สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ระเบียบ REACH และระเบียบ CLP การจดทะเบียนและจดแจ้งสารเคมีในปี 2010

ผู้เขียน: สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
วันที่: 1 มี.ค. 2553

            ตามที่สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบ REACH ว่าด้วยสารเคมีและการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 และต่อมาได้ประกาศระเบียบใหม่ว่าด้วยการจัดจำแนก ปิดฉลาก และบรรจุหีบห่อสารเคมี หรือระเบียบ CLP ลงพิมพ์ใน Official Journal วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2552 นั้น

            บัดนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เผยแพร่แผ่นพับประชาสัมพันธ์เตือนบริษัท ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ถึงข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี และให้ข้อมูลสำหรับการเข้าร่วมใน Substance Information Exchange Forums (SIEFs)  รวมทั้งไฮไลท์กำหนดเส้นตายการจดทะเบียน/จดแจ้งในปีนี้ คือ

            • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553  สำหรับการจดทะเบียนสารเคมีที่ผลิตหรือนำเข้าสหภาพฯ ปริมาณมากภายใต้ระเบียบ REACH (Registration, Evaluation, Authorisation and Restriction of Chemicals)

            • วันที่ 1 ธันวาคม 2553 สำหรับจดแจ้งสารเคมีอันตรายที่จัดจำแนกใหม่ ตามระเบียบ CLP (Classification, Labelling and Packaging)

            ดังรายละเอียดแผ่นพับปรากฎทางเว็ปไซต์ (http://ec.europa.eu/enterprise/sectors/chemicals/files/reach/leaflet/r_leaflet_lr_en.pdf) และ (http://ec.europa.eu/enterprise/sectors/chemicals/reach/registration/leaflet_index_en.htm) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องระเบียบ REACH และระเบียบ CLP สามารถค้นหาทางเว็ปไซท์หน่วยงานเคมีภัณฑ์ยุโรป หรือ ECHA ที่ (http://echa.europa.eu)

            อนึ่ง สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้รับแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าทีด้านการค้าสิงคโปร์ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ เกี่ยวกับผลการประชุม REACH Stakeholders’ Day เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2552 ณ กรุงเฮลซิงกิ ซึ่งเน้นระเบียบ CLP ในส่วนที่เกี่ยวกับระเบียบ REACH ที่สำคัญดังนี้

ระเบียบ CLP

            1. การจัดจำแนกและจดแจ้งสารเคมีและส่วนประกอบสารเคมีตามระเบียบ CLP จะต้องดำเนินการโดยผู้นำเข้า และ/หรือผู้ใช้สารเคมีปลายน้ำ (downstream users) ในสหภาพยุโรป โดยภายใต้ระเบียบ CLP ไม่มีกลไกของ Only Representative หรือ OR mechanism เช่นในระเบียบ REACH อย่างไรก็ดี ในกรณีที่การจดทะเบีบนสารเคมีตามระเบียบ REACH เกิดขึ้นก่อนหน้ากำหนดเส้นตายในการจดแจ้งสารเคมีตามระเบียบ CLP ผู้ประกอบการนอก EU (non EU entity) สามารถใช้ทางเลือกให้ OR เป็นผู้ยื่นข้อมูลสำหรับการจดแจ้งภายใต้ระเบียบ CLP ได้ (ดูรายละเอียดในมาตรา 40 ของระเบียบ CLP)  และหากผู้ประกอบการนอก EU รายใดมีผู้นำเข้าหลายรายก็สามารถให้ผู้นำเข้ารวมกลุ่มกันในการจดแจ้งสารเคมีเดียวกันตามระเบียบ CLP ร่วมกันได้

            2. สำหรับผู้ใช้สารเคมีปลายน้ำ (downstream users) ไม่ต้องจัดจำแนกสารเคมีตามระเบียบ CLP โดยสามารถใช้ข้อมูลการจัดจำแนกสารเคมีที่มีอยู่แล้วของผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ไปจดแจ้งสารเคมีที่ตนใช้ได้  แต่สำหรับผู้นำเข้าที่เป็นผู้ใช้สารเคมีปลายน้ำด้วย ต้องยื่นแฟ้มข้อมูลจัดจำแนกสารเคมีที่เริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (new classification from scratch)

            3. เน้นข้อสังเกตด้วยว่า การจัดจำแนกสารเคมีไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของระเบียบ CLP บริษัทยังคงต้องดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนการปิดฉลากและปรับข้อมูลใน data sheet ให้เป็นปัจจุบันหลังการจดแจ้งด้วย

การบังคับใช้ระเบียบ REACH

            4. ภาคอุตสาหกรรมได้ให้ feedback ว่า บางประเทศของสหภาพฯ ได้ขอเลข pre-registration และ/หรือใบรับรองความสอดคล้องกับระเบียบ REACH ซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อกำหนดระเบียบ REACH ตามกฎหมาย   นอกจากนั้น ยังมีอุปสรรคด้านภาษา ที่ทางการในบางประเทศสมาชิกได้ขอเอกสารสนับสนุน SDS ในภาษาของประเทศนั้นๆ  ทั้งนี้ ได้เกิดกรณีซึ่งสินค้าถูกกักไว้และบริษัทต้องรับภาระจ่ายค่าโกดัง  แต่ทางภาคเอกชนสหภาพฯ (CEFIC) ชี้ว่าการกักสินค้าเกิดขึ้นต่ำกว่า 10 กรณี ซึ่งจัดเป็น “geographical conflict” ของการนำเข้าผ่านตุรกี

            5. สำหรับการจ้างศึกษาเรื่องการบังคับใช้ โดย DG Environment พบว่า มีประเทศสมาชิก EU และ EAA รวม 29 ประเทศที่ออกกฎหมายภายในบังคับใช้ระเบียบ REACH แล้ว  เหลือเพียงสเปนเป็นประเทศสมาชิกเดียวที่ยังต้องออกกฎหมายภายในเรื่องนี้ต่อไป  ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ว่า ยังไม่มีวิธีการบังคับใช้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยขึ้นกับหน่วยงานทางการของแต่ละประเทศ เช่น ความแตกต่างกันในเรื่องบทลงโทษ (penalties) ซึ่งเดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเชค ใช้ข้อกำหนด catch-all ที่ใช้บทลงโทษเดียวกันหมด (penalty across-the-board) หากมีการละเมิดข้อกำหนดในระเบียบ REACH  ในขณะที่ สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ใช้บทลงโทษที่แตกต่างกันสำหรับข้อกำหนดแต่ละเรื่อง  ส่วนฝรั่งเศส และเยอรมันนีใช้ระบบลงโทษที่ปะปนกัน

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต www.thaieurope.net

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ECHA เพิ่มช่องทางเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ REACH
บอกข่าวเล่าความ - ECHA เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนเรื่อง REACH
บอกข่าวเล่าความ - ปัญหาจากการปฏิบัติตามระเบียบ REACH
บอกข่าวเล่าความ - บทเรียนหลังจากระเบียบ REACH มีผลบังคับใช้
บอกข่าวเล่าความ - คู่มือสรุปการปฏิบัติตามระเบียบ REACH
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น