้แก่

                    - การยกระดับเรื่องการบรรเทาผลกระทบ (Enhanced mitigation) ซึ่งทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะมีส่วนเกี่ยวข้อง

                    - การปรับตัว (Adaptation) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                    - การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

                    - การเพิ่มเครื่องมือทางการเงินและการลงทุนทั้งสำหรับการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัว

            ความตกลงฉบับใหม่ควรเน้นเรื่อง shared vision ซึ่งจะเป็นจุดสนใจครั้งแรกในการเจรจาที่ Poznan ซึ่งนอกจากจะเป็นการวางเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในระยะยาว (ปี 2050) และระยะกลาง (ปี 2020) แล้ว ควรสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ ในการบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้คาร์บอนต่ำ รวมทั้งเป้าหมาย Millennium Development Goal (MDG)

            3. ความขัดแย้งภายในอียูในการพิจารณาชุดร่างกฎหมาย Climate and Energy Package (ซึ่งอิตาลี และโปแลนด์เคยขู่ว่าจะคัดค้านการจัดทำชุดร่างกฎหมายดังกล่าวในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปเมื่อ 15-16 ตุลาคม 2008) นาย Dimas ย้ำว่าเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ภายในอียูลง 20% ภายในปี 2020 (จากระดับปี 1990) เป็นเป้าหมายที่ผู้นำยุโรปได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และจะเพิ่มเป็น 30% หากประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ร่วมตั้งเป้าหมายด้วย

            สำหรับการพิจารณารายชื่ออุตสาหกรรมอียูที่จะได้รับการปกป้องจากภาวะ carbon leakage (การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอียู) นั้น นาย Dimas เห็นว่าควรรอผลการเจรจาที่โคเปนเฮเกนเพื่อประเมินว่าสาขาใดมีความเสี่ยง และใช้ตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือในการประเมินระดับความเสี่ยง

            4. สิ่งที่อียูสามารถเสนอแก่ประเทศกำลังพัฒนา ชี้ว่าอียูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนารายใหญ่ที่สุดจำนวน 46 พันล้านยูโรต่อปี โดยความช่วยเหลือด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศกำลังมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ในระดับระหว่างประเทศควรมีเครื่องมือทางการเงินและการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการจำกัดการปล่อยก๊าซ GHG และในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยระดับการให้ความช่วยเหลือจะขึ้นอยู่กับระดับเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ จะตกลงกันในการเจรจา UNFCCC ที่โคเปนเฮเกน และเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่ควรมาจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ต้องการพัฒนาตลาดคาร์บอนระดับโลก

            5. การป้องกันการทำลายป่า ย้ำเรื่องข้อเสนอในการจัดตั้ง Global Forest Carbon Mechanism (GFCM) ว่าควรเป็นกลไกทางการเงินของภาครัฐในการให้รางวัลแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ลดการปล่อยก๊าซ GHG โดยลดการทำลายป่า โดยเห็นว่าอียูสามารถมีส่วนร่วมใน GFCM โดยใช้เงินที่ได้จากการประมูลในระบบ EU Emission Trading Scheme และเห็นว่าควรมีระยะทดลองการใช้ GFCM โดยในช่วงหลังปี 2012 ควรมีเฉพาะภาครัฐที่สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิต และภาคเอกชนสามารถซื้อเครดิตได้หลังปี 2020

            6. การส่งเสริมการลด GHG เป็นรายสาขา (sectoral approaches) คาดว่ายังเร็วเกินไปที่จะสามารถสรุปผลในการประชุมที่ Poznan นอกจากนี้ ยังมีแนวทางหลายอย่างในเรื่องนี้ซึ่งต้องพิจารณาต่อไป ซึ่งแรกเริ่มเน้นที่สาขาที่ใช้พลังงานสูงซึ่งมีการแข่งขันสูงในระดับระหว่างประเทศ อาทิ เหล็ก อะลูมิเนียม
 
ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต
www.thaieurope.net

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - อนุสัญญาสต๊อกโฮล์มกำลังพิจารณาเพิ่มสารอีก 10 ชนิด
บอกข่าวเล่าความ - UNEP จัดประชุมหาทางลดปรอทสะสมในโลก
บอกข่าวเล่าความ - พิธีสารมอนทรีออลบังคับให้เลิกใช้สาร CFC และHCFC
บอกข่าวเล่าความ - คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมยุโรป เข้มงวดเรื่องการปล่อยก๊าซในรถยนต์
บอกข่าวเล่าความ - ญี่ปุ่นออกกฎลดก๊าซคาร์บอน รับพิธีสารเกียวโต
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น